ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุขาวดี (นิกาย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Chinese temple bouddha.jpg|thumb|275px|[[พระอมิตาภพุทธะ]]และ[[พระโพธิสัตว์]] 2 องค์คือ[[พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์]] (ขวา) และ[[พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์]] (ซ้าย) ในวัดใกล้กับเมือง Meinong, มณฑลเกาสง, [[ไต้หวัน]]]]
 
'''นิกายสุขาวดี''' ({{zh-all|t=淨土宗|s=净土宗|p=Jìngtǔzōng}}; {{lang-ja|浄土教}}, ''Jōdokyō''; {{lang-ko|정토종}}, ''jeongtojong''; {{lang-vi|Tịnh Độ Tông}}) เป็น[[นิกายในศาสนาพุทธ]]ที่ตั้งขึ้นครั้งแรกใน[[ประเทศจีน]] แม้จะมีกำเนิดมาจากพระสูตรที่มาจาก[[อินเดีย]] แต่ในอินเดียไม่ได้เป็นนิกายเอกเทศ ตั้งขึ้นโดย[[พระฮุ่นเจียง]]เมื่อพุทธศตวรรษที่ 9 สมัย[[ราชวงศ์ตั้งจิ้น]] คำสอนของท่านเน้นการเจริญพุทธสติถึง[[พระอมิตาภพุทธะ]]และปรารถนาไปเกิดในแดนสุขาวดี ในจีนเรียกนิกายนี้ว่า '''นิกายจิ้งถู่'''
 
== คัมภีร์ ==
บรรทัด 28:
ก่อตั้งโดย[[พระโฮเน็ง]] เน้นให้ระลึกถึงอมิดาหรือพระอมิตาภะ เพื่อไปเกิดในเน็มบุสึ (พุทธเกษตร) ภายหลัง[[พระชินรัง]] ลูกศิษย์ของพระโฮเน็งได้ตั้ง[[นิกายโจโดชินชู]] (สุขาวดีที่แท้) ซึ่งถือว่าในพุทธเกษตรนั้นไม่มีการแบ่งแยกระหว่างคนดีและคนชั่ว สมาชิกของนิกายนี้ไม่จำเป็นต้องถือวินัยเป็นพิเศษ พระชินรังแต่งงานและทำให้เกิดระบบการสืบสกุลของพระในญี่ปุ่น ซึ่งต่อมาได้แพร่หลายไปยังนิกายอื่นด้วย
 
== ศาสดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของนิกายสุขาวดี ==
=== พระอมิตาภพุทธเจ้า ===
[[ไฟล์:Ushiku Daibutsu 2006.jpg|thumb|150px|[[พระอมิตาภพุทธเจ้า]]]]
[[พระอมิตาภพุทธะ]] แปลว่า พระผู้มีอายุกาลไม่มีประมาณ พระผู้มีแสงประภาสส่องสว่างไม่มีประมาณ เป็น[[พระธยานิพุทธะ]] 1 ใน 5 องค์ ประทับอยู่ทางตะวันตกของพุทธมณฑล พระกายสีแดงก่ำ เป็นต้นตระกูลของพระโพธิสัตว์ตระกูลปัทมะ หมายถึงปัญญาที่ทำให้มนุษย์รู้จักผิดชอบชั่วดี และเลือกปฏิบัติในทางที่ถูก สัญญลักษณ์คือดอกบัว พระพุทธเจ้าในตระกูลนี้ทั่วไปใช้บัวแดง พระโพธิสัตว์ปางดุใช้บัวขาว ภาพวาดของพระองค์มักวาดให้พระหัตถ์ยาวหมายถึงความสามารถที่จะเอื้อมพาสรรพสัตว์เข้าสู่แดน[[สุขาวดี]] มีพระชิวหายาวตระหวัดได้รอบโลกหมายถึงความสามารถในการแสดงธรรมได้ทั่วโลก ทรงนกยูงเป็นพาหนะนับถือส่วนใหญ่ในพุทธศาสนานิกายมหายาน ควบคู่กับพระอวโลกิเตศวรหรือเจ้าแม่กวนอิมในภาษาไทยยามใกล้จะสิ้นใจพระอมิตาภพุทธเจ้า พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ จะเสด็จมารับไปยังแดนสุขาวดี ดังเช่นหลวงจีนพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ไม่ปรากฏในนิกายมหายานนิยมท่องกัน[[เถรวาท]] เพราะเป็นความเชื่อส่วนนิกาย ไม่ได้บันทึกไว้ในพระไตรปิฏกไม่เคยกล่าวถึง
 
=== พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ ===
[[ไฟล์:Mahasthamaprapta.jpg|thumb|150px|[[พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์]]]]
[[พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ ]]เป็น[[พระโพธิสัตว์]]ที่ถือเป็นอัครสาวกของพระอมิตาภะเช่นเดียวกับพระอวโลกิเตศวร แต่มีคนรู้จักน้อยกว่า ถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ด้านกำลัง สะท้อนพลังจิตที่เข้มแข็งของพระพุทธเจ้า ใกล้เคียงกับความหมายของ[[พระสมันตภัทรโพธิสัตว์]] ต่อมามีการสร้างพระโพธิสัตว์องค์ใหม่ เรียกว่า[[พระวัชรปาณีโพธิสัตว์]] แยกออกมาจากพระมหาสถามปราปต์ ความนิยมนับถือพระมหาสถามปราปต์จึงลดลง ความหมายต่างๆ ของท่านได้หลอมรวมกลายเป็นส่วนหนึ่งของพระโพธิสัตว์องค์อื่นๆอื่น ๆ ไป
 
=== พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (เจ้าแม่กวนอิม) ===
[[ไฟล์:Guan Yin of the South Sea of Sanya.JPG|thumb|150px|[[เจ้าแม่กวนอิม]]]]
กวนอิม ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กวนอิน ตามสำเนียงกลาง (จีน: 觀音; พินอิน: Guān Yīn; อังกฤษ: Guan Yin) พระโพธิสัตว์ ของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับ[[พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรโพธิสัตว์]]ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในอินเดีย และได้ผสมผสานกับความเชื่อพื้นถิ่นดั้งเดิมของจีน คือตำนานเรื่องพระธิดาเมี่ยวซ่าน ก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่างๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
 
== อ้างอิง ==
* ประสงค์ แสนบุราณ. พระพุทธศาสนามหายาน. กทม.โอเดียนสโตร์. 2548
* ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. ศาสนาและปรัชญาในจีน ทิเบต และญี่ปุ่น. กทม. สุขภาพใจ. 2545
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://http://www.mahaparamita.com/ มหาปารมิตาดอตคอม]
* [http://www.jodo.org/ Jōdo Shū Buddhism official website]
เส้น 58 ⟶ 59:
* [http://www.abrc.org.au/eBooks/In%20One%20Lifetime%20Pure%20Land%20Budhism.pdf In one Lifetime: Pure Land Buddhism]
* [http://www.amtb-ottawa.ca/eng/links.html Here are some links to other Amitabha websites around the world]
 
[[หมวดหมู่:นิกายในศาสนาพุทธมหายาน|สุขาวดี]]
{{เรียงลำดับ|สุขาวดี}}
[[หมวดหมู่:นิกายในศาสนาพุทธมหายาน|สุขาวดี]]
{{Link GA|zh}}