ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คำยืม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 9:
* ในแง่ของการเขียน เห็นได้ชัดจากภาษาต่าง ๆ ที่ใช้[[ชุดอักษร]]และ[[อักขรวิธี]]ไม่เหมือนกัน เช่น ภาษาอังกฤษใช้[[อักษรละติน]] แต่ภาษาไทยใช้[[อักษรไทย]] และบางครั้งก็เขียนแผลงไปจากรูปแบบที่ควรจะเป็น อาจจะด้วยหลักการหรือความนิยมก็ตาม เช่น คำบาลีปริวรรตว่า ''รฏฺฐ อฏฺฐิ วุฑฺฒิ'' ในขณะที่คำไทยเขียนว่า ''รัฐ อัฐิ วุฒิ'' เป็นต้น
* ในแง่ของการอ่าน นอกจากชุดอักษรที่ไม่เหมือนกันดังที่กล่าวแล้ว เสียงอ่านของตัวอักษรแต่ละตัวก็มี[[ฐานกรณ์]]ต่างกัน และรูปอักษรแทนเสียงก็มีไม่เพียงพอต่อการถ่ายทอดให้ออกมาได้ครบถ้วน เสียงอ่านจึงแปรเปลี่ยนไปตามภาษาของผู้รับ ตัวอย่าง คำอังกฤษ volleyball ในขณะที่คำไทยเขียนว่า ''[[วอลเล่ย์บอล]]'' คำญี่ปุ่นเขียนว่า バレーボール (บะเรโบรุ) จะเห็นว่าเสียง v ของภาษาอังกฤษไม่มีในภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่น ภาษาไทยจึงใช้ ว ซึ่งเป็นเสียงที่ใกล้เคียงที่สุด และภาษาญี่ปุ่นนิยมใช้คะนะกลุ่ม "บ" มากกว่า ถึงแม้ว่าจะสามารถใช้ ヴォ หรือ ヺ แทนเสียง vo ได้
* ในแง่ของความหมาย คำที่ยืมมาใช้อาจมีความหมายต่างไปจากเดิม หรือแม้แต่คำหลายคำที่มีรากศัพท์เดียวกัน ความหมายก็อาจต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น คำบาลีและคำสันสกฤตว่า ''วร'' (วะระ) หมายถึง ดียิ่ง ประเสริฐ ในขณะที่คำไทยใช้ว่า ''วร'' (วอระ, วะระ) ตามความหมายเดิม, ''พร'' (พอน) หมายถึง คําแสดงความปรารถนาให้ประสบสิ่งที่เป็นสิริมงคล สิ่งที่ขอเลือกเอาตามประสงค์, ''[[พระ]]'' หมายถึง คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ หรือใช้ประกอบหน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง อีกตัวอย่างหนึ่ง คำเขมรว่า {{km|ត្រួត}} (ตฺรัวต) แปลว่า ควบคุม ดูแล ปกครอง ในขณะที่คำไทยใช้ว่า ''ตรวจ'' หมายถึง พิจารณาดูความเรียบร้อย พิจารณาว่าถูกหรือผิด, ''[[ตำรวจ]]'' หมายถึง ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์เจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ตรวจตราและรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เป็นต้น
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/คำยืม"