ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซีวิลลอว์ (ระบบกฎหมาย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Iamion (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
{{legend|#c76|ระบบ[[คอมมอนลอว์]]}}
{{legend|#975|ระบบทวินิติ (ทั้งซีวิลลอว์และคอมมอนลอว์)}}
{{legend|#363|กฎหมายขนบทำเนียมธรรมเนียม}}
{{legend|#fb3|[[กฎหมายชาริอะห์]] (กฎหมายอิสลาม)}}
]]
 
'''ซีวิลลอว์''' ({{lang-en|civil law}}) เป็น[[ระบบกฎหมาย]]ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก[[กฎหมายโรมัน]] ลักษณะพื้นฐานของซีวิลลอว์คือ เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นระบบประมวล และมิได้ตัดสินตามแนว[[คำพิพากษา]]ของศาล ระบบกฎหมายดังกล่าวจึงได้ยึดถือฝ่าย[[นิติบัญญัติ]]เป็นบ่อเกิดหลักของกฎหมาย และระบบศาลมักจะใช้วิธีพิจารณาโดยระบบไต่สวน และศาลจะไม่ถูกผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนๆ
 
ในเชิงความคิด ซีวิลลอว์เป็นกลุ่มของแนวคิดและระบบกฎหมายซึ่งได้รับมาจาก[[ประมวลกฎหมายจัสติเนียน]] รวมไปถึงกฎหมายของชนเผ่าเยอรมัน สงฆ์ ระบบศักดินา และจารีตประเพณีภายในท้องถิ่นเอง รวมไปถึงความคิดเช่น [[กฎหมายธรรมชาติ]] แนวคิดในการจัดทำ[[ประมวลกฎหมาย]] และกลุ่มปฏิฐานนิยม (กลุ่มที่ยึดถือกฎหมายที่บัญญัิติไว้เป็นหลัก)
บรรทัด 15:
 
== ภาพรวม ==
หลักสำคัญของซีวิลลอว์คือการให้ประชาชนทุกคนสามาถรู้กฎหมายที่ตนและผู้พิพากษาต้องเคารพและปฏิบัติตาม โดยที่กฎหมายนั้นต้องเป็นลายลักษณ์อักษร ซีวิลลอว์เป็นระบบกฎหมายที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดในโลก ถูกนำมาใช้ในลักษณะต่างๆ ประมาณ 150 ประเทศ และเป็นระบบกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังใช้มาจนถึงปัจจุบัน การล่าอาณานิคมทำให้ระบบซีวิลลอว์และระบบซีวิลลอว์อย่างยุโรปถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในประเทศกลุ่มละตินอเมริกา เอเชีย และแอฟริกา
 
บ่อเกิดสำคัญหลักของกฎหมายคือประมวลกฎหมาย ซึ่งเป็นประมวลที่รวบรวมกฎหมายที่บัญญัติขึ้นไว้อย่างเป็นระบบ การจัดทำประมวลกฎหมายมักจะเกิดจากการที่ฝ่ายนิติบัญญัติบัญญัติกฎหมายใหม่ขึ้นซึ่งได้รวมถึงกฎหมายในเรื่องเดียวกันนั้นที่มีอยู่แล้วและรวมถึงการตีความซึ่งผู้พิพากษาซึ่งได้ตีความไว้เป็นคำพิพากษา เพราะในบางกรณีการตีความกฎหมายโดยผู้พิพากษาอาจทำให้เกิดแนวคิดใหม่ทางกฎหมาย ระบบกฎหมายที่สำคัญอื่นของโลก เช่น ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ และระบบกฎหมายอิสลาม