ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดแพร่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Earthpanot (คุย | ส่วนร่วม)
Nattapat toomtam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 193:
เมืองแพร่ เป็นเมืองเก่าเมืองหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย ประวัติการสร้างเมือง ไม่มีจารึกในที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ การศึกษาเรื่องราวของเมืองแพร่จึงต้องอาศัยหลักฐาน ของเมืองอื่น เช่น พงศาวดารโยนก ตำนานเมืองเหนือ ตำนานการสร้าง[[พระธาตุลำปางหลวง]] และ[[ศิลาจารึก]][[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]] เป็นต้น
:
เมืองแพร่มีมาตั้งแต่[[สมัยพุทธกาล]] ตำนานวัดหลวงกล่าวไว้ว่าประมาณ พ.ศ. ๑๓๗๑1371 พ่อขุนหลวงพล ราชนัดดาแห่งกษัตริย์น่านเจ้าได้อพยพ[[คนไทย]] ([[ไทยลื้อ]] ไทยเขิน) ส่วนหนึ่งจากเมือง[[เชียงแสน]] ไชยบุรี และเวียงพางคำ ลงมาสร้างเมืองบนที่ราบริมฝัง[[แม่น้ำยม]] ขนานนามว่า “เมืองพลนคร”
:
ตำนานสิงหนวัติกล่าวว่าเมืองแพร่เป็นเมือง ที่ปกครองโดยพญายี่บาแห่งแคว้น[[หริภุญไชย]] สันนิษฐานว่าเมืองแพร่และ[[จังหวัดลำพูน|เมืองลำพูน]]เป็นเมือง ที่สร้างขึ้นมาในระยะเวลาใกล้เคียงกันคียงกัน ซึ่งสอดคล้องกับ[[หลักศิลาจารึก]] [[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช|พ่อขุนรามคำแหง มหาราช]]หลักที่ 1 ด้านที่ ๔ บรรทัดที่ ๒๔24 - ๒๕25 ซึ่งจารึกไว้ว่า . “..เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพล เมืองน่าน เมือง…เมืองพลัวพ้นฝั่งของ เมืองชวา เป็นที่แล้ว…” ในข้อความนี้ เมืองแพล คือ เมืองแพร่ ศิลาจารึกนี้สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๑๘๒๖1826 จึงเป็น สิ่งที่ยืนยันถึงความเก่าแก่ ของเมืองแพร่ ว่าตั้งขึ้นมาก่อนเมืองเชียงใหม่ และเชื่อว่าเมืองแพร่ ได้ก่อตั้งขึ้นแล้วก่อนการตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ชื่อเดิมของเมืองแพร่ การก่อตั้งชุมชนหรือบ้านเมืองส่วนใหญ่ในภาคเหนือมักปรากฏ ชื่อบ้านเมืองนั้นในตำนาน เรื่องเล่าหรือจารึกตลอดจนหลักฐานเอกสารพื้นเมืองของเมืองนั้น ๆ แต่สำหรับเมืองแพร่นั้น แตกต่างออกไปเนื่องจากไม่มีหลักฐานที่เกี่ยวข้อง โดยตรงจึงมีที่มาของ ชื่อเมืองจากหลักฐานอื่นดังนี้ เมืองพล นครพลหรือพลรัฐนคร เป็นชื่อเก่าแก่ดั้งเดิมที่สุดที่พบในตำนานเมืองเหนือ ฉบับใบลาน พ.ศ. ๑๘๒๔1824 กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า เจ้าเมืองลำปางได้ส่งคน มาติดต่อเจ้านครพล ให้ไปร่วมงานนมัสการ และฉลองวัดพระธาตุลำปางหลวง และจากตำนาน พระธาตุลำปางหลวง ตอนหนึ่ง ได้กล่าวถึงเจ้าเมืองพล ยกกำลังผู้คนไปขุดหาพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุไว้ในพระธาตุ แต่ไม่พบ เมื่อศึกษาตำแหน่งที่ตั้งของนครพลตามตำนานดังกล่าว พบว่าคนเมืองแพร่ ปัจจุบัน ชื่อพลนครปรากฏเป็นชื่อวิหารในวัดหลวง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ โดยเชื่อว่าวัดนี้เป็นวัด ที่สร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองแพร่และเจ้าเมืองแพร่ให้ความอุปถัมภ์มา ตลอดจนหมดยุค การปกครองโดยเจ้าเมืองเมืองโกศัย เป็นชื่อที่ปรากฏในพงศาวดารเมืองเงิน ยางเชียงแสน ชื่อนี้ใช้เรียกเมืองแพร่ ในสมัยขอมเรืองอำนาจที่ชื่อเมืองในอาณาจักร ล้านนาเปลี่ยน เป็นภาษาบาลีตามความในยุคนั้น เช่น น่านเป็นนันทบุรี ลำพูนเป็นหริภุญไชย ลำปางเป็นเขลางค์นคร เป็นต้น
:
ชื่อ เวียงโกศัย น่าจะมาจากชื่อดอยที่เป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองแพร่คือ ดอยโกสิยธชัคบรรพต หมายถึง ดอยแห่งผ้าแพร เมืองแพล เป็นชื่อที่ปรากฏ ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชหลักที่ 1 ด้านที่ 4 โดยคำว่า แพล น่าจะมาจากศรัทธาของ ชาวเมืองที่มีต่อพระธาตุช่อแพร หรือช่อแฮที่สร้างขึ้น ภายหลังการสร้างเมืองต่อมาจึงได้เรียกชื่อ เมืองของตนว่า เมืองแพล
