ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 32:
เมื่อครั้นถึงกำหนดการเดินทางกลับ[[นครเชียงใหม่]] เจ้าน้อยจึงให้มะเมียะปลอมตัวเป็นผู้ชายติดตามขบวนเพื่อกลับไปยังเชียงใหม่ ในฐานะสหายหนุ่มชาวพม่า แต่ในอีกทางหนึ่งเจ้าแก้วนวรัฐ ได้หมั้นหมายเจ้าหญิงบัวนวล ธิดาของเจ้าสุริยวงษ์ (คำตัน สิโรรส) ไว้ก่อนนั้นแล้ว เจ้าน้อย จึงต้องให้มะเมียะหลบซ่อนตัวอยู่ในคุ้มเป็นระยะเวลานาน ด้วยความกังวลใจว่าหากตนได้ขึ้นครองราชย์เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่แล้ว จะเกิดอึดอัดใจแก่ประชาชนที่จะต้องมีแม่เมืองเป็นสตรีชาวต่างชาติ ประกอบกับสถานการณบ้านเมืองขณะนั้นน่าวิตกมาก เนื่องจากมหาอำนาจอังกฤษกำลังแผ่อิทธิพลไปทั่วดินแดนในคาบสมุทร[[เอเซียตะวันออกเฉียงใต้]] หากมีบุคคลอื่นรู้ว่ามีสาวชาวพม่าหลบซ่อนตัวอยู่ในคุ้มอุปราช (เจ้าแก้วนวรัฐ ดำรงอิสริยยศเป็น เจ้าอุปราช) อาจจะเป็นชนวนให้เกิดปัญหาทางการเมืองได้ จากนั้นนางมะเมียะ จึงถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศพม่า
 
จากนั้นเจ้าน้อยศุขเกษม ได้เข้าพิธีสมรสกับเจ้าหญิงบัวชุม ณ เชียงใหม่ และทรงตรอมใจกับการพลัดพรากจากหญิงอันเป็นที่รัก คือ นางมะเมียะ และสิ้นชีพิตักษัยด้วยโรคเส้นประสาทพิการเรื้อรัง เมื่อวันที่ [[20 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2456]]<ref name=com/> โดยมีพิธีปลงพระศพ ในวันที่ [[31 สิงหาคม]]ของปีเดียวกัน
 
==ราชตระกูล==