ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟีลิปโป ตอมมาโซ มารีเนตตี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Payoopyu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Payoopyu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
 
=='''ผลงาน'''==
ผลงานชิ้นแรกๆ ที่ทำให้มาริเนตติเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง คือ "คำแถลงการณ์ฟิวเจอริสม์" (Manifeste de fondation du Futurisme) ตีพิมพ์บนหนังสือพิมพ์รายวัน "เลอ ฟิกาโร" (Le Figaro) ของ[[ฝรั่งเศส]] ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1909 โดยแถลงการณ์นั้นได้แสดงถึงความไม่พอใจต่อรูปแบบทางการเมืองและศิลปะแบบเก่าๆ โดยแนวคิดแบบฟิวเจอริสม์นั้นให้คุณค่าและชื่นชมใน[[เทคโนโลยี]] เครื่องยนต์ และความเป็นอุตสาหกรรม ซึ่งในทัศนะของเขา สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวแทนแห่งชัยชนะทางด้านเทคโนโลยีของมนุษย์ที่มีเหนือธรรมชาติ
 
ในปี 1912 มาริเนตติไ้ด้ตีพิมพ์ "แถลงการณ์ว่าด้วยวิธีการประพันธ์แนวฟิวเจอริสม์" (Manifesto tecnico della letteratura Futurista) ซึ่งว่าด้วยวิธีการเขียนบทกวีและการประพันธ์ร้อยแก้วแบบร่วมสมัยด้วยการยกเลิกการใช้[[วากยสัมพันธ์]] คำคุณศัพท์ และ[[คำวิเศษณ์]] แล้วแทนที่ด้วยการใช้[[คำนาม]]แบบสุ่มขึ้นมา อีกทั้งยังใช้[[คำกริยา]]ที่ไม่ผันตามประธาน (infinitive) และบอกเวลาของการกระทำนั้นๆ (tense) โดยวิธีการนี้เรียกว่า "ถ้อยคำในอิสรภาพ" (parole in libertà) เป็นการเขียนบทกวีที่ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพ ตัวอย่างบทกวีภาพของมาริเนตติ เช่น "Une assemblée tumultueuse. Sensibilité numérique" และ "Zang Tumb Tumb" เป็นต้น