ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สนธิสัญญาเบอร์นี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 41:
== จุดประสงค์ของอังกฤษ ==
ในทางการเมือง อังกฤษต้องการให้ไทยช่วยรบกับพม่า และส่งยานพาหนะให้แก่อังกฤษ ตลอดจนต้องการให้สุลต่านไทรบุรีกลับไปครองเมืองดังเดิม และให้ไทยเลิกแผ่อำนาจลงไปใต้เมืองปัตตานี ส่วนในทางการค้า อังกฤษต้องการให้ไทยผ่อนปรนการผูกขาดการค้าและเรียกเก็บภาษีอาการในการค้า ให้เหมือนกับที่พ่อค้าไทยมีเสรีภาพทางการค้าเมื่อค้าขายกับอาณานิคมอังกฤษ<ref name="ชัย151">ชัย เรืองศิลป์. หน้า 151.</ref>
 
รัฐบาลสยาม ลงนามใน สนธิสัญญาเบอร์นี (Burney Treaty) กับอังกฤษ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2369 นับเป็นสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ฉบับแรกที่สยามได้ทำกับประเทศตะวันตก ในสมัยรัตนโกสินทร์
 
ทั้งนี้ ร้อยเอกเฮนรี เบอร์นี (Henry Burney) ทูตของอังกฤษ เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยาม ในปี 2368 ตรงกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยมีความประสงที่จะขอเปิดสัมพันธไมตรีกับสยาม และขอความสะดวกในการค้าได้โดยเสรี เขาต้องใช้เวลาถึง 5 เดือนจึงสามารถทำสนธิสัญญากับสยามได้สำเร็จ โดยจัดทำขึ้น 4 ภาษาได้แก่ ไทย อังกฤษ โปรตุเกส และมลายู
 
สนธิสัญญาเบอร์นีมีสาระสำคัญได้แก่ อนุญาตให้พ่อค้าสยามทำการค้ากับพ่อค้าอังกฤษได้อย่างเสรี รัฐบาลสยามจะเก็บภาษีจากพ่อค้าอังกฤษตามความกว้างของปากเรือ เจ้าพนักงานสยามมีสิทธิ์ลงไปตรวจสอบสินค้าของพ่อค้าชาวอังกฤษ และชาวอังกฤษที่เข้ามาค้าขายในประเทศสยามจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายสยามทุกประการ
 
การทำสนธิสัญญาเบอร์นีก่อให้เกิดการขยายตัวด้านการค้าต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในโครงสร้างเศรษฐกิจสยาม 2 ประการคือ ทำให้รัฐต้องปรับวิธีการหารายได้และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในรูปภาษีมากขึ้น และก่อให้เกิดการผลิตเพื่อการค้าส่งออกเพิ่มขึ้น
 
ในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 รัฐได้หันกลับมาใช้นโยบายการค้าผูกขาดอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นการละเมิดข้อตกลงในสนธิสัญญาเบอร์นี ก่อให้เกิดปัญหาทางการค้าระหว่างสยามกับอังกฤษ นำไปสู่การทำ สนธิสัญญาเบาริง (Bowring treaty) ในปี 2398 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งสยามต้องยอมรับระบบการค้าเสรีของอังกฤษในที่สุด
 
== การเจรจา ==