ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nawapooh (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น ตรงอ้างอิงและบางบริบทต้องใช้ทับศัพท์เพราะเป็นชื่อหนังสือ
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบนามธรรม''' ({{lang-en|Abstract Expressionism}}) เป็นขบวนการศิลปะที่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเริ่มต้นจากเหตุการณ์ระส่ำระสายก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้นำไปสู่การอพยพลี้ภัยของศิลปินหนุ่มสาวจากยุโรปมายังสหรัฐ ในไม่ช้าศิลปินกลุ่มนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขาเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานศิลปะในสหรัฐให้เคลื่อนที่ไปอย่างรวดเร็ว ศิลปินที่ก่อกระแสงานศิลปะที่เรียกกันว่าลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบนามธรรมด้วยความที่กระแสศิลปะนี้เกิดในนิวยอร์ก ศิลปินกลุ่มดังกล่าวจึงได้รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า นิวยอร์กสกูล (The New York School)
 
คำว่า แอ็บสแตรกต์ เอกซ์เพรสชั่นนิสม์ (Abstract Expressionism) ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1919 ในนิตยสาร Der Sturm ซึ่งเป็นนิตยสารภาพแนวสำแดงพลังอารมณ์ (Expressionism) ส่วนในประเทศอเมริกา อัลเฟรด บาร์ (Alfred Barr) เป็นคนแรกที่ใช้คำนี้ในปี ค.ศ. 1929 เพื่ออธิบายงานของคานดินสกี้ และต่อมาในปี ค.ศ. 1946 นักวิจารณ์ศิลปะชื่อ โรเบิร์ต โค้ทส์ (Robert Coates) ก็ได้นำมาใช้เรียกผลงานของ ฮันส์ ฮอฟมันน์ ลงในนิตยสาร “นิวยอร์กเกอร์”
 
ศิลปินในกระแสนี้ได้พัฒนารูปแบบจิตรกรรมแบบอเมริกันจากอิทธิพลบางประการของลัทธิคิวบิสม์และลัทธิเซอร์เรียลลิสม์มาสู่การใช้กรรมวิธีในการวาดภาพตามทรรศนะส่วนตัว สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดร่วมสำคัญของงานจิตรกรรมที่ศิลปินอเมริกันได้จุดกระแสความเคลื่อนไหวขึ้นในนครนิวยอร์กระหว่างทศวรรษที่ 1940-1950 ก็คือการรวมเอาการแสดงออกทางอารมณ์อันเข้มข้นเข้ากับลักษณะงานนามธรรมเฉพาะตน