ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กัมพูชายุคใหม่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: หลังการล่มสลายของกัมพูชาประชาธิปไตย '''กัมพูชา'''ตกอยู่ภายใ...
 
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 4:
 
ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2535 [[อันแทค]]ภายใต้การนำของยาสุชิ เอกาชิและนายพลจอห์น แซนเดอร์สัน มาถึงกัมพูชา คณะกรรมการผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติเริ่มเข้ามาทำงานเต็มตัวในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 อันแทคมีทหารและพลเรือนทำงานด้วยราว 22,000 คนในการดำเนินการจัดการเลือกตั้งในกัมพูชา มีชาวกัมพูชาราว 4 ล้านคน (90% ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง) เข้าร่วมในการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2536 แม้ว่าเขมรแดงที่ไม่เคยถูกปลดอาวุธและจำกัดการเคลื่อนไหวจะห้ามประชาชนในเขตของตนไม่ให้ออกมาเลือกตั้ง
[[ไฟล์:เขตปกครองสมเด็จพระบิดา.jpg|thumbnail|250px|เขตจังหวัดที่พระนโรดม จักรพงษ์ประกาศแยกตัวไปเป็นเขตปกครองตนเองสมเด็จพระบิดาหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2536 แต่ไม่สำเร็จ]]
 
พรรคฟุนซินเปกของพระนโรดม รณฤทธิ์ได้คะแนนสูงสุด 45.5% รองลงมาคือ[[พรรคประชาชนกัมพูชา]]และ[[พรรคประชาธิปไตยเสรีนิยมชาวพุทธ]] ตามลำดับ หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2536 สิ้นสุดลง พรรคประชาชนกัมพูชาไม่ยอมรับชัยชนะของพรรคฟุนซินเปกและได้ประกาศแยกจังหวัดทางภาคตะวันออกของกัมพูชาออกไปเป็นดินแดนอิสระ การรัฐประหารหลังการเลือกตั้งเริ่มขึ้นเมื่อเจ้า[[นโรดม จักรพงษ์]] พลเอกสิน สอง และพลเอก[[บู ทอง]]ออกไปปลุกระดมประชาชนที่[[สวายเรียง]]เมื่อ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2536 ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งที่จัดโดยอันแทค และได้ประกาศแยกจังหวัดสวายเรียง [[กำปงจาม]] [[เปรยแวง]] [[กระแจะ]] [[มณฑลคีรี]] [[รัตนคีรี]]และ[[สตึงเตรง]]ออกไปตั้งเป็นเขตปกครองตนเองของสมเด็จพระบิดา<ref name="รัฐประหาร">วัชรินทร์ ยงศิริ.รัฐประหารจากสายเลือดนโรดม ใน กัมพูชา วันวารที่ผันเปลี่ยน. ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์กราฟฟิก. 2545 หน้า 104-108</ref> อย่างไรก็ตาม การปฏิวัติครั้งนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกพรรคประชาชนกัมพูชาคนอื่นๆ เจ้านโรดม จักรพงษ์จึงต้องหนีไปเวียดนามเมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2536 การแบ่งแยกดินแดนจึงสิ้นสุดลง พระนโรดม จักรพงษ์ได้รับการอภัยโทษจากสีหนุในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2536<ref name="รัฐประหาร"/>