ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮอบบิท (หนังสือ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต แก้ไข: uk:Гобіт, або Туди і Звідти
Pubat (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดทันใจด้วยสจห.
บรรทัด 6:
| translator = [[สุดจิต ภิญโญยิ่ง]]
| image = TheHobbit FirstEdition.jpg
| image_caption = ภาพปก ''เดอะฮอบบิท'' <br />ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1937
| author = [[เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน]]
| illustrator =
บรรทัด 18:
| pub_date = {{flagicon|UK}} [[21 กันยายน]] [[พ.ศ. 2480]] <br />{{flagicon|Thailand}} [[พ.ศ. 2545]]
| copy_right = [[Tolkien Enterprise]]
| media_type =
| pages =
| isbn =
บรรทัด 26:
}}
 
'''เดอะฮอบบิท''' (ชื่อ[[ภาษาอังกฤษ]] "The Hobbit" หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "There and Back Again") เป็น[[นิยายแฟนตาซี]]สำหรับเด็ก ประพันธ์โดย[[เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน]] ในลักษณะกึ่งเทพนิยาย โทลคีนเขียนเรื่องนี้ในราวช่วงปลายทศวรรษที่ 1920 โดยเริ่มแรกเขาเพียงใช้เล่าเป็นนิทานสนุกๆ ให้ลูกฟัง กับใช้เล่นคำในภาษาต่างๆ ที่เขาสนใจ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษโบราณ นิยายเรื่องนี้ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศ[[อังกฤษ]] เมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1937
 
เหตุการณ์ในเรื่อง ''เดอะฮอบบิท'' อยู่ในยุคก่อนเกิดเหตุการณ์ใน''[[เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์]]'' เนื้อหาเกี่ยวกับการผจญภัยของ[[ฮอบบิท]]ที่ชื่อ[[บิลโบ แบ๊กกิ้นส์]] ไปยังดินแดนตะวันออกใน[[มิดเดิลเอิร์ธ]]กับเพื่อน ๆ [[คนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)|คนแคระ]] และ[[พ่อมด]]ชื่อ[[แกนดัล์ฟ]] ระหว่างทางเขาได้พบเรื่องแปลกประหลาดมากมาย จนในท้ายที่สุดได้ต่อสู้กับ[[มังกรในมิดเดิลเอิร์ธ|มังกร]][[สม็อก]] และได้รับทรัพย์สมบัติจำนวนมากกลับมา
บรรทัด 47:
== เบื้องหลังการประพันธ์และการตีพิมพ์ ==
=== ประวัติ ===
คำว่า "ฮอบบิท" เป็นชื่อที่โทลคีนคิดขึ้นมาเฉยๆ เมื่อคราวหนึ่ง ระหว่างที่เขาสอนอยู่ที่วิทยาลัยเพมโบรค (ช่วงทศวรรษ 1920) ขณะกำลังตรวจข้อสอบของนักศึกษาอันเป็นงานที่แสนจะน่าเบื่อหน่าย โทลคีนก็เขียนข้อความลงบนกระดาษคำตอบอันว่างเปล่าของนักศึกษาคนหนึ่งว่า "In a hole in the ground there lived a hobbit." แต่ก็ไม่ได้นึกอะไรมากไปกว่านั้น หลายปีต่อมาเขาจึงค่อยเขียนแผนที่ของธรอร์ วางเค้าโครงแผนที่ภูมิศาสตร์ของโลกแห่งนั้น และเริ่มแต่งเรื่องต่อในช่วงต้นทศวรรษ 1930 นิยายได้รับการตีพิมพ์ด้วยความบังเอิญเมื่อศิษย์และสหายผู้หนึ่งของโทลคีน คือ เอไลน์ กริฟฟิธ (Elaine Griffiths) ได้อ่านต้นฉบับในปี ค.ศ. 1936 เธอแนะนำให้ ซูซาน ดักแนล (Susan Dagnall) เพื่อนผู้หนึ่งที่ทำงานในสำนักพิมพ์ จอร์จ อัลเลนแอนด์ อันวิน ไปขอต้นฉบับจากโทลคีน ซูซานทำตามคำแนะนำนั้น และพบว่าตนประทับใจมาก ซูซานนำต้นฉบับไปให้ สแตนลี่ย์ อันวิน หุ้นส่วนสำนักพิมพ์พิจารณา อันวินให้ลูกชายของเขา เรย์เนอร์ อันวิน อายุ 10 ปี เป็นผู้อ่านทดสอบ แลกกับเงินค่าจ้าง 1 ชิลลิง ผลจากรายงานสั้นๆ ของเรย์เนอร์ทำให้หนังสือได้ตีพิมพ์ในเวลาต่อมา<ref name="biography">ฮัมฟรีย์ คาร์เพนเตอร์, ''J.R.R.Tolkien, A Biography'', สำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์คอลลินส์ ISBN 0-00-713284-0</ref>
 
