ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 50:
เมื่อพระพุทธศาสนา[[มหายาน]]ได้เข้าสู่[[ประเทศจีน]]ในช่วงแรกคือสมัยก่อน[[ราชวงศ์ถัง]] ในยุคนั้นรูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรยังสร้างเป็นรูปบุรุษตามแบบพุทธศิลป์ของ[[อินเดีย]] หากในกาลต่อมาช่างชาวจีนได้คิดสร้างเป็นรูปสตรีเพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร สะท้อนถึงความรู้สึกและความเชื่อของประชาชนพื้นถิ่นที่ห่างไกลแม่แบบซึ่งมาจากอินเดีย จนอาจจะเรียกได้ว่ากวนอิมในรูปลักษณ์ของสตรีเป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในจีน และแพร่หลายมากกว่าปางอื่น ๆ กระทั่งแผ่ขยายเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย ทั้งนี้เพราะรูปลักษณ์ของฝ่ายหญิงแทนค่าในเรื่องความเมตตากรุณาได้ดี ในขณะที่รูปลักษณ์อย่างบุรุษเพศจะสะท้อนเรื่องคุณธรรมมากกว่าความเมตตา เมื่อพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าไปยัง[[เกาหลี]] [[ญี่ปุ่น]]และ[[เวียดนาม]] พุทธศาสนิกชนในประเทศนั้นก็พลอยสร้างรูปพระอวโลกิเตศวรเป็นสตรีตามแบบอย่างประเทศจีนไปด้วย
 
ปกติ ทางมหายานเชื่อว่าพระอวโลกิเตศวรหรือพระแม่กวนอิมจะทรงแจกันสีเขียว บรรจุน้ำทิพย์อยู่ และกิ่งหลิว ทางจีนบอกว่าจะมีปางทั้งหมด 84 ปาง บ้างก็มี 88 ปาง ขณะทางธิเบต มี 4 กร คือ ทรงลูกประคำ ทรงดอกไม้ และอีก 2 กร ทรงลูกวงรีสีน้ำเงินด้วย
 
== เรื่องราวในสทฺธรฺมปุณฺฑรีกสูตร ==