ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฦๅ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
เดิมตำราหลัก[[ภาษาไทย]]มักกำหนดให้ "ฦ" และ "ฦๅ" เป็นสระ ตามหลัก[[อักขรวิธี]]ใน[[ภาษาสันสกฤต]] แต่การใช้ "ฦๅ" ในภาษาไทยนั้น ใช้เป็นคำๆ หาได้ใช้อย่างสระเพื่อประสมกับ[[พยัญชนะ]]อย่างในสันสกฤตไม่ ดังนั้นในตำราภาษาไทยรุ่นใหม่ จึงไม่จัด ฦๅ เป็นสระ ส่วนทาง[[ภาษาศาสตร์]]นั้น ถือว่า ฦๅ เป็นพยางค์ที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย พยัญชนะ (ล) และสระ (อือ) จึงไม่ใช่เป็นสระหรือพยัญชนะ แต่โดยทั่วไป ในแผนผังอักษรไทย ก็ยังจำแนกไว้ตามแบบเดิม
 
ถึงแม้ภาษาสันสกฤตจะถือว่า ฦๅ (และ ฦ) เป็นสระตัวหนึ่ง ใช้ประสมกับพยัญชนะอื่นได้ ออกเสียงว่า “ลฺรี” (คือ ล ควบ ร) แต่ปรากฏอยู่น้อยคำ เช่น "ฦๅ" หมายถึง พระฦๅ เป็นมารดาของเหล่าทานพ, ชายาของไทตย เป็นต้น แต่ในคำศัพท์ภาษาไทย เท่าที่ปรากฏในพจนานุกรม เสียง ฦๅ มีใช้กับคำไทยโบราณเท่านั้น ซึ่งมีจำนวนน้อยคำ ใช้ในหนังสือเก่า และปัจจุบันไม่คำต่าง ๆ ที่เคยใช้เลย ฦๅ ได้เปลี่ยนไปใช้ [[ฤ]], [[ฤๅ]] หรือ "ลือ" แทน เช่น
* [เลื่อง]ฦๅ, ฦๅสาย, ฦๅชา, [เลื่องฦๅ]ลือ
* ฦๅชา → ฤชา, ลือชา
* ฦๅสาย → ฤๅสาย, ลือสาย
 
[[หมวดหมู่:อักษรไทย]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ฦๅ"