[[ไฟล์:Hobbit cover.jpg|thumb|200px|ปกคลุมชั้นนอกของ ''เดอะฮอบบิท'' ฉบับปกแข็ง ของสำนักพิมพ์อัลเลนแอนด์อันวิน ปี ค.ศ. 1937 นำมาจากภาพวาดประกอบภาพหนึ่งของโทลคีน]]
 
=== การตีพิมพ์ ===
สำนักพิมพ์ จอร์จ อัลเลนแอนด์อันวิน ตีพิมพ์ ''เดอะฮอบบิท'' ครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1937 พร้อมภาพวาดประกอบแบบขาวดำหลายภาพที่โทลคีนเป็นผู้วาดเอง การพิมพ์ครั้งแรกมีจำนวน 1500 เล่ม และขายหมดในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้นพร้อมกับคำวิจารณ์ที่ตื่นเต้นและกระตือรือร้น<ref name="hobbit">[http://www.tolkienlibrary.com/booksbytolkien/hobbit/description.htm ''Books by J.R.R.Tolkien - The Hobbit''] จาก Tolkienlibrary.com</ref> อัลเลนแอนด์อันวินตีพิมพ์ซ้ำครั้งที่สองพร้อมภาพประกอบสีเพิ่มเติมในปลายปี 1937 ขณะเดียวกันสำนักพิมพ์ฮูตันมิฟฟลิน แห่งบอสตัน และ นิวยอร์ก ติดต่อขอตีพิมพ์ฉบับอเมริกันในช่วงต้นปี 1938 โดยมีภาพประกอบเป็นภาพสีสี่ภาพ หลังจากนั้นก็มีการพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้งเมื่อโทลคีนเริ่มต้นเขียนนิยายเรื่องต่อของ ''เดอะฮอบบิท'' และพบว่าจำเป็นต้องแก้ไขรายละเอียดบางอย่างใน ''เดอะฮอบบิท'' เพื่อให้สอดคล้องกับนิยายเรื่องใหม่ของเขา โดยเฉพาะเรื่องของ[[กอลลัม]]
 
ในฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก กอลลัมเป็นผู้เสนอให้ใช้แหวนของตนเป็นเดิมพันในการเล่นเกมทายปัญหากับบิลโบ แต่เมื่อ "แหวน" วงนั้นกลายเป็น "[[แหวนเอก]]" แหวนจึงจำเป็นต้องมีอิทธิพลต่อกอลลัมมากกว่านั้น ใน''[[เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์]]'' จึงเล่าว่า การเล่นเกมทายปัญหาใน ''เดอะฮอบบิท'' เวอร์ชันแรกเป็นแค่เรื่องโกหกของบิลโบ<ref>เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (1 เมษายน 1987), The Fellowship of the Ring, vol. 1, The Lord of the Rings, Boston: Houghton Mifflin, Prologue, ISBN 0-395-08254-4</ref> ส่วนเรื่องจริงคือเรื่องที่อยู่ใน ''เดอะฮอบบิท'' ฉบับปรับปรุงแก้ไข หรือฉบับเอดิชันที่สอง ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1951 ทั้งในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
 
