ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โลเคิลโฮสต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''โลเคิลโฮสต์''' ({{lang-en|localhost}} แปลตามศัพท์ว่า ''แม่ข่ายเฉพาะที่'') ในเร...
 
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''โลเคิลโฮสต์''' ({{lang-en|localhost}} แปลตามศัพท์ว่า ''แม่ข่ายเฉพาะที่'') ในเรื่อง[[เครือข่ายคอมพิวเตอร์]] หมายถึง[[ชื่อแม่ข่าย]]มาตรฐานที่กำหนดให้กับตำแหน่งของส่วนต่อประสานเครือข่าย[[วงย้อนกลับ]] เมื่อผู้ใช้ส่งข้อมูลไปยังโลเคิลโฮสต์ พวกเขาจะได้รับข้อมูลของตัวเองกลับมา หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองตัวมันเอง กลไกนี้มีประโยชน์สำหรับ[[โปรแกรมเมอร์]]เพื่อทดสอบระหว่าง[[การพัฒนาซอฟต์แวร์]] นอกจากนี้โลเคิลโฮสต์ก็เป็นชื่อที่สงวนไว้สำหรับ[[โดเมนระดับบนสุด]] ([[.localhost]]) ซึ่งสำรองไว้เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับการนิยามที่แคบกว่าของชื่อแม่ข่าย <ref>RFC 2606</ref>
 
โลเคิลโฮสต์ที่เป็นชื่อแม่ข่ายในระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ สามารถแปลงเป็น[[เลขที่อยู่ไอพี|เลขที่อยู่]][[ไอพีรุ่น 4]] ในรูปของบล็อกเลขที่อยู่ <tt>127.0.0.0/8</tt> หรือตามปกติใช้ <tt>127.0.0.1</tt> และเลขที่อยู่[[ไอพีรุ่น 6]] ก็คือ <tt>::1</tt> <ref>[http://www.dslreports.com/faq/11053 DSL Reports FAQ]</ref>
 
โลเคิลโฮสต์ถูกระบุให้ใช้เป็นชื่อแม่ข่ายของคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ๆ ถ้ามิได้กำหนดไว้ให้เป็นอย่างอื่น ตัวอย่างเช่น ระบบหนึ่งกำลังทำงานเป็นเครื่องแม่ข่าย[[เอชทีทีพี]]และมี[[เว็บเบราว์เซอร์]]ติดตั้งอยู่ในระบบนั้นด้วย ถ้าระบุ[[ยูอาร์แอล]] <tt><nowiki>http://localhost</nowiki></tt> ให้กับเว็บเบราว์เซอร์ เว็บเบราว์เซอร์จะแสดง[[โฮมเพจ]]ของ[[เว็บไซต์]]ที่ได้ติดตั้งลงในเครื่องนั้น ๆ เอง แสดงว่าเครื่องแม่ข่ายได้ถูกกำหนดค่าเพื่อให้บริการส่วนต่อประสานวงย้อนกลับด้วย การใช้ส่วนต่อประสานวงย้อนกลับก็ยังเลี่ยงการใช้งานฮาร์ดแวร์เครือข่าย การเชื่อมต่อบริการเครือข่ายที่ให้บริการบนเครื่องตัวเองตัวมันเองเช่น[[เซิร์ฟเวอร์]][[เกมคอมพิวเตอร์]] โดยใช้ที่อยู่วงย้อนกลับ จะเป็นภาระให้แก่ทรัพยากรเครือข่ายน้อยกว่า
 
เอกสาร[[มาตรฐานอินเทอร์เน็ต]]ชุด STD-2 (เช่น RFC 1700) ที่กำหนดโดย[[คณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต]] (ไออีทีเอฟ) ได้สงวนบล็อกเลขที่อยู่ <tt>127.0.0.0/8</tt> ไว้สำหรับใช้งานวงย้อนกลับ นั่นคือตั้งแต่ <tt>127.0.0.0</tt> จนถึง <tt>127.255.255.255</tt> <ref>RFC 1700, ''Assigned Numbers'', J. Reynolds, J. Postel, The Internet Society (October 1994)</ref> จนกระทั่งข้อกำหนดนี้ถูกปรับปรุงแยกออกมาโดย[[องค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต]] (ไอเอเอ็นเอ) ผ่านทางเว็บไซต์ขององค์การ <ref>[http://www.iana.org IANA website]</ref> เอกสารของไออีทีเอฟซึ่งออกมาภายหลังว่าด้วย ''การใช้งานพิเศษของเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4'' (RFC 3330) ก็ได้อธิบายถึงวิธีใช้บล็อกเลขที่อยู่ <tt>127.0.0.0/8</tt> สำหรับวงย้อนกลับ <ref>RFC 3330, ''Special-Use IPv4 Addresses'', IANA, The Internet Society (September 2002)</ref> เอกสารดังกล่าวจึงทำให้ข้อกำหนดของ[[นายทะเบียนอินเทอร์เน็ตประจำภูมิภาค]] (อาร์ไออาร์) หรือไอเอเอ็นเอตกไป และในท้ายที่สุด RFC 3330 ก็ถูกแทนที่ด้วยข้อกำหนดใหม่ RFC 5735