ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรคใหลตาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch: หลับใหล
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 4261237 สร้างโดย OctraBot (พูดคุย)
บรรทัด 4:
ใน ปี [[พ.ศ. 2533]] ซึ่งเป็นปีที่โรคใหลตายปรากฏ มีปัญหาว่า "ใหลตาย" หรือ "ไหลตาย" สะกดอย่างไรจึงจะถูกต้อง [[ราชบัณฑิตยสถาน]]จึงประชุม และมีความเห็นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นควรสะกดว่า "'''ไ'''หล" (สระ ไ ไม้มลาย) เพราะ "ไหล" เป็น[[ภาษาถิ่นอีสาน]] ปรากฏในพจนานุกรมภาษาถิ่นอีสาน-ภาคกลาง ฉบับปณิธาน ของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสฺมหาเถระ) มีความหมายว่า "นอนหลับไม่ได้สติ" ประกอบกับเป็นชื่อโรคซึ่งเป็น[[วิสามานยนาม]] และมิใช่หนึ่งในคำยี่สิบคำที่ต้องเขียนด้วนไม้ม้วน ขณะที่อีกฝ่ายเห็นควรสะกด "'''ใ'''หล" (สระ ใ ไม้ม้วน) โดยพิเคราะห์ว่า "ใหล" มาจาก "หลับใหล" ซึ่งมีความหมายว่า "นอนหลับไม่ได้สติ" เหมือนกัน ในการประชุมครั้งนั้น ราชบัณฑิตยสถานมิได้ลงมติข้างไหน<ref name = "ROYIN">"สู่ข้อยุติ : โรคใหลตาย". (2533, 17 พฤษภาคม).''จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน,'' (ปีที่ 2). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <[http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1050 ลิงก์]>. (เข้าถึงเมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2553).</ref>
 
ปีเดียวกันนั้นเอง คณะกรรมการชำระพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นพิจารณาอีกครั้ง โดยตรวจสอบจากเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น พจนานุกรม-อีสาน-กลาง ฉบับมหาวิทยาลัยขอนแก่น-สหวิทยาลัยอีสาน, สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ ของ ปรีชา พิณทอง ฯลฯ ปรากฏว่า ไม่มีที่ใดในภาษาอีสานสะกด "หลับใหล" ว่า "หลับใหลไหล" มีแต่พจนานุกรมของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสฺมหาเถระ) ข้างต้นฉบับเดียวเท่านั้นที่อ้างว่าเทียบมาจากพจนานุกรมภาษาลาว ราชบัณฑิตยสถานจึงได้สืบค้นพจนานุกรมภาษาลาว พบว่า ในภาษาลาวก็สะกด "หลับใหล" ด้วยสระ ใ ไม้ ม้วน เหมือนในภาษาไทย โดยให้ความหมายว่า "ละเมอ" หรือ "เอิ้นหรือฮ้องในเวลานอนหลับหรือในเวลาตื่นตกใจจนหลงสติ" มิได้สะกดอย่างสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสฺมหาเถระ) แต่ประการใด<ref name = "ROYIN"/> ที่สุด ราชบัณฑิตยสถานจึงมีมติว่า ชื่อโรคนี้ให้เขียน "ใหลตาย" โดยวินิจฉัยว่า "ใหล" มาจาก "หลับใหล"<ref name = "ROYIN"/>
 
== บันทึกการพบ ==