ต่อมาในปี ค.ศ. 1965 สำนักพิมพ์เอซบุ๊คส์ ได้ตีพิมพ์ ''เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์'' ฉบับปกอ่อน โดยไม่ได้ขออนุญาต ทำให้สำนักพิมพ์ฮูตันมิฟฟลินและบัลเลนไทน์ เร่งให้โทลคีนมอบลิขสิทธิ์การตีพิมพ์ให้แก่พวกเขาเพื่อจะได้ควบคุมการพิมพ์จำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกาได้<ref>Rateliff, John D ''The History of the Hobbit. Part 2: Return to Bag-End''</ref> ''เดอะฮอบบิท'' จึงได้พิมพ์เป็นเอดิชันที่สามในปี ค.ศ. 1966 ซึ่งโทลคีนถือโอกาสปรับแก้คำบรรยายบางตอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาใน ''เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์'' และแนวคิดในเรื่อง ''[[ซิลมาริลลิออน]]'' งานเขียนสุดรักของเขาที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์<ref name="Annotated Hobbit" /> เช่น คำเรียก ''เอลฟ์'' ที่ยังปรากฏเป็น ''โนม (Gnome) '' ซึ่งโทลคีนใช้เรียกชาว[[โนลดอร์]] ในงานเขียนชุดแรกๆ ของเขา เป็นต้น
 
''เดอะฮอบบิท'' ปรับแก้เป็นเอดิชันที่สี่เมื่อปี ค.ศ. 1978 และเอดิชันที่ห้าเมื่อปี ค.ศ. 1995 อย่างไรก็ดี ''เดอะฮอบบิท'' ฉบับพิมพ์ในปัจจุบัน ก็ยังมีความแตกต่างกับ ''เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์'' อยู่อีกหลายส่วน เช่น การเรียก ''[[กอบลิน]]'' ใน''เดอะฮอบบิท'' ซึ่งหมายถึง ''[[ออร์ค (มิดเดิลเอิร์ธ)|ออร์ค]]'' ใน ''เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์'' ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเดิมทีโทลคีนแต่งเรื่อง ''เดอะฮอบบิท'' ด้วยตั้งใจให้เป็นนิทานเด็ก จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับปกรณัมของเขาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น<ref name="biography" /> และได้มีการปรับแก้เนื้อหา''เดอะฮอบบิท''ให้สอดคล้องกับปกรณัมของเขามากขึ้นก็เมื่อเขาเริ่มเขียนภาคต่อของ''เดอะฮอบบิท''นั่นเอง นอกจากนั้น ปกรณัมชุด[[มิดเดิลเอิร์ธ]]ของเขาเองก็มีการปรับปรุงแก้ไขอยู่ตลอดเวลาในช่วงชีวิตของเขา
 
=== แนวคิดในการประพันธ์ ===
บรรทัด 65:
เมื่อแรกเริ่ม ''เดอะฮอบบิท'' มีความเกี่ยวข้องกับโครงร่างปกรณัมชุด[[มิดเดิลเอิร์ธ]]ของโทลคีนแต่เพียงหลวมๆ โดยโทลคีนตั้งใจให้การผจญภัยของบิลโบ คือการหลุดเข้าไปในดินแดนจินตนาการมิดเดิลเอิร์ธ โดยมีจุดเชื่อมต่อแรกที่[[ริเวนเดลล์]] ฉากหลังในเรื่องนับแต่[[ภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธ|เทือกเขามิสตี้]] [[เมิร์ควู้ด|ป่าเมิร์ควู้ด]] หรือ[[ภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธ|เทือกเขาโลนลี่]] จึงเป็นฉากหลังอันเดียวกันกับ ''[[เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์]]'' และ ''[[ซิลมาริลลิออน]]'' ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่พบประวัติความเป็นมาของ [[ฮอบบิท]] ในโครงร่างปกรณัมชุดใหญ่ของโทลคีนมาก่อน จนเมื่อโทลคีนเริ่มเขียนนิยายเรื่องต่อจาก''เดอะฮอบบิท'' คือ ''เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์'' ความเกี่ยวพันระหว่างตัวละคร สิ่งของ และสถานที่ จึงค่อยๆ ถูกถักทอขึ้นจนเป็นโครงร่างอันแน่นแฟ้น เมื่อทิศทางของเรื่องเปลี่ยนไป โทลคีนจึงเกิดความต้องการจะเปลี่ยนแนวทางของเรื่อง''เดอะฮอบบิท'' ในฉบับปรับปรุงแก้ไข เขาตัดทอนคำพูดของผู้เล่าเรื่องออกไปหลายส่วน เพื่อให้รูปแบบของเรื่องมีความหนักแน่นมากขึ้น แต่ก็ยังคงมีหลงเหลืออยู่บ้าง<ref name="biography" />
 
