ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การ์ตูนไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 การ์ตูนไทยซบเซาลงจากภัยสงครามเช่นเดียวกับวงการวรรณกรรม เมื่อสิ้นสงครามแล้ว วงการการ์ตูนไทยจึงฟื้นตัวอีกครั้ง ในยุคนี้ปรากฏนักเขียนการ์ตูนที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น [[ประยูร จรรยาวงษ์]] นักเขียนการ์ตูนเจ้าของฉายา "ราชาการ์ตูนไทย" ซึ่งวาดทั้งการ์ตูนตลกและการ์ตูนการเมือง ในยุคเดียวกันนี้ก็มีนักวาดภาพประกอบผู้โด่งดังซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ [[เหม เวชกร]] ซึ่งน้อยคนนักจะรู้ว่าท่านก็วาดการ์ตูนด้วยเหมือนกัน [[พ.ศ. 2495]] ได้มีการ์ตูนสำหรับเด็กเกิดขึ้นเป็นเล่มแรก คือ หนังสือการ์ตูน "[[ตุ๊กตา (หนังสือการ์ตูน)|ตุ๊กตา]]" อันเป็นผลงานของ[[พิมล กาฬสีห์]] มีตัวละครหลักสี่คน คือ หนูไก่ หนูนิด หนูหน่อย และหนูแจ๋ว และประสบความสำเร็จอย่างสูง (เลิกออกประมาณ พ.ศ. 2530 เนื่องจากพิมล กาฬสีห์ เสียชีวิต) หลังจากนั้นจึงมีการ์ตูนสำหรับเด็กออกมาอีกหลายเล่ม เช่น การ์ตูน "[[หนูจ๋า]]" ของ จุ๋มจิ๋ม ([[จำนูญ เล็กสมทิศ]]) ซึ่งเริ่มวางแผงเล่มแรกเมื่อเดือนมกราคม [[พ.ศ. 2500]] และที่ได้รับความนิยมตามมาอีกเล่มก็คือการ์ตูน "[[เบบี้]]" ของ [[วัฒนา เพ็ชรสุวรรณ]] ซึ่งเริ่มวางแผงฉบับแรกเมื่อ [[พ.ศ. 2504]] ตัวการ์ตูนหลักของเบบี้นั้นมีมากถึงสิบกว่าคน บางตัวก็มีการนำไปแสดงหนังโฆษณาก็มี คือคุณโฉลงและคุณเต๋ว หนังสือทั้งสองเล่มนี้อยู่ในเครือ[[สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น]] และยังคงออกมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
 
นอกจากนี้แล้วก็ยังมีหนังสือการ์ตูนสำหรับเด็กที่แฝงสาระมากอีกเล่มหนึ่งก็คือ [[ชัยพฤกษ์การ์ตูน]] ซึ่งมี ทาร์ซานกับเจ้าจุ่น เป็นตัวชูโรง ผู้วาดก็คือ รงค์ นักเขียนการ์ตูนนิยายภาพที่สร้างชื่อเสียงในชัยพฤกษ์การ์ตูน อย่างเช่น [[เตรียม ชาชุมพร]] ที่เขียนเรื่อง "เพื่อน" โอม รัชเวทย์ สมชาย ปานประชา พล พิทยกุล เฉลิม อัคภู ปัจจุบันหนังสือเล่มนี้ได้ปิดตัวไปแล้วนักเขียนคนอื่นที่มีชื่อเสียงร่วมสมัยได้แก่ [[พ.บางพลี]] (เจ้าของผลงานเรื่อง อัศวินสายฟ้า และ[[ศรีธนญชัย]]) , [[ราช เลอสรวง]], [[จุก เบี้ยวสกุล]] ฯลฯ ซึ่งในยุคนี้ส่วนมากจะนิยมวาดการ์ตูนเรื่อง บางเรื่องยาวเป็นร้อยๆ หน้า นับว่าเป็นยุคทองของการ์ตูนเรื่องทีเดียว
 
มายุคต่อเนื่องจาก ชัยพฤกษ์การ์ตูน กลุ่มนักการ์ตูนแนวหน้า 5 ท่าน มารวมกลุ่มกันใหม่ชื่อว่า [[กลุ่มเบญจรงค์]] เปิดเป็นสำนักงานเล็กแถวสีแยกเสือป่า ถนนเจริญกรุง โดยมี [[เตรียม ชาชุมพร]], [[โอม รัชเวทย์]], [[สมชาย ปานประชา]], [[พล พิทยกุล]], เฉลิม อัคภู ทำหนังสือการ์ตูนรายเดือน ขึ้นมา ชื่อ "[[เพื่อนการ์ตูน]]" อยู่ในตลาดได้พักใหญ่ก็ปิดตัวลง ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้น ก็มีกล่มทำงานเล็กๆกลุ่มหนึ่ง ซึ่งห้องข้างๆของ [[กลุ่มเบญจรงค์]] ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นสำนักพิมพ์คุณภาพผลิต[[หนังสือสำหรับเด็ก]]มากมายนั่นคือ[[สำนักพิมพ์ห้องเรียน]]โดยคนคุณภาพอย่าง คุณศิวโรจน์, คุณเล็ก เป็นกำลังสำคัญตั้งแต่เริ่มต้นยุคที่เงียบหาย
 
