ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลนครสงขลา"

เทศบาลนครในจังหวัดสงขลา ประเทศไทย
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chadamyenz5 (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล เทศบาล <!-- ข้อมูลจำเป็น --> | เทศบาล = นครสงขลา | ชื่ออั...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:55, 7 ตุลาคม 2555

เทศบาลนครสงขลา หรือ นครสงขลา ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เทศบาลนครสงขลาเป็นเมืองท่าที่สำคัญเพราะตั้งอยู่ติดกับชายฝั่งทะเลอ่าวไำทย จึงทำให้มีการค้าขายทางพานิชย์นาวีป็นจำนวนมาก เทศบาลนครสงขลาเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการสำคัญหลายแห่ง เช่น ที่ว่าการอำเภอเมืองสงขลา โรงเรียนมหาวชิราวุธ โรงเรียนวรนารีเฉลิม สถานีตำรวจภูธรภาค 9 เป็นต้น

เทศบาลนครสงขลา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Tambon Songkhla City
ประเทศ ไทย
จังหวัด[[จังหวัด{{{province}}}|{{{province}}}]]
อำเภอ{{{district}}}
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนายพีระ ตันติเศรณี
พื้นที่
 • ทั้งหมด9.27 ตร.กม. (3.58 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด69,523 คน
 • ความหนาแน่น7,499.78 คน/ตร.กม. (19,424.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.{{{code}}}
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลนครสงขลา
ถนนราชดำเนิน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90000
โทรศัพท์0 7431 1015
เว็บไซต์http://http://songkhlacity.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

สมัยโบราณสงขลาเป็นชุมชนประมงบนคาบสมุทรสทิงพระ ต่อมาพ่อค้าชาวตะวันตกใช้เป็นท่าเรือขนส่งสินค้า ชุมชนจึงขยายตัวเป็นเมืองท่าสำคัญที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ว่า "Singora(ซิงกอรา)" โดยชื่อนี้สามารถสันนิษฐานได้หลายแบบ โดยข้อสันนิษฐานที่เด่นชัดที่สุด คือ เมืองสงขลาในสมัยก่อนมีชื่อว่า สิงขร เมื่อพ่อค้าชาวตะวันตกเข้ามาจึงได้มีการเรียกตามสำเนียงฝรั่ง และเพื้ยนมาเป็นสงขลาในปัจจุบัน

สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ส่งกองทัพมาทำลายเมืองอย่างราบคาบ จึงได้มีการย้ายตัวเมืองไปยังฝั่งแหลมสน (ปัจจุบันอยู่ที่บ้านบ่อเตย อำเภอสิงหนคร) ส่วนเจ้าเมืองก็จะเป็นชาวพื้นเมืองบ้าง ชาวจีนบ้าง ตามยุคสมัยนั้นๆ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองสงขลามีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรสยาม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้สร้างเมืองใหญ่ขึ้นใหม่ที่ฝั่งบ่อยาง (ที่ตั้งปัจจุบัน) ใช้เวลาสร้างเมืองนานถึง 10 ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จมาพำนักอยู่ถึง 2 ครั้ง

ในปี พ.ศ.2439 สงขลาเป็นที่ตั้งของที่ว่าการมณฑลนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ.2463 สถาปนาเป็นสุขาภิบาลเมืองสงขลา ปี พ.ศ.2478 ยกฐานะขึ้นเมืองเทศบาลเมืองสงขลา และในปี พ.ศ.2542 ได้มีพระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองสงขลาเป็นเทศบาลนครสงขลา (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอน 110 ก. วันที่ 10 พฤศจิกายน 2542) และก่อตั้งเป็นเทศบาลนครสงขลา เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2542[1]

การคมนาคม

ทางถนน

  1. ถนนกาญจนวนิช เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างเทศบาลนครสงขลาและตัวอำเภอหาดใหญ่ เริ่มต้นจาก แยกคลองหวะ ในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ผ่านแยกน้ำกระจาย ไปสิ้นสุดที่แยกสำโรง ในเขตเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
  2. ถนนลพบุรีราเมศวร์ ถนนเส้นนี้สร้างเพื่อเลี่ยงเมืองหาดใหญ่ โดยเริ่มต้นจาก แยกน้ำกระจาย แยกบิ๊กซี (แยกคลองแหเก่า) แยกสนามบิน สิ้นสุดที่ถนนเพชรเกษม
  3. ถนนนครศรีธรรมราช-นาทวี เป็นเส้นทางที่เชื่อมระหว่างจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลาโดยไม่ต้องผ่านจังหวัดพัทลุง เริ่มต้นจาก แยกหัวถนน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช วิ่งลงใต้ผ่านอำเภอสทิงพระ เกาะยอ (เป็นที่ตั้งสะพานติณสูลานนท์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย) ผ่านแยกน้ำกระจาย แยกอ่างทอง อำเภอจะนะ และสิ้นสุดที่แยกนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

โรงเรียน

ระดับมัธยมศึกษา

  1. โรงเรียนมหาวชิราวุธ
  2. โรงเรียนวรนารีเฉลิม
  3. โรงเรียนวชิรานุกูล
  4. โรงเรียนเทศบาล 4 (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น)
  5. โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก)
  6. โรงเรียนแจ้งวิทยา (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น)

ระดับประถมศึกษา

  1. โรงเรียนอนุบาลสงขลา
  2. โรงเรียนวิเชียรชม
  3. โรงเรียนหวังดี
  4. โรงเรียนสงขลามูลนิธิ
  5. โรงเรียนเทศบาล 1 (ถนนนครนอก)
  6. โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ)
  7. โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง)
  8. โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดแหลมทราย)
  9. โรงเรียนสุมิตรา
  10. โรงเรียนจุลสมัย
  1. http://www.songkhlacity.go.th/history.asp