ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไขมัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Antelope (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
ไขมันเป็นลิพิดประเภทหนึ่ง ซึ่งแยกแยะได้จากโครงสร้างทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพ โมเลกุลไขมันสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตหลายชนิด โดยทำหน้าที่ทั้งเชิงโครงสร้างและ[[เมแทบอลิซึม]] ไขมันเป็นส่วนสำคัญในอาหารของ[[เฮเทอโรโทรป]]ส่วนมาก (รวมทั้งมนุษย์) ในร่างกาย ไขมันหรือลิพิดถูกย่อยโดยเอนไซม์ชื่อ [[ไลเปส]] ซึ่งสร้างจาก[[ตับอ่อน]]
 
ตัวอย่างไขมันสัตว์ที่กินได้ เช่น มันหมู น้ำมันปลา [[เนยเหลว]] และชั้นไขมันวาฬ ไขมันเหล่านี้ได้มาจาก[[นม]]และ[[เนื้อ]] ตลอดจนจากใต้หนังของสัตว์ ตัวอย่างของไขมันพืชที่กินได้ เช่น น้ำมันถั่วลิสง เต้าเจี้ยว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก และ[[เนยโกโก้]] สำหรับ[[เนยขาว]]ซึ่งถูกใช้ในการอบขนมปังและ[[เนยเทียม]]เป็นหลัก หรือใช้ทาขนมปัง สามารถดัดแปลงจากไขมันข้างต้นได้โดยปฏิกิริยา[[ไฮโดรจิเนชัน]]
 
ไขมันจำแนกได้เป็น[[ไขมันอิ่มตัว]]กับ[[ไขมันไม่อิ่มตัว]] ไขมันไม่อิ่มตัวยังสามารถจำแนกต่อได้อีกเป็น[[ไขมันซิส]] ซึ่งพบทั่วไปในธรรมชาติ กับและ[[ไขมันทรานส์]] ซึ่งพบยากในธรรมชาติ แต่พบในน้ำมันพืชที่เกิดได้ทำ[[ไฮโดรจิเนชันเนชัน]]ไปแล้วบางส่วน
 
== ความสำคัญของไขมัน ==
ไขมันในอาหารคือการที่สารอาหารชนิดนี้เป็นแหล่งของกรดไขมันจำเป็นเช่น linoeic acid [[กรดไลโนเลอิก]]และ linolenic acid<blockquote>กรดไลโนเลนิก</blockquote> ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโต การรักษาสมดุลของผิวหนัง ควบคุมการเผาผลาญคอเลสเทอรอล และยังเป็นสารตั้งต้นในการผลิต postagladin ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของร่างกาย ไขมันยังมีหน้าที่ในการลำเลียงและการดูดซึมของวิตามินชนิดที่ละลายในไขมันได้แก่ A[[วิตามินเอ]], D, E[[วิตามินอี]] และ K[[วิตามินเค]] รวมทั้ง carotenoids [[แคโรทีนอยด์]]ด้วย ในบางกรณีไขมันจากอาหารยังเป็นวิตามินเองด้วยอีย เช่น [[น้ำมันถั่วเหลือง]]เป็นแหล่งสำคัญของ วิตามิน Eอี
 
ร่างกายมนุษย์สะสมไขมันไว้ภายในเซลล์ไขมัน (adipose cell) แต่ก็สามารถพบไขมันบางส่วนในเลือดและเซลล์อื่นๆได้ด้วย การสะสมไขมันในร่างกายมิใช่เพื่อสร้างความอบอุ่นให้ร่างกายเท่านั้น แต่ยังช่วยรองรับและป้องกันอวัยวะภายในต่างๆอีกด้วย
 
=== ด้านอาหาร ===
นอกเหนือไปจากหน้าที่ที่มีต่อร่างกายแล้ว ไขมันยังมีส่วนสำคัญในด้าน[[เนื้อสัมผัส]], [[กลิ่นรส]], [[ความชุ่มเนื้อ]], และ[[รสชาติ]]ของอาหารอีกด้วย และเนื่องจากร่างกายของเราย่อยไขมันได้ช้ากว่าสารอาหารชนิดอื่น เช่น คาร์โบไฮเดรต. ไขมันเป็นเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกอิ่ม หลังจากที่ได้รับอาหารเข้าในประมาณที่เพียงพอแล้ว
 
โดยหลักการ ไขมันมิได้ถูกแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ แต่อย่างใด เพราะไขมันก็ประกอบขึ้นด้วยธาตุสามชนิดเช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ [[คาร์บอน]], [[ไฮโดรเจน]], และ[[ออกซิเจน]] อย่างไรก็ตาม ไขมันจะมีสัดส่วนของคาร์บอนและไฮโดรเจนมาก และมีออกซิเจนน้อย ซึ่งทำให้ไขมันมีพลังงานต่อมวลมากถึง 9 [[แคลอรี]]ต่อ[[กรัม]] ในขณะที่คาร์โบไฮเดรตให้พลังงานเพียง 4 แคลอรีต่อกรัม
 
===ด้านอุตสาหกรรม===
ใช้ในการทำสบู่ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยา[[สะพอนิฟิเคชัน]]ซึ่งเกิดจาก [[น้ำมันพืช]] + ผสมกับ[[โซดาไฟ]] = [[สบู่]]
 
== โครงสร้างทางเคมีของไขมัน ==
ไขมันประกอบไปด้วย[[ธาตุ]]หลัก 3 ชนิด ได้แก่ [[คาร์บอน]] [[ไฮโดรเจน]] และ [[ออกซิเจน]] เช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต อย่างไรก็ตามไขมันมีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนและไฮโดรเจนแต่มีออกซิเจนน้อย ดังนั้นไขมันจึงให้พลลังงานมากถึง 9 แคลอรี่แคลอรีต่อ 1 กรัม
 
ในทางเทคนิคนั้นควรจะกล่าวถึงไขมันในลักษณะที่เป็นพหูพจน์เนื่องจากไขมันมีหลายชนิด โดยไขมันจะประกอบขึ้นด้วย[[กรดไขมัน]] (Fatty acids) ชนิดต่างๆที่มีลักษณะทางกายภาพและมีผลต่อร่างกายแตกต่างกันไป ไขมันยังสามารถแบ่งตามการมีพันธะคู่ของคาร์บอนอะตอมภายในกรดไขมันได้แก่
 
# กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acids) ซึ่งไม่มีพันธะคู่ระหว่างอะตอมของคาร์บอน ปกติพบได้ในไขมันจากสมองสัตว์หรือเครื่องในสัตว์
# กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acids) ซึ่งมีพันธะคู่ พบได้ใน[[ไขมันพืช]]
 
== ดูเพิ่ม ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ไขมัน"