ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความสัมพันธ์ไทย–เยอรมนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch: เสด็จ
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Bundesarchiv B 145 Bild-F009754-0005, Petersberg, Staatsempfang für König von Thailand.jpg|thumb|right|200px|[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์]]และประธานาธิบดี [[ไฮน์ริค ลืบค์]] ระหว่างการเสด็จเยือนประเทศเยอรมนี พ.ศ. 2503]]
 
'''ความสัมพันธ์เยอรมนี-ไทย''' ({{lang-de|Deutsch-thailändische Beziehungen}}) เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง[[ประเทศเยอรมนี]] และ[[ประเทศไทย]] ที่เริ่มต้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]<ref name="ทูต">[http://www.mfa.go.th/internet/country/105d.doc เอกสารแนบ - Ministry of Foreign Affairs]</ref> ต่อมา [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงเสด็จเยือนยุโรปใน พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 รวมทั้งโอรสหลายพระองค์ต่างทรงรับการศึกษาที่ประเทศเยอรมนี ดังเช่น [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร]] ผู้สำเร็จราชการในสมัยนั้น ที่ทรงอภิเษกสมรสกับสตรี[[ชาวเยอรมัน]]<ref name="เยอรมนี">[http://www.bangkok.diplo.de/Vertretung/bangkok/th/06/Ausstellung/150Jahre.html 150 ปีความสัมพันธ์เยอรมัน-ไทย]</ref>
 
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เอง ที่มีชาวต่างชาติรวมถึงชาวเยอรมันที่เดินทางมายังประเทศสยามเพื่อนำความรู้มาพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ทั้งทางรถไฟ การไปรษณีย์โทรเลขต่างได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมัน รวมถึง [[พระเจนดุริยางค์]] หรือชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ เป็นบุตรของชาวเยอรมันที่อพยพมาอาศัยอยู่ในประเทศไทย เป็นผู้ประพันธ์ทำนอง[[เพลงชาติไทย]]<ref name="เยอรมนี" />