สำหรับแรงบันดาลใจของโทลคีน นอกจากงานของวิลเลียม มอร์ริส แล้ว เขาได้นำชื่อตัวละครมาจากตำนานยุโรปเก่า ประกอบกับความรู้ด้านภาษาศาสตร์ของเขาเอง ตัวอย่างเช่น ชื่อของพ่อมด[[แกนดัล์ฟ]]และเหล่าคนแคระ นำมาจากบทกวีนอร์สโบราณเรื่อง "โวลุสปา" (Völuspá) จาก Elder Edda (รวมบทกวีนอร์สโบราณ) <ref>[http://www.houghtonmifflinbooks.com/features/lordoftheringstrilogy/lessons/two/handouts.jsp Tolkien's Middle-earth: Lesson Plans, Unit Two], Houghton Mifflin</ref> ส่วนภาพวาดและอักขระต่างๆ มีต้นกำเนิดจากตัวอักขระของแองโกล-แซกซอน เป็นต้น
 
=== การแปลเป็นภาษาอื่น ===
บรรทัด 71:
 
== กระแสตอบรับ ==
เมื่อ [[ซี. เอส. ลิวอิส]] ได้อ่านต้นฉบับเรื่องนี้ เขาได้เขียนบทวิจารณ์ชมเชยอย่างมากมายลงใน ''Times'' และ ''Times Literary Supplement''<ref name="69thHobbit" /> ทำให้เกิดกระแสตอบรับหนังสือในทางที่คึกคักอย่างยิ่ง จนหนังสือขายหมดเกลี้ยงในเวลาเพียงไม่ถึง 3 เดือน และได้พิมพ์ฉบับประกอบภาพสีจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาทันที หนังสือพิมพ์นิวยอร์กเฮอรัลด์ทริบูน (New York Herald Tribune) แห่งสหรัฐอเมริกา มอบรางวัลหนังสือเยาวชนยอดเยี่ยมประจำฤดูใบไม้ผลิ (Children's Spring Book Festival Award) ให้แก่โทลคีนเมื่อต้นปี ค.ศ. 1938<ref>[http://www.librarything.com/commonknowledge/search.php?q=New+York+Herald+Tribune%27s+Children%27s+Spring+Book+Festival+Award&exact=1&uid=4796f07e9f83b New York Herald Tribune's Children's Spring Book Festival Award 1938]</ref>
 
หนังสือ ''เดอะฮอบบิท'' ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกๆ กลายเป็นของมีค่าในวงการนักสะสม ฉบับพิมพ์ครั้งแรกในประเทศอังกฤษมีราคาไม่ต่ำกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐไม่ว่าหนังสือจะอยู่ในสภาพใด<ref>[http://news.bbc.co.uk/1/hi/england/norfolk/4045667.stm Hobbit fetches £6,000 at auction] จาก bbc.co.uk</ref> หนังสือในสภาพดีและมีลายเซ็นของผู้ประพันธ์เคยประกาศโฆษณาในราคาสูงกว่า 40,000 ดอลลาร์สหรัฐทีเดียว<ref name="hobbit" /> สถิติสูงสุดในการประมูลหนังสือ ''เดอะฮอบบิท'' ฉบับพิมพ์ครั้งแรกอยู่ที่ราคา 60,000 ปอนด์ (ประมาณ 120,000 ดอลลาร์สหรัฐ) <ref>[http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/england/7302101.stm ''Tolkien's Hobbit fetches £60,000''] จาก bbc.co.uk, 18 มีนาคม 2008</ref> นอกจากนี้ฉบับพิมพ์ครั้งอื่นๆ รวมถึงฉบับพิเศษวาระครบรอบปีต่างๆ ก็ยังเป็นที่นิยมเสาะหาในบรรดานักสะสมอยู่ตลอดมา<ref>[http://www.abebooks.com/docs/Community/Featured/hobbit-70.shtml ''The Hobbit Turns 70''] จาก Abebooks.com</ref>
 
