ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทำลายป่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tanyarat Komol (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tanyarat Komol (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
== สถานการณ์ทรัพยากรป่าไม้ ==
การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่องในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมาทำให้ประเทศไทยสูญเสีย พื้นที่ป่าไปแล้วประมาณ 67 ล้านไร่ หรือเฉลี่ยประมาณ 1.6 ล้านไร่ต่อปี กล่าวคือ ปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าอยู่ถึงร้อยละ 53.3 ของพื้นที่ประเทศ หรือประมาณ 171 ล้านไร่ และลดลงมาโดยตลอดจนในปี พ.ศ. 2532 ประเทศไทยเหลือพื้นที่ป่าเพียงร้อยละ 27.95 ของพื้นที่ทั้งหมด หรือประมาณ 90 ล้านไร่ รัฐบาลในอดีตได้พยายามจะรักษาพื้นที่ป่าโดยประกาศยกเลิกสัมปทานการทำไม้ในป่าบกทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2532 แต่หลังจากยกเลิกสัมปทานป่าไม้ สถานการณ์ดีขึ้นในระยะแรกเท่านั้น ต่อมาการทำลายก็ยังคงเกิดขึ้นไม่แตกต่างจากสถานการณ์ก่อนยกเลิกสัมปทานป่าไม้เท่าใดนัก โดยพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกก่อนการยกเลิกสัมปทาน (ปี พ.ศ. 2525-2532) เฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 1.2 ล้านไร่ และพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกหลังการยกเลิกสัมปทาน (ปี พ.ศ. 2532-2541) เฉลี่ย 1.1 ล้านไร่ต่อปี
<center>'''พื้นที่ป่าก่อนและหลังการยกเลิกสัมปทานป่าไม้'''<ref>สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://http://www.tdri.or.th/th/php/] </ref>
{| class="wikitable" border="1" style="font-size:90%;"
! รายการ !! พื้นที่ป่า (ล้านไร่) / !! พื้นที่ถูกทำลายเฉลี่ยต่อปี (ล้านไร่)
บรรทัด 35:
== ปัญหาทางสิ่งแวดล้อม ==
'''ทางด้านชั้นบรรยากาศ'''
การตัดไม้ทำลายป่ามีส่วนทำให้เกิด[[ปรากฏการณ์โลกร้อน|ภาวะโลกร้อน]]และอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของ[[ปรากฏการณ์เรือนกระจก]] การตัดไม้ทำลายป่าในเขตร้อนมีส่วนประมาณร้อยละ 20 ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบนโลก ตามที่กล่าวโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ([http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/climate-and-energy/governments/united-nations/ IPCC]) 1 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตร้อน ทว่าการคำนวณเมื่อไม่นานมานี้เสนอแนะว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า (ยกเว้นการปล่อยก๊าซในดินพรุ) มีส่วนร้อยละ 12 จากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ โดยมีขอบเขตอยู่ในร้อยละ 6-17
 
'''ทางด้านอุทกวิทยา'''
[[ไฟล์:Water cycle.png|thumb|400px|ภาพแสดงวัฏจักรของน้ำ]]
การตัดไม้ทำลายป่ามีผลต่อ[[วัฏจักรของน้ำ]] ต้มไม้สกัดน้ำบาดาลผ่านทางรากและปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ เมื่อใดที่พื้นที่ป่าบางส่วนถูกทำลาย ต้นไม้จะไม่คายน้ำอีกต่อไป มีผลทำให้สภาพอากาศแห้งมากขึ้น การตัดไม้ทำลายป่าลดปริมาณของน้ำในดินและน้ำบาดาล เช่นเดียวกับความชื้นในชั้นบรรยากาศ การตัดไม้ทำลายป่าลดการเกาะตัวของดิน ทำให้เกิดผลที่ตามมาคือหน้าดินพังทลาย น้ำท่วม และ[[โคลนถล่ม|ดินถล่ม]] ผืนป่าช่วยเพิ่มพูนการดูดซึมน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำในบางพื้นที่
พื้นที่ป่าที่มีขนาดเล็กลงมีความสามารถน้อยลงในการดักจับ ดูดซับ และปลดปล่อยปริมาณน้ำฝน แทนที่สกัดกั้นปริมาณน้ำฝนซึ่งจะซึมผ่านไปยังระบบ[[น้ำบาดาล]] พื้นที่ป่าที่ถูกทำลายจะเป็นตัวการให้เกิดน้ำผิวดิน ซึ่งจะเคลื่อนที่ได้ไวกว่าการไหลของน้ำบาดาล การเคลื่อนที่ที่เร็วกว่าของน้ำผิวดินอาจทำให้เกิด[[น้ำป่า|น้ำท่วมฉับพลัน]]และเกิดน้ำท่วมเฉพาะพื้นที่รุนแรงกว่าที่เกิดกับพื้นที่ที่มีผืนป่าปกคลุม
การตัดไม้ทำลายป่ามีส่วนในการลดอัตราการระเหยและการคายน้ำ ซึ่งทำให้ความชื้นในชั้นบรรยากาศน้อยลง ในบางกรณีส่งผลกระทบต่อระดับปริมาณน้ำฝน ตามทิศทางของลมที่พัดมาจากพื้นที่ที่ป่าถูกทำลาย เนื่องจากป่าที่อยู่ตามทิศทางของลมไม่ได้นำน้ำกลับมาหมุนเวียนเพื่อใช้ใหม่ แต่น้ำได้กลายสภาพไปเป็นน้ำผิวดินและไหลกลับไปยังมหาสมุทรโดยตรง จากผลการศึกษาหนึ่งในขั้นต้นพบว่า ในพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายทางตอนเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยในแต่ละปีลดลง 1 ใน 3 ในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ 1980 ต้นไม้และพืชโดยทั่วไปส่งผลกระทบอย่างมากต่อวัฏจักรของน้ำ
 
เส้น 48 ⟶ 49:
'''ทางด้านนิเวศวิทยา'''
การตัดไม้ทำลายป่าส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพเสื่อมถอย การตัดและทำลายพื้นที่ที่ป่าไม้ปกคลุมทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ป่าไม้เกื้อหนุนความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า นอกเหนือจากนั้นป่าไม้ยังเป็นแหล่งที่เอื้อต่อการอนุรักษ์พืชจำพวกยารักษาโรค ด้วยเหตุผลที่เขตชีวชาติในป่าเป็นแหล่งที่หาสิ่งอื่นมาทดแทนไม่ได้ของตัวยาแบบใหม่ ๆ (เช่น แท็กซอล) การตัดไม้ทำลายป่าอาจเป็นการทำลายความหลากหลายทางพันธุกรรม (เช่น ภูมิต้านทานของพืชผล) โดยไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
 
== อ้างอิง ==
{{เริ่มอ้างอิง}}
* [http://www.asiaplantationthailand.com/deforestation.html]
* วรรณวนาลัย ไพสณฑ์ศรลักษณ์ และ พิทักษ์พนาลี วนศรีเสริมสยาม. 2524. '''รูปแบบของการทำลายป่าทีสำคัญ''', น. 16-20. ใน ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ ทุ่งพระเมรุ-แสนแสบ-ประสานมิตร-บางเขน, บรรณาธิการ. '''ป่าไม้จะอยู่ยั้งยืนยง'''. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพมหานคร.
* [http://www.thaienvimonitor.net/Concept/priority1.htm]
{{จบอ้างอิง}}