จังหวัดแพร่จากประวัติศาสตร์การสร้างวัดหลวง พุทธศักราช 1371 พญาพลเป็นผู้ครองนครแพร่ เดิมชื่อ เมืองพล หรือ พลนคร ในสมัยขอมเรืองอำนาจระหว่างปี พ.ศ. 1470-1560 พระนางจามเทวีแห่งหริภุญไชยเข้าครอบครองดินแดนแคว้นล้านนาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ โกศัยนคร” หรือ “เวียงโกศัย”
:
บรรทัด 204:
ต่อมาเกิดกบฏเงี้ยวในสมัย[[รัชกาลที่ 5]] ปี พ.ศ. 2445 ทรงโปรดเกล้าให้[[เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี]] นำทัพพร้อมหัวเมืองใกล้เคียงเข้าปราบกบฏเงี้ยวที่เมืองแพร่
พระยาไชยบูรณ์ได้ทำการต่อสู้ ปกป้องจากพวกเงี้ยวอย่างเต็มความสามารถ และบังคับให้ลงนามยกเมืองให้ พระยาไชยบูรณ์ไม่ยอม พวกเงี้ยวจึงนำไปตัดหัวที่บ้านร่องกวางเคา เจ้าพิริยะเทพวงศ์ฯ เกรงพระราชอาญา จึงหนีไปพำนักที่[[เมืองหลวงพระบาง]] ต่อจากนั้นมาก็ไม่มีเจ้าเมืองหรือเจ้าผู้ครองนครแพร่อีก
 
== ตำนาน ” เมืองแพร่แห่ระเบิด” ==
:
คนแพร่มักถูกทักทายเชิงล้อเลียนอยู่เสมอว่า เมืองแพร่แห่ระเบิด จึงมีผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่ามีความเป็นมาอย่างไร หมายความว่าอย่างใด โดยศึกษาอ้างอิงกับเรื่องราวสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จากคุณสุรินทร์ โสภารัตนานันท์ อดีตเสรีไทย รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อีกหลายคน ได้แก่
:
1. พระสมุห์สากล อติพัทโธ เจ้าอาวาสวัดแม่ลานเหนือ ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่
:
2. นายสม ไชยแก้ว บ้านเลขที่ 69 หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง
:
3. นายสมาน หมื่นขัน บ้านเลขที่ 92/6 หมู่ที่ 4 แม่ลานพัฒนา ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่
:
ได้ความว่า นายหลง มโนมูล ซึ่งเป็นคนงานรถไฟสถานีแก่งหลวง ได้ไปพบซากระเบิด ที่ทิ้งมาจากเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำระเบิดมาทิ้งเพื่อทำลายสะพานรถไฟข้ามห้วยแม่ต้า เพื่อสกัดการเดินทางของทหารญี่ปุ่น เมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่ 2 (ประมาณปี พ.ศ. 2485 – 2488) จึงได้มาบอกนายสมาน หมื่นขัน ทราบ นายสมานฯ จึงไปดูและขอความช่วยเหลือจากคนงานรถไฟ ที่สถานีรถไฟแก่งหลวงที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ นายชุ่ม ขันแก้ว นายชัยวัฒน์ พึ่งพอง นายพินิจ สุทธิสุข นายย้าย ปัญญาทอง ให้มาช่วยกันขุด และทำการถอดชนวนแล้วใช้เลื่อยตัดเหล็กตัดส่วนหางของลูกระเบิดควักเอาดินระเบิดที่บรรจุอยู่ภายในออก และช่วยกันหามขึ้นล้อ(เกวียน) นำไปพักไว้ที่บ้านแม่ลู่ตำบลบ้านปิน ต่อมานายหลงฯ ได้ไปลากต่อมาจากบ้านแม่ลู่โดยล้อ (เกวียน) ชาวบ้านทราบข่าว จึงแตกตื่นพากันออกมาดูทั้งหมู่บ้าน เดินตามกันเป็นขบวนยาว ติดตามมาตลอดทางจนถึงวัดแม่ลานเหนือ ตำบลห้วยอ้อ ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงรอบ ๆ วัด พอทราบข่าวก็ออกมาต้อนรับพร้อมวงฆ้อง – กลองยาว ขบวนที่แห่กันมาจึงเคลื่อนขบวนเข้าวัดทำพิธีถวายให้เป็นสมบัติของวัด เพื่อใช้เป็นระฆังของวัดจนถึงปัจจุบันนี้ ระเบิดลูกที่ 2 นำไปถวายที่วัดศรีดอนคำ ตำบลห้วยอ้อ ส่วนลูกระเบิดลูกที่ 3 นายบุญมา อินปันดีใช้ช้างลากขึ้นมาจากห้วยแม่ต้า แล้วนำมาบรรทุกล้อ (เกวียน) ลากไปถวายที่วัดนาตุ้ม ตำบลบ่อเหล็กลอง ซึ่งเป็นบ้านเดิมของนางจันทร์ ผู้เป็นภรรยา ปัจจุบันลูกระเบิดที่ 1 เก็บไว้ที่วัดแม่ลานเหนือ ตำบลห้วยอ้อ ลูกที่ 2 เก็บไว้ที่วัดศรีดอนคำ ตำบลห้วยอ้อ ลูกที่ 3 เก็บไว้ที่วัดนาตุ้ม ตำบลบ่อเหล็กลอง จังหวัดแพร่ <ref>http://www.addphrae.com/likesara/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%94</ref>
 
 
== ทำเนียบรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ==