ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิบูลย์ แช่มชื่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
+หมวดหมู่:อาจารย์คณะครุศาสตร์ - ศึกษาศาสตร์; +[[หมวดหมู่:บุคคลจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ...
Drwiboon (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
บรรทัด 23:
 
== ประวัติ ==
วิบูลย์ แช่มชื่น อดีตอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ [[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]] เกิดที่[[อำเภอท่าคันโท]] [[จังหวัดกาฬสินธุ์]] บิดาเป็นครูประชาบาล มารดาเป็นชาวนา มีพี่น้อง 7 คน สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนท่าคันโทวิทยายน ระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกาฬสินธุ์ศึกษา และโรงเรียนอุดมวิทยาอุดรธานี ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้แทนเยาวชนไทย เข้าร่วมโครงการ เอ เอฟ เอส ไปศึกษา ณ Chariton High School, Chariton, Iowa, USA (1066-67), สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา จาก[[วิทยาลัยครูมหาสารคาม]] (มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม) ด้วยทุนคุรุสภา และปริญญาตรี จาก[[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]] (ทุนกระทรวงศึกษาธิการ) ปริญญาโท ด้านการศึกษา จากมหาวิทยาลัยปันจาบ (ทุนรัฐบาล) และปริญญาเอก สาขาารบริหารและการวิจัย จากมหาวิทยาลัยฮิโรชิมา (ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น)
 
== การเมือง ==
วิบูลย์ แช่มชื่น ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดกาฬสินธุ์ ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543]] ซึ่งเป็นการเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งแรกในประเทศไทย เคยทำหน้าทีเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ ต่อมาได้เข้าเป็นประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา เป็นผู้ริเริ่มและร่วมก่อตั้งสมาคมสมาชิกรัฐสภาระหว่างประเทศด้านสารสนเทศ (Inter-Parliamentary Association for Information Technology - IPAIT) เป็นผู้แทนรัฐสภาไทยในองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ (AIPO และ IPU) เมื่อหมดวาระ ทำงานด้านสื่อมวลชนทางโทรทัศน์ และเป็นผู้อำนวยการ และผู้เขียนบทบรรณาธิการ นสพ.ไทยเรดนิวส์ รายสัปดาห์ ทำงานสื่อหนังสือพิมพ์ระหว่าง การชุมนุมทางการเมืองกับ ของกลุ่ม นปช. และสือทีวีทาง MV iNews และ MV-Stars-Bangkok จนปัจจุบัน เขียนหนังสือทางการเมืองชื่อ "ทางออกประเทศไทยต้องปฏิวัติประชาธิปไตย" พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ปัญญาชน (336 หน้า) วางจำหน่ายทั่วไป หลังจากยุบสภา มีการเลือกตั้งทั่วไป 3 กรกฎาคม 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ใน ระบบบัญชีรายชื่อ เป็นลำดับที่ 99<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/A/049/5.PDF จาก 125 รายชื่อ ดูจากประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)]</ref> สังกัด[[พรรคเพื่อไทย]] แต่เป็นลำดับที่ยังไม่ได้รับเลือกตั้ง เมือพรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาล ดร.วิบูลย์ แช่มชื่น ได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิกา ระหว่าง 8 กันยายน 2554 ถึง 15 มีนาคม 2555 ทำหน้าที่เตรียมสังคมการศึกษาไทยสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลังจากวันที่ 15 มีนาคม 2555 จนถึงปัจจุบัน (กันยายน 2555)
 
ข้อมูลเพิ่มเติม [http://www.facebook.com/drwiboon; www.mongthaimongthet.com; www.youtube.com/thaitodaytv; www.youtube.com/mongthaimongthet]
 
== อ้างอิง ==