ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาดา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZOMM-Fotografa (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: ดาดา (อังกฤษ: DADA) หรือดาดาอิสม์ (Dadaism) เป็นลัทธิหรือกระแสความเคลื...
 
ZOMM-Fotografa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
 
===ประวัติความเป็นมา===
ในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นช่วงเวลาที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากมาย เนื่องจากเป็น[[ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1]] และการปฏิวัติของรัสเซีย และในช่วงนี้เอง ดาดาก็ได้กำเนิดขึ้นมาจากกลุ่มนักกวี นักประพันธ์ต่างๆ ในยุโรป พวกเขาสร้างผลงานแนวใหม่โดยเป็นปฏิปักษ์ศิลปะแบบเก่า และสร้างค่านิยมใหม่ที่มีความเป็นสากล เหตุผลต่างๆ มาจากการเกิดสงครามและมีศิลปินกลุ่มหนึ่งต้องการแสดงออกถึงอาการเยาะเย้ย ถากถางสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมและมองโลกในด้านลบว่าคนเลวทำร้ายทุกอย่างได้ กลุ่มดาดาจึงสร้างผลงานที่ผิดจากหลักการความจริง ทำให้เป็นเรื่องเหลวใหลน่าหัวเราะ
 
ขณะนั้น เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นแหล่งรวมคนที่หลบหนีและถูกบีบคั้นทางสังคมจากประเทศต่างๆ เพราะสวิตเซอร์แลนด์นั้นถูกกำหนดให้เป็นประเทศที่เป็นกลางทางสงคราม ที่เมืองซูริคนี้เอง มีร้านเครื่องดื่มร้านหนึ่งชื่อว่า คาบาเรต์ วอลแตร์ (Cabaret Voltaire) ซึ่งมีความสำคัญในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของการเริ่มต้น “ดาดา” เมื่อราวเดือนกุมภาพันธ์ 1916 เพราะเป็นแหล่งชุมนุมรวมตัวของศิลปินและกวีที่มาพบปะพูดคุยกัน โดยมี ฮิวโก บอลล์ นักประพันธ์ชาวเยอรมันผู้ลี้ภัยคนหนึ่งเป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งเขาได้จัดสถานที่แห่งนี้ให้เป็นแหล่งชุมนุมสำหรับการปรับปรุงพัฒนาศีลธรรม วัฒนธรรม และคุณค่าทางสังคมที่สูญเสียเพราะสงครามขึ้นใหม่ และเมื่อปี 1927 บอลล์เสียชีวิตลง เขาได้รับการยกย่องให้เป็นดุจนักบุญทางศาสนาประจำเมืองอีกด้วย และถึงแม้ว่าผลงานของกลุ่มดาดาส่วนใหญ่จะล้อเลียนเสียดสีสังคม ทำทุกอย่างให้เป็นเรื่องน่าขำ จุดประสงค์หนึ่งก็เพื่อเตือนให้ผู้คนตระหนักถึงผลลัพธ์ของการทำสงคราม แต่ก็มีกลุ่มดาดาที่รวมเอาศาสนาเข้ามาจับกับงานศิลปะ และก็มีกลุ่มของดาดาต่อต้านดาดาที่เอาศิลปะทางโลกมาต่อต้านเรื่องของศาสนา สำหรับหลายคนอาจมองว่า ดาดาไม่ได้เป็นงานประวัติศาสตร์ศิลปะในช่วงศตวรรษที่ 20 แต่มองว่าดาดาเป็นงานศิลปะสมัยใหม่
บรรทัด 19:
 
===เทคนิคทางศิลปะที่ได้รับการพัฒนา===
เทคนิคคอลลาจ ([[:en:Collage]]), เทคนิคโฟโต้มอนทาจ ([[:en:Photomontage]]), เทคนิคแอสเซมเบลจ ([[:en:Assemblage]] และเทคนิคเรดดี้เมดส์ ([[:en:Readymades]]) ของมาร์เซล ดูชองป์
 
===ศิลปินคนสำคัญในกระแสดาดา===
* มาร์เซล ดูชองป์ ([[:en:Marcel Duchamp]])
* เคิร์ท ชวิตเตอร์ส ([[:en:Kurt Schwitters]])
* ฮานส์ อาร์ป ([[:en:Hans Arp]])
* ราอูล ฮอสมานน์ ([[:en:Raoul Hausmann]])
* มักซ์ เอิร์นสต์ ([[:en:Max Ernst]])
* ฟรานซิล พิคาเบีย ([[:en:Francis Picabia]])
* แมน เรย์ ([[:en:Man Ray]])
 
===ตัวอย่างผลงานศิลปะในกระแสดาดา===
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ดาดา"