ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch: เว็บไซต์
บรรทัด 28:
'''"พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์"''' เป็นพระพุทธรูปยืน[[ปางลีลา]]ขนาดใหญ่ พุทธลักษณะทรงยกพระบาทขวาจะก้าว ห้อยพระหัตถ์ขวาท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน หล่อด้วยทอง[[สำริด]]หนัก 17,543 กิโลกรัม โดยแบ่งหล่อเป็นชิ้นต่างๆ ขององค์พระ รวม 137 ชิ้น แล้วจึงนำไปประกอบกับโครงเหล็กบนฐานพระพุทธรูป เพื่อเชื่อมรอยต่อ และปรับแต่งให้เป็นเนื้อเดียวกัน เป็นพระพุทธรูปสูง 15.875 เมตร ถือเป็นพระพุทธรูปลีลา หล่อด้วยทองสำริดที่มีลักษณะงดงาม และมีขนาดใหญ่ที่สุดในสมัย[[รัตนโกสินทร์]] <ref>[http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK29/chapter2/t29-2-l3.htm#sect8 สารานุกรมไทยฉบับเยาชน เล่มที่ ๒๙]</ref>
 
โดยประยุกต์พุทธลักษณะ มาจากพระพุทธรูปปางลีลาสมัย[[สุโขทัย]] โดยศาสตราจารย์[[ศิลป์ พีระศรี]] ชาว[[อิตาลี]] เป็นผู้ออกแบบ ซึ่งในตอนแรกที่ออกแบบไว้นั้น พระพุทธรูปมีความสูงเพียง 2.14 [[เมตร]] แต่เพื่อให้สอดคล้องกับโอกาสที่พระพุทธศาสนาอายุครบ 2,500 ปี จึงได้มีการขยายขนาดเพื่อให้ได้เป็น 2,500 กระเบียด (1 กระเบียดเท่ากับ 1/4 นิ้ว) ดังนั้นพระศรีศากยะทศพลญาณฯ ในปัจจุบัน จึงมีความสูงถึง 15.875 เมตร ใหญ่กว่าขนาดต้นแบบ 7.5 เท่า<ref>[http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9490000060546 ''สงบจิตใจในแดนธรรม ที่ "พุทธมณฑล"'' จากเว็บไซด์ไซต์ '''ผู้จัดการออนไลน์''']</ref>
 
ความเป็นมาของพระพุทธรูปปางนี้มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ไม้ปาริฉัตตกะ ณ ดาวดึงส์เทวปโลก เมื่อออกพรรษามหาปวารณาแล้ว จึงเสด็จลงจากเทวโลก ในการเสด็จลงจากเทวโลกนั้นเรียกกันว่า "เทโวโรหณสมาคม"<ref>[http://www.onab.go.th/e-Books/DhammaKhunakorn/45-50.pdf นิตยสาร ธรรมะคือคุณากร ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๔๕ เดือนตุลาคม ๒๕๕๐]</ref>