การ์ตูนไทยยังแอบทำหน้าที่เงียบๆ ตามซอกหลืบ เป็นการ์ตูนราคาถูกที่พอให้ผู้อ่านหาซื้อได้โดยเบียดเบียนเงินในกระเป๋าให้น้อยที่สุด อาจจะลดคุณภาพลงบ้างตามความจำเป็น นี่คือยุคของ "[[การ์ตูนเล่มละบาท]]" โดยเริ่มเกิดขึนครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์สากล ต่อมาหลายสำนักพิมพ์ก็ทำตามออกมา สำนักพิมพ์สุภา, บางกอกสาส์น, สำนักพิมพ์สามดาว เป็นต้น นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่การ์ตูนทำหน้าที่เพื่อต่อผ่านไปยังการ์ตูนยุคต่อมา แม้กระนั้นนักเขียนการ์ตูนยุคนั้นก็ฝากฝีมือไว้ได้อย่างยอดเยี่ยมหลายท่านด้วยก้น เช่น นักรบ รุ่งแก้ว, รุ่ง เจ้าเก่า, ชายชล ชีวิน, แมวเหมียว, ราตรี, น้อย ดาวพระศุกร์, ดาวเหนือ, เพลิน, เทพบุตร, มารุต เสกสิทธิ์, นอม เป็นต้น โดยบางครั้งก็ได้[[นักเขียนการ์ตูน]]ที่มีชื่อเสียงในยุคก่อนหน้านั้นช่วยเขียนปกให้ เพื่อเสริมคุณภาพขึ้นอีกระดับหนึ่ง เช่น [[จุก เบี้ยวสกุล]] เป็นเหตุทำให้การ์ตูนเล่มละบาท ได้รับความนิยมขึ้นเป็นอย่างมากในยุคหนึ่ง จนสามารถทำให้คำว่า"[[การ์ตูนเล่มละบาท]]" กลายเป็นตำนาน เป็นชื่อเฉพาะ และเป็นสัญลักษณ์ ที่เรียกกันมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นสไตล์การ์ตูนที่มีลักษณะเฉพาะสำนักพิมพ์ที่เป็นแหล่งรวมของ[[นักเขียนการ์ตูน]] มีมากมาย เช่น บางกอกสาส์น, ชนะชัย การ์ตูนเล่มละบาทนี้เป็นที่ฝึกฝนฝีมือของนักเขียนการ์ตูนหน้าใหม่ นักเรียนศิลปะที่ต้องการหารายได้ในระหว่างเรียนหนังสือ ปัจจุบันหลายท่านกลายเป็น[[นักเขียนการ์ตูน]]คุณภาพระดับแนวหน้าของเมืองไทยแนวเรื่องของการ์ตุนเล่มละบาท มีทั้งเรื่องชีวิต, เรื่องผี, เรื่องตลก, นิทาน, เซ็กซ์ โดยเฉพาะเรื่อง "ผี" เป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมอย่างมากของผู้อ่าน เป็นความตื่นเต้นแบบง่ายๆ ที่ใกล้ชิดชาวบ้านมากที่สุด
 
==== ยุคปัจจุบัน ====
บรรทัด 27:
 
== ภาพยนตร์การ์ตูนไทย ==
''[[สุดสาคร (ภาพยนตร์การ์ตูน)|สุดสาคร]]'' ถือได้ว่าเป็น ภาพยนตร์การ์ตูนไทยเรื่องแรก เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลก ครั้งที่ 2 สงบไปไม่นาน ก่อนที่จะมี ''[[ก้านกล้วย]]'', ''[[ประวัติพระพุทธเจ้า]]'' และ ''[[นาค (ภาพยนตร์การ์ตูนไทย)|นาค]]'' ดังเช่นที่รู้จักกันในปัจจุบัน
 
ทั้งนี้อย่างไรก็ตาม [[พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์]] ได้กล่าวถึง[[แอนิเมชัน]]ของไทยทุกเรื่องว่า ยังไม่ได้รับการแก้ไขในเรื่องของการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างเร็วเกินไปในฉากแอ็คชั่น<ref>พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์. รู้แล้ว! แอนิเมชันไทย...ปัญหาใหญ่อยู่ที่การเคลื่อนไหว?. '''คมชัดลึก'''. ปีที่ 11 ฉบับที่ 4007. วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555. ISSN 16851390. หน้า 20</ref>
 
== การตอบรับ ==