ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คำยืม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''คำยืม''' หมายถึง[[คำ]]ที่ยืมมาจาก[[ภาษา]]ของผู้ให้ภาษาหนึ่ง และรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของภาษาของผู้รับ การยืมนี้ไม่เหมือนความหมายทั่วไปเนื่องจากไม่มีการคืนกลับสู่ภาษาของผู้ให้ <ref>{{cite book|last=Jespersen|first=Otto|title=Language|place=New York|publisher=Norton Library|year=1964|isbn=039300292|page=208}} [[Otto Jespersen|"Linguistic 'borrowing' is really nothing but imitation."]] Shakespeare however anticipates this situation in ''Hamlet,'' Act I, scene 3: ''Neither a borrower nor a lender be ..."</ref> แต่เปรียบได้กับ "การยืมความคิด" มาใช้ คำยืมอาจไม่ได้เป็นคำเดียวเสมอไป อาจเป็นกลุ่มคำก็ได้อย่างเช่น [[déjà vu]] ซึ่งภาษาอังกฤษยืมมาจาก[[ภาษาฝรั่งเศส]] จะใช้ควบคู่กันไปเสมือนคำเดียว คำยืมอาจมีการเขียน การอ่าน และความหมาย ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมก็ได้
 
คำในภาษาของผู้ให้โดยทั่วไปเข้าสู่ภาษาของผู้รับในลักษณะ[[ศัพท์เฉพาะทาง]]เนื่องจากการเปิดรับ[[วัฒนธรรม]]ต่างชาติ จุดอ้างอิงโดยเฉพาะอาจเป็นวัฒนธรรมต่างชาตินั้นเองหรือขอบข่ายของกิจกรรมของวัฒนธรรมต่างชาติที่ต้องการครอบงำ วัฒนธรรมต่างชาติซึมซับเข้าสู่วัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านทางการเผยแผ่[[ศาสนา]] [[ปรัชญา]] [[การค้าขาย]] [[ศิลปะ]] [[วิทยาการ]] และการอพยพจากคนต่างถิ่น รวมไปถึงความสัมพันธ์ทาง[[การทูต]]
 
ภาษาไทยมีคำยืมภาษาต่างประเทศหลายภาษาอาทิ [[ภาษาบาลี]] [[ภาษาสันสกฤต]] [[ภาษาเขมร]] [[ภาษาจีน]] ([[ภาษาจีนแต้จิ๋ว]]และ[[ภาษาจีนฮกเกี้ยน]]) [[ภาษามอญ]] [[ภาษามลายู]] [[ภาษาโปรตุเกส]] [[ภาษาเปอร์เซีย]] [[ภาษาอังกฤษ]] [[ภาษาญี่ปุ่น]] ฯลฯ แม้แต่[[ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง]]ก็ยังปรากฏคำยืมภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร เข้ามาปะปน
 
== รูปแบบการถ่ายทอดคำยืม ==
คำยืมในภาษาของผู้รับมีความแตกต่างในสามประเด็น ได้แก่การเขียน การอ่าน และความหมาย จากภาษาของผู้ให้
* ในแง่ของการเขียน เห็นได้ชัดจากภาษาต่าง ๆ ที่ใช้[[ชุดอักษร]]ไม่เหมือนกัน เช่น ภาษาอังกฤษใช้[[อักษรละติน]] แต่ภาษาไทยใช้[[อักษรไทย]] และบางครั้งก็เขียนแผลงไปจากรูปแบบที่ควรจะเป็น อาจจะด้วยหลักการหรือความนิยมก็ตาม เช่น คำสันสกฤตปริวรรตว่า ''รฏฺฐ อฏฺฐิ วุฑฺฒิ'' ในขณะที่คำไทยเขียนว่า ''รัฐ อัฐิ วุฒิ'' เป็นต้น
* ในแง่ของการอ่าน นอกจากชุดอักษรที่ไม่เหมือนกันดังที่กล่าวแล้ว เสียงอ่านของตัวอักษรแต่ละตัวก็มี[[ฐานกรณ์]]ต่างกัน และรูปอักษรแทนเสียงก็มีไม่เพียงพอต่อการถ่ายทอดให้ออกมาได้ครบถ้วน เสียงอ่านจึงแปรเปลี่ยนไปตามภาษาของผู้รับ ตัวอย่าง คำอังกฤษ volleyball ในขณะที่คำไทยเขียนว่า ''วอลเล่ย์บอล'' คำญี่ปุ่นเขียนว่า バレーボール (บะเรโบรุ) จะเห็นว่าเสียง v ของภาษาอังกฤษไม่มีในภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่น ภาษาไทยจึงใช้ ว ซึ่งเป็นเสียงที่ใกล้เคียงที่สุด และภาษาญี่ปุ่นนิยมใช้คะนะกลุ่ม "บ" มากกว่า ถึงแม้ว่าจะสามารถใช้ ヴォ หรือ ヺ แทนเสียง vo ได้
* ในแง่ของความหมาย
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/คำยืม"