ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กัมพูชายุคใหม่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 7:
พรรคฟุนซินเปกของพระนโรดม รณฤทธิ์ได้คะแนนสูงสุด 45.5% รองลงมาคือ[[พรรคประชาชนกัมพูชา]]และ[[พรรคประชาธิปไตยเสรีนิยมชาวพุทธ]] ตามลำดับ หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2536 สิ้นสุดลง พรรคประชาชนกัมพูชาไม่ยอมรับชัยชนะของพรรคฟุนซินเปกและได้ประกาศแยกจังหวัดทางภาคตะวันออกของกัมพูชาออกไปเป็นดินแดนอิสระ การรัฐประหารหลังการเลือกตั้งเริ่มขึ้นเมื่อเจ้า[[นโรดม จักรพงษ์]] พลเอกสิน สอง และพลเอก[[บู ทอง]]ออกไปปลุกระดมประชาชนที่[[สวายเรียง]]เมื่อ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2536 ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งที่จัดโดยอันแทค และได้ประกาศแยกจังหวัดสวายเรียง [[กำปงจาม]] [[เปรยแวง]] [[กระแจะ]] [[มณฑลคีรี]] [[รัตนคีรี]]และ[[สตึงเตรง]]ออกไปตั้งเป็นเขตปกครองตนเองของสมเด็จพระบิดา<ref name="รัฐประหาร">วัชรินทร์ ยงศิริ.รัฐประหารจากสายเลือดนโรดม ใน กัมพูชา วันวารที่ผันเปลี่ยน. ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์กราฟฟิก. 2545 หน้า 104-108</ref> อย่างไรก็ตาม การปฏิวัติครั้งนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกพรรคประชาชนกัมพูชาคนอื่นๆ เจ้านโรดม จักรพงษ์จึงต้องหนีไปเวียดนามเมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2536 การแบ่งแยกดินแดนจึงสิ้นสุดลง พระนโรดม จักรพงษ์ได้รับการอภัยโทษจากสีหนุในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2536<ref name="รัฐประหาร"/>
 
พรรคฟุนซินเปกจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคอื่นๆ พรรคการเมืองที่เข้าร่วมการเลือกตั้งส่งตัวแทนรวมกันทั้งสิ้น 120 คน ในการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งประกาศใช้ในวันที่ 24 กันยายน ในรัฐธรรมนูญกำหนดให้ปกครองประเทศในระบอบรัฐสภาแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระนโรดม สีหนุขึ้นครองราชย์สมบัติอีกครั้ง พระ[[นโรดม รณฤทธิ์]]และ[[ฮุน เซน]]เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 และ 2 ตามลำดับ หลังการเลือกตั้ง เขมรแดงเข้ายึดปราสาทพระวิหารจากฝ่ายของฮุนเซนเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 และขอเปิดการเจรจากับฝ่ายของสีหนุ โดยฝ่ายเขมรแดงยื่นข้อเรียกร้องเข้าร่วมในการบริหารแห่งชาติและตำแหน่งที่ปรึกษาของรัฐบาลใหม่แลกกับการคืนปราสาทพระวิหารและมอบดินแดนที่ยึดไว้คืนให้ฝ่ายรัฐบาล<ref>วัชรินทร์ ยงศิริ. ความปรองดองแห่งชาติกัมพูชา ใน กัมพูชา วันวารที่ผันเปลี่ยน. ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์กราฟฟิก. 2545 หน้า 135-142</ref> สมเด็จสีหนุทรงเห็นด้วยที่จะรับเขมรแดงเข้าร่วมรัฐบาล แต่ฮุน เซนและนโรดม รณฤทธิ์ไม่เห็นด้วย สหรัฐได้เข้ามาแทรกแซงโดยประกาศจะตัดความช่วยเหลือกัมพูชา หากมีเขมรแดงร่วมรัฐบาล การเจรจาเพื่อการปรองดองแห่งชาติตามนโยบายของสมเด็จพระนโรดม สีหนุที่เสนอให้เขมรแดงเข้าร่วมในการบริหารประเทศโดยต้องยอมคืนพื้นที่หนึ่งในสามของประเทศให้แก่รัฐบาลและยุบเลิกกองกำลังทั้งหมด แต่ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากการเจรจาครั้งสุดท้ายเมื่อ 27 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ที่กรุง[[เปียงยาง]] [[เกาหลีเหนือ]]ล้มเหลว ฝ่ายรัฐบาลจึงออกกฎหมายให้เขมรแดงเป็นกลุ่มนอกกฎหมายด้วยคะแนนเสียง 103 ต่อ 0<ref>วัชรินทร์ ยงศิริ. ความแตกแยกของเขมรแดง.. ใครได้ใครเสีย ใน กัมพูชา วันวารที่ผันเปลี่ยน. ศรีบูรณ์ค]]อมพิวเตอร์กราฟฟิก. 2545 หน้า 73-81</ref>
 
== รัฐประหาร พ.ศ. 2540 ==