ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 86:
 
::<math>\mathrm{2\ H_2 O_2 (aq) \longrightarrow \ 2\ H_2 O (l) + O_2 (g)}</math>
 
นอกจากนี้ หากมีส่วนผสมของโลหะ โดยเฉพาะ[[เหล็ก]] [[แมงกานีส]] [[ทองแดง]] จะทำให้เกิดการสลายตัวเร็วยิ่งขึ้น
 
วิธีการเก็บรักษาไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ให้เก็บไว้ในที่มืด หรือในภาชนะสีน้ำตาลเข้ม ภาชนะทึบแสง และในที่เย็น นอกจากนี้อาจเติมสารบางชนิดลงไปเล็กน้อย เช่น [[แอลกอฮอล์]] เพื่อป้องกันไม่ให้สลายตัวเร็วเกินไป<ref name="rmut"/>
 
ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ยังมีคุณสมบัติเป็นสารไวไฟ ซึ่งภาชนะบรรจุสารอาจระเบิดได้เมื่อสัมผัสกับอุณหภูมิสูง ในกรณีเกิดเพลิงไหม้ให้ใช้น้ำฉีดเป็นฝอย หรืออาจใช้ผงเคมีแห้ง [[โฟม]] หรือ[[คาร์บอนไดออกไซด์]]<ref name="กรมควบคุมมลพิษ">[http://msds.pcd.go.th/searchName.asp?vID=44 ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์], [[กรมควบคุมมลพิษ]]</ref>
 
==การเตรียม==
ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์สามารถเตรียมได้<ref name="photharam">บุญยิ่ง จันทร์เปี่ยม, [https://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:otmbAlWCVHsJ:www.technicphotharam.com/research/research-2/research-2.doc+%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%94%E0%B9%8C&hl=th&gl=th&pid=bl&srcid=ADGEESiHP9MLzFDGcLmDntGEWnjYUVzSxiY6lgxYshLGlVfV6AweETqTj2esjkZmuU6Eyeb9ltadrY769cDE_p7rzMWXplMy5wzqyzigvmL9ekVi2jVt31tFgfMSb24DGZOdVHPsabNF&sig=AHIEtbSJvpsRv8h8mDQcjK2HnCe7V1rSwQ ''เคมีประยุกต์ในงานสิ่งทอ''], วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม</ref> จากปฏิกิริยาระหว่าง[[โซเดียมเพอร์ออกไซด์]]กับ[[กรดซัลฟิวริก]]เจือจางที่เย็นจัด ดังสมการ
::<math>\mathrm{ Na_2 O_2 (aq) + H_2 SO_4 (aq) \longrightarrow \ Na_2 SO_4 (aq) + H_2 O_2 (aq)}</math>
 
หรือเตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่าง[[แบเรียมเพอร์ออกไซด์]]กับกรดซัลฟิวริกเจือจางที่เย็นจัด ดังสมการ
::<math>\mathrm{ BaO_2 (aq) + H_2SO_4 (aq) \longrightarrow \ BaSO_4 (s) + H_2O_2 (aq)}</math>
 
==ประโยชน์==
[[ไฟล์:Dangerous goods transport.jpg|thumb|left|ถังบรรจุไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์เพื่อใช้ในการขนส่ง]]
โดยทั่วไปไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์มักทำให้อยู่ในรูปสารละลาย[[ความเข้มข้น]]ตั้งแต่ 3–90% มักใช้เป็นสารฟอกสีในอาหาร สารทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเชื้อ ใช้ฆ่าเชื้อโรคบนผิวหนัง ใช้ล้างภาพสีน้ำมันเก่า ๆ ให้สดใสขึ้น ทำน้ำยาบ้วนปาก และไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์เข้มข้น 90% สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อน[[จรวด]]<ref name="moph">[http://narcotic.fda.moph.go.th/welcome/?p=1553 ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ Hydrogen peroxide], กองควบคุมวัตถุเสพติด [[สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา]].</ref>
 
การใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ล้างแผล จะใช้ในฐานะยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อน ๆ เฉพาะที่ เช่น บาดแผลเล็ก ๆ แต่อาจเกิดผลข้างเคียงจากความเป็นพิษ (Cytotoxic) ซึ่งรบกวนการสมานแผล ทำให้แผลแสบ และระคายเคือง ดังนั้นจึงควรใช้สารชนิดนี้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น<ref>[http://www.anblab.com/catalog.php?idp=79 น้ำยาล้างแผล]</ref>
 
นอกจากนี้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ยังสามารถใช้ฟอกเส้นผม โดยการนำสารชนิดนี้ไปผสมกับสารชนิดอื่น จนให้สารละลายผสมมีส่วนผสมอยู่ในน้ำยาโกรกฤทธิ์เป็นด่าง แล้วนำมาฟอกผม จะทำให้เส้นผมมีสีอ่อนลง ง่ายต่อการเปลี่ยนสีผม และยังทำให้สีที่ต้องการย้อมติดกับผมได้ ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ยังมีส่วนผสมอยู่ในน้ำยาโกรกผม ซึ่งในยาย้อมผมไม่ควรมีไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์เกิน 6% แต่ที่พบในท้องตลาดมีตั้งแต่ 3–40% ซึ่งหากใช้โดยไม่มีการเจือจางจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองหนังศีรษะ และเส้นผมอาจถูกทำลายได้<ref>[http://www.pharm.su.ac.th/cheminlife/cms/index.php/product-name/product-name-english/443-drug-hair-dye.html สารเคมีในชีวิตประจำวัน – น้ำยาย้อมผม], ภาควิชาเภสัชเคมี [[คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะเภสัชศาสตร์]] [[มหาวิทยาลัยศิลปากร]].</ref>
 
นอกจากนี้ยังใช้เป็นสารฟอกขาวในภาคอุตสาหกรรมฟอกย้อม ซึ่งสามารถใช้ได้ดีกับเส้นใยเกือบทุกชนิด พร้อมทั้งเกิดอันตรายต่อเส้นใยน้อยที่สุด ทำให้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ตัวฟอกขาวสากล" (Universal bleaching agent) การฟอกขาวด้วยไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ต้องใช้[[โซเดียมซิลิเกต]] (Na<sub>2</sub>SiO<sub>3</sub>) ควบคุมการสลายตัว นอกจากใช้ฟอกเส้นใยแล้ว ยังใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ฟอก[[งา (อวัยวะ)|งา]]ช้าง และขนนก และอาจใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์เป็นสารแอนติคลอร์ ({{lang-en|antichlor}}) ซึ่งใช้ทำลายคลอรีนที่ตกค้างบนเส้นใยหลังผ่านการใช้คลอรีนฟอกขาว<ref name="photharam"/> มีสมการดังนี้
 
::<math>\mathrm{ \ Cl_2 (g) + H_2 O_2 (aq) \longrightarrow \ 2\ HCl (aq) + O_2 (g)}</math>
 
==อันตรายต่อสุขภาพอนามัย==