ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮันส์ ฮ็อลไบน์ (ผู้ลูก)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต เพิ่ม: my:ဟောလဗိုင်း ၊ ဟန်းဇ်
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch: นัย
บรรทัด 27:
โฮลไบน์เดินทางไปยังอังกฤษในปี ค.ศ. 1526 เพื่อไปหางานทำโดยคำรับรองของ[[เดสิเดอริอัส อีราสมัส]] อีราสมัสได้รับการต้อนรับเข้าสู่กลุ่มนักมนุษยนิยมของเซอร์[[Thomas More|ทอมัส มอร์]]ที่ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเองอย่างรวดเร็ว หลังจากที่กลับมายังบาเซิลเป็นเวลาสี่ปีโฮลไบน์ก็เดินทางไปทำงานต่อในอังกฤษในปี ค.ศ. 1532 ครั้งนี้มาทำงานให้กับ[[แอนน์ โบลีน]] และ [[Thomas Cromwell|ทอมัส ครอมเวลล์]] เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1535 โฮลไบน์ก็กลายเป็นจิตรกรประจำพระองค์ใน[[สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ|สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8]] ในตำแหน่งที่ว่านี้นอกจากจะเขียนภาพเหมือนและการตกแต่งเทศกาลแล้ว โฮลไบน์ก็ยังออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับอันมีค่าอีกด้วย ภาพเหมือนของโฮลไบน์ของพระราชวงศานุวงศ์และขุนนางเป็นการบันทึกความหรูหราของราชสำนักอังกฤษในช่วงระยะเวลาที่สมเด็จพระเจ้าเฮนรีทรงแสดงพระบรมราชานุภาพในฐานะประมุขของ[[นิการยเชิร์ชออฟอิงแลนด์]]อย่างเต็มที่
 
งานเขียนของโฮลไบน์ถือว่างเป็นงานเขียนที่มีคุณค่ามาตั้งแต่เริ่มเขียน กวีและนักปฏิรูปชาวฝรั่งเศส[[Nicholas Bourbon (the elder)|นิโคลาส์ บูร์บอง]]ให้สมญาว่าเป็น “[[Apelles|อเพลเลส]]แห่งยุค”<ref>Wilson, 213; Buck, 50, 112. Apelles was a legendary artist of antiquity, whose imitation of nature was thought peerless.</ref> นอกจากนั้นก็ยังถือว่าเป็นจิตรกร “เอกลักษณ์” ของประวัติศาสตร์ศิลปะเพราะไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มตระกูลการเขียนใดที่สร้างงานเขียนลักษณะการเขียนของตนเอง<ref name = Wilson281>Wilson, 281.</ref> หลังจากที่โฮลไบน์เสียชีวิต งานบางชิ้นก็สูญหายไปแต่ส่วนมากได้รับการสะสม เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 โฮลไบน์ก็เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นปรมาจารย์ของการเขียนภาพเหมือน งานแสดงศิลปะหลายครั้งเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้แสดงความสามารถในด้านต่างๆ ของโฮลไบน์ด้วย โฮลไบน์ใช้เส้นที่อ่อนช้อยในการสร้างงานตั้งแต่เครื่องประดับอันละเอียดอ่อนไปจนกระทั่งงานขนาดใหญ่เช่นจิตรกรรมฝาผนัง งานเขียนของโฮลไบน์เรียกได้ว่าเป็นงานแบบ[[ศิลปะสัจนิยม|สัจนิยม]]เพราะความเที่ยงตรงต่อความเป็นจริงของสิ่งที่เขียน ภาพเหมือนที่เขียนมีชื่อเสียงในยุคนั้นว่าเป็นภาพที่ลม้ายผู้เป็นแบบเป็นอย่างมาก และทำให้ชนปัจจุบันสามารถรู้จักบุคคลในยุคนั้นจากสายตาของโฮลไบน์ แต่โฮลไบน์ก็มิได้พึงพอใจอยู่แต่ลักษณะที่เห็นภาพนอกของผู้เป็นแบบ และฝังสัญลักษณ์, นัยยะ และ ปฏิทรรศน์เข้าไปในภาพด้วยที่ทำให้เป็นที่กังขาต่อผู้คงแก่เรียนต่างๆ ตามความเห็นของนักประวัติศาสตร์ศิลป์[[Ellis Waterhouse|เอลลิส วอเทอร์เฮาส์]]ภาพเหมือนที่เขียนโดยโฮลไบน์ “[[ยังคงเป็นภาพที่ไม่มีผู้ใดเท่าเทียมเพราะความเที่ยงตรงและความประหยัดของการสื่อความหมาย, ความลึกของบุคลิก และความบริสุทธิ์และความงดงามของวิธีการเขียน”<ref>Waterhouse, 17.</ref>
 
== อ้างอิง ==