สำหรับคำวิจารณ์จากสื่อต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นไปในทางที่ดี บทวิจารณ์จาก นิวยอร์กไทมส์ บอกว่า "โทลคีนมีพรสวรรค์อย่างน่าอัศจรรย์ในการตั้งชื่อและการเล่าเรื่อง เมื่อเราอ่านหนังสือจบ ก็จะรู้เรื่องราวทั้งหมดของฮอบบิท เอลฟ์ คนแคระ ตลอดจนถิ่นที่อยู่ของพวกเขาเป็นอย่างดีเหมือนกับที่เรารู้เรื่องราวในวัยเด็กของเราเอง"<ref>W. H. AUDEN, [http://www.nytimes.com/1954/10/31/books/tolkien-fellowship.html ''The Hero Is a Hobbit''], New York Times, 31 ตุลาคม 1954</ref> บทวิจารณ์จาก ซันเดย์ไทมส์ บอกว่า "ผู้อ่านหนังสือภาษาอังกฤษในโลกแบ่งออกได้เป็นสองพวก คือ พวกที่อ่าน ''เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์'' และ ''เดอะฮอบบิท'' แล้ว กับพวกที่กำลังจะอ่าน"<ref>[http://search.barnesandnoble.com/booksearch/isbninquiry.asp?z=y&ean=9780345339706&displayonly=REV/ บทวิจารณ์ใน Barnes and Noble]</ref> ขณะที่นิตยสารไทมส์ ลอนดอน บอกว่าหนังสือเล่มนี้ "ยอดเยี่ยมไม่มีที่ติ"<ref>[http://search.barnesandnoble.com/booksearch/isbnInquiry.asp?z=y&EAN=9780345339683&itm=4 รวมบทวิจารณ์หนังสือ จาก Barnes and Noble]</ref>
บรรทัด 79:
== การดัดแปลงไปยังสื่ออื่น ==
=== ละครเวที ===
เดือนมีนาคม ค.ศ. 1953 มีการนำเรื่อง ''เดอะฮอบบิท'' ไปแสดงเป็นละครเวทีที่โรงเรียนเซนต์มาร์กาเร็ต เมืองเอดินเบิร์ก นับเป็นการดัดแปลงหนังสือเรื่องนี้เป็นครั้งแรก<ref name="Annotated Hobbit" />
 
ปี ค.ศ. 2001 มาร์โจ คูเซลา อำนวยการแสดง[[บัลเล่ต์]]เรื่อง ''Hobitti'' (''เดอะฮอบบิท'' ในภาษาฟินนิช) โดยมีออลีส์ ซัลลิเนน เป็นผู้อำนวยเพลง จัดการแสดงที่โรงละครฟินนิชเนชันแนลโอเปรา<ref>[http://www.chesternovello.com/Default.aspx?TabId=2432&State_3041=2&workId_3041=13303 The Hobbit ('Hobitti'), Op.78, Aulis Sallinen.] จาก ChesterNovello.com</ref>
 
ปี ค.ศ. 2004 ''เดอะฮอบบิท'' ดัดแปลงเป็นบทละคร[[โอเปรา]]และเปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์ที่ประเทศแคนาดา หลังจากนั้นได้ตระเวนไปเปิดการแสดงในที่ต่างๆ ทั่วโลก และกำลังจะเปิดการแสดงที่ประเทศอเมริกาในฤดูใบไม้ผลิปี 2008 ที่โรงละครซาราโซตาโอเปรา ในเมืองซาราโซตา รัฐฟลอริดา คณะละครชุดนี้ได้รับรางวัล Wings Awards ซึ่งเป็นการประกวดการแสดงของละครเพลง ในปี 2004 รวม 3 รางวัลคือ นักแสดงยุวชนยอดเยี่ยม (ผู้แสดงเป็น[[กอลลัม]]), แต่งหน้ายอดเยี่ยม และเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม<ref>[http://huntsville.about.com/od/theatreanddance/a/2004wings.htm 2004 Wings Award Winners & Photos]</ref>
 
=== ละครวิทยุ ===
สถานีวิทยุบีบีซี โดย ไมเคิล คิลการ์ริฟ ดัดแปลง ''เดอะฮอบบิท'' เป็นบทละครวิทยุความยาว 8 ตอน (ตอนละครึ่งชั่วโมง) ออกอากาศตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1968 มี แอนโทนี่ แจ็คสัน เป็นผู้ให้เสียงบรรยาย พอล เดนแมน พากย์เป็น [[บิลโบ แบ๊กกิ้นส์]] และ เฮรอน คาร์วิค เป็น [[แกนดัล์ฟ]]
 
=== หนังสือเสียง ===
นิโคล วิลเลียมสัน ตัดทอนเรื่องให้สั้นลงและบันทึกเสียงอ่านจำหน่ายเป็นแผ่น LP 4 แผ่น ออกวางจำหน่ายในปี ค.ศ. 1974 โดย อาร์โกเร็คคอร์ด
 
''The Mind's Eye'' บริษัทวิทยุสัญชาติอเมริกัน จัดทำ ''เดอะฮอบบิท'' เป็นหนังสือบันทึกเสียง ออกวางจำหน่ายเป็นเทปคาสเซ็ตต์ 6 ม้วน ม้วนละ 1 ชั่วโมง ในปี ค.ศ. 1979
 
โรเบิร์ต อิงกลิส นักแสดงชาวอังกฤษจัดการแสดงเดี่ยวเรื่อง ''เดอะฮอบบิท'' การแสดงคราวนั้นทำให้สำนักพิมพ์เรคคอร์ดเดดบุ๊คส์ ทาบทามให้เขาไปให้เสียงอ่านหนังสือเสียงเรื่อง ''เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์'' ในปี ค.ศ. 1990 หลังจากนั้นอีก 1 ปีเขาได้ให้เสียงอ่านหนังสือเสียง ''เดอะฮอบบิท'' อีกกับสำนักพิมพ์เดิม<ref>[http://www.audiofilemagazine.com/RobInglis.html บทสัมภาษณ์โรเบิร์ต อิงกลิส] จาก audiofilemagazine.com</ref><ref>[http://www.elanorahts-p.schools.nsw.edu.au/zipweb/library4.html การแสดงเดี่ยวของโรเบิร์ต อิงกลิส] เรื่อง''เดอะฮอบบิท'' และเรื่องอื่นๆ ที่โรงเรียนประถม Elanora Heights</ref>
 
[[ไฟล์:The_Hobbit_DVD_cover.jpg|thumb|''เดอะฮอบบิท'' ฉบับภาพยนตร์การ์ตูน]]
=== รายการโทรทัศน์ ===
''เดอะฮอบบิท'' ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนโดย แรนคิน/บาส (Rankin/Bass) ออกฉายเป็นรายการโทรทัศน์ใน[[สหรัฐอเมริกา]]เมื่อปี ค.ศ. 1977 มีความยาวตลอดเรื่อง 78 นาที ปีเดียวกันนั้น บัวนาวิสต้าเร็คคอร์ด บริษัทในเครือของ[[ดิสนีย์]] ยังได้นำเพลงประกอบภาพยนตร์มาจัดทำเป็นแผ่น LP ออกจำหน่ายด้วย ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จค่อนข้างดี โดยได้เสนอชื่อเข้าชิง[[รางวัลฮิวโก]] สาขา Best Dramatic Presentation ในปี ค.ศ. 1978<ref>[http://www.thehugoawards.org/?page_id=41 The Hugo Awards: 1978 Hugo Awards]</ref> พร้อมกับเรื่อง [[สตาร์ วอร์ส]] แต่ไม่ได้รับรางวัล ต่อมาจึงชนะเลิศรางวัล Peabody Award ในปีเดียวกัน<ref>[http://www.imdb.com/title/tt0077687/awards Awards for ''The Hobbit (1977) '']</ref>
 
รายการเด็กใน[[สถานีโทรทัศน์บีบีซี]] ชื่อ ''Jackanory'' ดัดแปลงเรื่อง ''เดอะฮอบบิท'' เป็น[[รายการโทรทัศน์]]เมื่อปี ค.ศ. 1979<ref>"The Hobbit" [http://www.imdb.com/title/tt0771799/ ''Jackanory'' Internet Movie Database: ''Jackanory'', "The Hobbit" (1979)]</ref>
 
=== หนังสือภาพ ===
สำนักพิมพ์อิคลิพซ์คอมิกส์ ตีพิมพ์หนังสือภาพเรื่อง ''เดอะฮอบบิท'' เป็นหนังสือ 3 เล่มจบ ในปี ค.ศ. 1989 โดยมีชัค ดิกสัน และฌอน เดมมิง เป็นผู้เรียบเรียงและบรรยายเรื่องใหม่ วาดภาพประกอบโดยเดวิด เวนเซล ต่อมามีการพิมพ์ซ้ำโดยรวมเป็นเล่มเดียวโดยสำนักพิมพ์เดลเรย์บุ๊คส์ เมื่อปี ค.ศ. 2001
 
=== ภาพยนตร์ ===
วันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2007 มีการประกาศสร้างภาพยนตร์เรื่อง ''เดอะฮอบบิท'' โดย MGM และ[[นิวไลน์ ซีนีม่า]] ร่วมกับ[[ปีเตอร์ แจ็คสัน]] ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง ''[[ภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์|เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์]]''<ref>[http://www.cnn.com/2007/SHOWBIZ/Movies/12/18/film.thehobbit.ap/index.html "Peter Jackson to produce ''The Hobbit''"] จาก cnn.com</ref>
 
== อิทธิพลต่องานแขนงอื่น ==
บรรทัด 113:
 
=== ดนตรี ===
เกลนน์ ยาร์โบรห์ นักดนตรีโฟล์คชาวอเมริกัน ออกอัลบัมชุด "inspired by the Hobbit" และได้ร่วมงานกับ แรนคิน/บาส ในการทำเพลงประกอบภาพยนตร์การ์ตูน ''เดอะฮอบบิท'' ในปี ค.ศ. 1977<ref>บทสัมภาษณ์ Glenn Yarbrough [http://www.figures.com/databases/action.cgi?setup_file=lotrnews2.setup&category=lotr&topic=5&show_article=108 ''Looking back at the animated "Hobbit" and "R.O.T.K."'']</ref> เขายังได้ร่วมงานกับแรนคิน/บาส ในการทำเพลงประกอบภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง [[ภาพยนตร์เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (1980)|The Return of the King]] ในปี ค.ศ. 1980 ด้วย
 
ปี ค.ศ. 1999 วงดนตรี[[ร็อก]] ชื่อ "Hobbit" ออกอัลบัมเพลงเกี่ยวกับ ''เดอะฮอบบิท'' ชุด ''Two Feet Tall'' และในปี 2001 ออกชุด ''Rockin' The Shire'' รวมถึง ''All For The One'' ในปี ค.ศ. 2003 ซึ่งสร้างจาก ''[[เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์]]''<ref>[http://melo.pl/artysta/aid/128901 รวมอัลบัมของวง ''Hobbit'']</ref>
 
=== เกม ===
ระหว่างปี 1976-1977 ทีเอสอาร์ อิงค์ วางจำหน่ายเกมสงครามในลักษณะเกมไพ่พร้อมแผนที่ ซึ่งสร้างขึ้นเลียนแบบ [[สงครามห้าทัพ]] หลังจากนั้น ''เดอะฮอบบิท'' ได้กลายเป็นเกมกระดานอีกหลายเกม เช่น "The Lonely Mountain" (ค.ศ. 1984), "The Battle of Five Armies" (ค.ศ. 1984), and "The Hobbit Adventure Boardgame" (ค.ศ. 1997) ผลิตโดย Iron Crown Enterprises และปี ค.ศ. 2005 บริษัทเกมชื่อเกมส์เวิร์คชอป วางจำหน่ายเกมสงครามประกอบทีวี ชื่อ "Battle of Five Armies"
 
แต่เกมจากหนังสือที่มีชื่อเสียงระดับรางวัล คือเกม "The Hobbit" ของบีมซอฟต์แวร์ ในปี ค.ศ. 1982 ซึ่งได้รับรางวัล Golden Joystick Award for Strategy Game of the Year 1983<ref>Crashonline news [http://www.crashonline.org.uk/04/news.htm ''Playing the Game'']</ref> ผู้จัดจำหน่ายคือ Melbourne House ได้แถมหนังสือไปกับการจำหน่ายเกมด้วย
 
ปี ค.ศ. 2003 เซียร์ราเอ็นเตอร์เทนเมนท์ วางจำหน่ายเกมพีซีชื่อ ''The Hobbit'' สำหรับเล่นบนเครื่องวินโดวส์, เพลย์สเตชัน 2, Xbox และ นินเทนโด เป็นเกมที่คล้ายคลึงกับเวอร์ชันก่อนหน้านี้ซึ่งออกจำหน่ายเป็นเกมบอย<ref>[http://gamecube.gamezone.com/news/02_19_02_01_12PM.htm ''Sierra Entertainment, Inc. Announces Development of J.R.R. Tolkien's The Hobbit Videogame'']</ref>
 
=== การท่องเที่ยว ===