ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรณีมายาเกวซ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink: คอมมอนส์-หมวดหมู่
Julthep (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
ทว่า ปฏิบัติการดังกล่าว ทางสหรัฐอเมริกามิได้กระทำการแจ้งอย่างเป็นทางการแก่รัฐบาลไทย อันถือเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทย ในวันที่ [[17 พฤษภาคม]] ได้มีกลุ่มนักศึกษาและประชาชนจำนวน 10,000 คน และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็น 30,000 คน นำโดย นาย[[ธีรยุทธ บุญมี]] ทำการประท้วง ที่หน้า[[สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย]] [[ถนนวิทยุ]] อย่างรุนแรง โดยประณามการกระทำของสหรัฐอเมริกา ว่าเป็น[[จักรวรรดินิยม]]อเมริกัน ที่คุกคามภูมิภาคแถบนี้ ซึ่งก่อนหน้านั้นได้มีการชุมนุมลักษณะเช่นนี้และมีความพยายามเคลื่อนไหวที่จะให้มีการถอนกำลังทหารของสหรัฐอเมริกาออกจากประเทศไทยมาแล้ว โดยรัฐบาลไทยได้ขีดเส้นตายว่า สหรัฐอเมริกาต้องถอนกำลังทหารออกจากประเทศไทยให้หมดภายใน 18 เดือน และการชุมนุมประท้วงครั้งนี้นับว่าเป็นการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดหลังจาก[[เหตุการณ์ 14 ตุลา]] เมื่อ[[พ.ศ. 2516| 2 ปีก่อน]]
 
รัฐบาลไทย โดย [[หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช]] [[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]]ได้กระทำการตอบโต้สหรัฐอเมริกา ด้วยการขอให้ทางการสหรัฐฯทำหนังสือขอโทษมาอย่างเป็นทางการ และจะมีการพิจารณาทบทวนข้อตกลงต่าง ๆ ระหว่างกัน และ พลตรี [[ชาติชาย ชุณหะวัณ]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีคำสั่งเรียกตัว นาย[[อานันท์ ปันยารชุน]] เอกอัครราชอัครราชทูตไทยประจำประเทศสหรัฐอเมริกา กลับด่วน
 
ที่สุดเหตุการณ์จบลงในวันที่ [[19 พฤษภาคม]] หลังจากการชุมนุมยืดเยื้อนานถึง 3 วัน เมื่ออุปทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้ส่งสาสน์แสดงความเสียใจต่อการกระทำดังกล่าว ต่อมา ในเดือน[[ธันวาคม]] ปีเดียวกัน [[เครื่องบินรบ]]รุ่น [[เอฟ-4 แฟนทอม 2|F-4]] ลำสุดท้ายก็ได้บินออกจากสนามบินกองทัพอากาศอุดรธานี ถือเป็นการปิดฉากการประจำการทางทหารของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยอย่างเด็ดขาด<ref>กระแสต้าน "จักรวรรดินิยมอเมริกัน" ''นักศึกษาชุมนุมประท้วงการใช้ฐานทัพอากาศในไทย โดยไม่ขออนุญาต'' หน้า 149, ''กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554'' โดย [[ชาญวิทย์ เกษตรศิริ]] ISBN 978-974-228-070-3</ref> <ref>Walter LaFeber, ''America, Russia, and the Cold War, 1945-1990'', (McGraw - Hill, Inc., 1991), pp. 281 – 282.</ref>