17,105
การแก้ไข
ล (โรบอต เพิ่ม: vi:Danh sách dòng tu Công giáo) |
พุทธามาตย์ (คุย | ส่วนร่วม) ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
'''คณะนักบวชคาทอลิก''' ({{lang-en|Catholic religious order/institution}}) คือองค์กรของชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้[[คริสตจักร]][[โรมันคาทอลิก]]อย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็น'''คณะนักบวช''' (
นอกจากจะเรียกว่าคณะนักบวชแล้ว ราชบัณฑิตยสถานยังบัญญัติให้เรียกว่า '''คณะนักพรต'''และ'''คณะนักบวชถือพรต''' ได้ โดยถือว่ามีความหมายเดียวกัน
== ประเภทของคณะ ==
คณะนักบวชคาทอลิกแบ่งได้เป็นหลายประเภทตาม[[พระพรพิเศษ]] [[จิตภาพ]] และ[[พันธกิจ]] ซึ่งแต่ละคณะมีแตกต่างกัน โดย
* [[คณะนักบวชอารามิก]] (monastic order) เช่น [[คณะเบเนดิกติน]] [[คณะคาร์ทูเซียน]] [[คณะซิสเตอร์เชียน]]
* [[คณะนักบวชภิกขาจาร]] (mendicant order) เช่น [[คณะฟรันซิสกัน]] [[คณะดอมินิกัน]] [[คณะออกัสติเนียน]] [[คณะคาร์เมไลท์]]
* [[คณะนักบวชธรรมทูต]] (missionary order) เช่น [[คณะ
* [[คณะนักบวชการสอน]] (teaching order) เช่น [[คณะภราดาเซนต์คาเบรียล]] [[คณะซา
== การเข้าคณะนักบวช ==
ชายหรือหญิงที่ปรารถนาจะเข้าเป็นนักบวชไม่ว่าสังกัดในคณะใด ต้องติดต่อกับคณะนั้น โดยทั่วไปนักบวชจะต้องปฏิญาณตน 3 ข้อเป็นพื้นฐาน<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน"/> คือ 1. เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา (คืออธิการคณะ) 2. ถือโสดตลอดชีวิต 3. ไม่ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
เมื่อตัดสินใจเข้าคณะ ผู้สมัครจะต้องรับการอบรมในฐานะ'''โปสตูลันต์''' (Postulant) เพื่อฝึกการปฏิบัติศาสนกิจเป็นเวลา 6 เดือน และเป็น'''โนวิซ''' (Novice) อีกอย่างน้อย 2 ปี เมื่อครบแล้วจึงขอปฏิญาณตนเป็นสมาชิกของคณะ การปฏิญาณจะทำ 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการปฏิญาณเพื่อถวายตัวชั่วคราว ซึ่งจะกินเวลา 1-3 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วผู้สมัครมั่นใจและมีความพร้อมจะเป็นนักบวชได้ตลอดชีพก็จะทำการปฏิญาณตนอีกครั้งเพื่อถวายตัวตลอดชีพ<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน"/>
== ความแตกต่างระหว่างบาทหลวงกับนักบวช ==
'''[[บาทหลวง]]''' (priest) และ'''นักบวช''' (the religious) มีลักษณะแตกต่างกัน บาทหลวงคือ'''ชาย'''ที่ได้รับ[[ศีลอนุกรม]]
== คณะนักบวชคาทอลิกในประเทศไทย ==
คณะนักบวชคาทอลิกคณะแรกที่มาถึงสยามคือ[[คณะดอมินิกัน]]ถึงในปี พ.ศ. 2110 ตามด้วย[[คณะฟรันซิสกัน]]ในปี พ.ศ. 2125<ref>สหพันธ์อธิการเจ้าคณะนักบวชในประเทศไทย, ''นักบวชหญิงและชายในประเทศไทย'', พ.ศ. 2545, หน้า 42</ref> นอกจากนี้ก็มี[[คณะออกัสติเนียน]] และ[[คณะเยสุอิต]] คณะเหล่านี้มีบทบาทมากในการเผยแพร่นิกายคาทอลิกใน[[โรมันคาทอลิกในประเทศไทย#ประวัติการเผยแพร่#ยุคปาโดรอาโด|ยุคปาโดรอาโด]] จากนั้นมี[[คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส]]เป็นกลุ่มหลักที่เข้ามาดำเนินการเผยแพร่ศาสนาและก่อตั้ง[[มิสซังสยาม]]ได้เป็นผลสำเร็จ คณะนี้ได้วางรากฐาน[[คริสตจักร]][[โรมันคาทอลิกในประเทศไทย]]จนพัฒนามาเป็นคริสตจักรท้องถิ่นที่ปกครองและบริหารงานตนเองได้ในปัจจุบัน
ตลอดช่วงของการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ คริสตจักรคาทอลิกในประเทศไทยยังได้ก่อตั้งคณะนักบวชท้องถิ่นขึ้นมาช่วยเหลืองานของเขตมิสซัง เช่น [[คณะรักกางเขน]]ช่วยงานของคริสตจักรคาทอลิกใน[[เขตมิสซังจันทบุรี]] [[เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง]] และ[[เขตมิสซังอุบลราชธานี]] [[คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า]]ช่วยงานของคริสตจักรคาทอลิกใน[[เขตมิสซังกรุงเทพฯ]]และ[[เขตมิสซังเชียงใหม่]] นอกจากนี้ยังเชิญคณะนักบวชจากต่างประเทศเข้ามาด้วย เช่น [[คณะอุร์สุลิน]]และ[[คณะภราดาเซนต์คาเบรียล]]มาช่วยงานด้านการศึกษา [[คณะซาเลเซียน]]ช่วยงานด้านพัฒนาสวัสดิภาพเยาวชน [[คณะคามิลเลียน]]เน้นงานด้านการสาธารณสุข นอกจากงานสังคมสงเคราะห์ยังมี[[คณะนักบวชอารามิก]]ซึ่งเน้นวัตร[[การอธิษฐาน]]และ[[การเข้าฌาน]] ได้แก่ [[คณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า]]ซึ่งเปิดอารามแห่งแรกในปี พ.ศ. 2468 และ[[คณะกลาริส
ปัจจุบันอธิการเจ้าคณะนักบวชชายในประเทศไทยได้รวมกลุ่มกันเป็น'''ชมรมอธิการเจ้าคณะนักบวชชายแห่งประเทศไทย'''<ref>สหพันธ์อธิการเจ้าคณะนักบวชในประเทศไทย, 68-9</ref> ขณะที่อธิการิณีเจ้าคณะนักบวชหญิงก็ร่วมกันก่อตั้งเป็น'''ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะแห่งประเทศไทย'''<ref>[http://www.sistersinthai.org ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะแห่งประเทศไทยและลาว]</ref> ทั้งสององค์การรวมกันเป็น'''สหพันธ์อธิการเจ้าคณะนักบวชในประเทศไทย'''<ref>[http://www.catholic.or.th/events/news/news46/46p.html สหพันธ์อธิการเจ้าคณะนักบวชในประเทศไทยประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ 2/2009 ]</ref>
* [[มุขนายก]]
* [[บาทหลวง]]
* [[มุขมณฑล]]
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
[[หมวดหมู่:คณะนักบวชคาทอลิก|*]]
|