ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเกาะสมุย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Demio~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ Demio (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Potapt
บรรทัด 36:
||5.||มะเร็ต|||||| (Maret)||||||6 หมู่บ้าน||
|-
||6.||[[ตำบลบ่อผุด|บ่อผุด]]|||||| ([http://www.samuiheritageresort.com/ Bo Phut])||||||6 หมู่บ้าน||
|-
||7.||แม่น้ำ|||||| (Mae Nam)||||||6 หมู่บ้าน||
บรรทัด 49:
== การท่องเที่ยว ==
{{commonscat|Ko Samui}}
1.เดิมเกาะสมุยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกมะพร้าว ปัจจุบันเป็นสถานที่พักผ่อนตากอากาศที่ชาวต่างประเทศนิยมเดินทางมาท่องเที่ยว มีร้านค้า [http://www.samuiheritageresort.com/ โรงแรม] และสถานบันเทิงต่าง ๆ มากมาย หาดที่เป็นที่เชิดหน้าชูตาของคนเกาะสมุย คือ [[หาดเฉวง]] บริเวณชายหาดยาวประมาณ 7 กิโลเมตร ถ้าได้ลงมือเดินตั้งแต่ต้นหาดจนกระทั่งถึงปลายหาดจะใช้เวลาประมาณถึง 2 ชั่วโมง เพราะการเดินบนผืนทรายไม่เหมือนการเดินบนพื้นดินปรกติ หาดที่มีความสวยงามเป็นอันดับรองลงมา คือ [[หาดละไม]] [[หาดเชิงมนต์]] [[แหลมโจรคร่ำ]] [[หาดท้องยาง]] [[หาดหน้าทอน]] [[หาดพังกา]] และ[[หาดตลิ่งงาม]]
 
{{coor title dm|9|30|N|100|00|E|type:isle}}
บรรทัด 89:
[[wuu:苏梅岛]]
[[zh:苏梅岛]]
 
2.ข้อมูลด้านกายภาพ
2.1 ที่ตั้งอาณาเขต อำเภอเกาะสมุย เป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 18 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ในอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ห่างจากตัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี 84 กิโลเมตร ห่างจากผืนแผ่นดินใหญ่เขตอำเภอดอนสัก 27 กิโลเมตร (หรือประมาณ 14 ไมล์ทะเล) ห่างจากกรุงเทพมหานคร 750 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อ ทะเล เขตอำเภอเกาะพะงัน
ทิศตะวันออก ติดต่อ ทะเลอ่าวไทย
ทิศใต้ ติดต่อ ทะเล เขตอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
ทิศตะวันตก ติดต่อ ทะเล เขตอำเภอดอนสัก อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอไชยา
อำเภอท่าฉาง และอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2.2 สภาพภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอเกาะสมุย สามารถจำแนกตามลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ ดังนี้ 1.หาดทรายและสันทราย ประมาณ 7.95% ของพื้นที่เกาะทั้งหมด
2.ที่ราบน้ำทะเลท่วมถึง พบตามบริเวณที่เป็นส่วนปลายคลอง ลำธาร เป็นบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึง ประมาณ 0.17% ของพื้นที่เกาะทั้งหมด
3.ที่ลุ่มต่ำมาก พื้นที่ลุ่มมากแบบนี้เป็นแอ่งยาวอยู่ระหว่างสันทรายหรือบริเวณด้านหลังของท่าหาดทราย 0.22% ของพื้นที่เกาะทั้งหมด
4.ที่ราบต่ำ เป็นบริเวณพื้นที่ซึ่งมีภูมิประเทศต่ำราบเรียบ ประมาณ 4.72% ของพื้นที่ทั้งหมด
5.ที่ดอน บริเวณนี้เป็นพื้นที่สูง ประมาณ 2.16% ของพื้นที่ทั้งหมด
6.บริเวณที่เป็นเขาและภูเขา
2.3 พื้นที่ป่า สภาพป่าในอำเภอเกาะสมุย มีส่วนหนึ่งที่เป็นป่าสงวน ซึ่งจะอยู่บนภูเขา นอกนั้นโดยทั่วไปแล้วเป็นพื้นที่ที่ได้มีการทำเกษตรต่าง ๆ เกือบเต็มพื้นที่แล้ว ส่วนพื้นที่ที่เหลือเป็นภูเขาหิน การปลูกพืชต่าง ๆ ไม่ได้ผลเพราะสภาพขาดน้ำ แต่ปัจจุบันนี้เกษตรกรก็ปลูกป่าตามแนวถนนริมทางและปลูก
เพื่อกันลมป้องกันความเสียหายกับพืชต่าง ๆ
2.4 อุณหภูมิ อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่มีผลต่อการผันแปรของอุณหภูมิมากนัก ซึ่งพอสรุปในรอบปีได้ดังนี้
-อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดคือ เดือน เมษายนและพฤษภาคม ประมาณ 37 องศาเซลเซียส
-อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด เดือนธันวาคมและมกราคม ประมาณ 21 องศาเซลเซียส
-อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 27 องศาเซลเซียส
2.5 ปริมาณน้ำฝน – แหล่งน้ำและปริมาณน้ำในรอบปี อำเภอเกาะสมุย มีสภาพพื้นที่เป็นเกาะ จะได้รับลมมรสุมทั้งสองด้าน คือได้รับทั้งลมมรสุม
ตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวคือ จะมีฝนตกสม่ำเสมอเกือบตลอดปี และจะมีฝนตกชุกในตอนปลายปี ตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจะถึงเดือนมกราคม ส่วนช่วงที่ฝนตกน้อยได้แก่เดือน กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน
2.6 เส้นทางคมนาคม การคมนาคมของอำเภอเกาะสมุย ในอดีตมีการเดินทางไปมาระหว่างอำเภอต่าง ๆ กับจังหวัดใกล้เคียงเป็นไปด้วยความยากลำบาก ทั้งนี้เนื่องจากอำเภอเกาะสมุยอยู่ห่างจากอำเภอดอนสัก 27 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดถึง 84 กิโลเมตร การสัญจรไปมาโดยใช้เรือเพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบัน เส้นทางคมนาคมได้พัฒนาให้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
การคมนาคมทางน้ำ
-โดยเรือยนต์กลางคืน รับส่งผู้โดยสารคืนละ 1 เที่ยว ออกจากท่าเรือบ้านดอน อำเภอเมือง ถึงท่าเรืออำเภอเกาะสมุย และออกจากท่าเรือเกาะสมุย ถึงท่าเรือบ้านดอน อำเภอเมือง ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง
-เรือด่วน รับส่งผู้โดยสาร วันละ 2 เที่ยว เดินทางไปกลับอำเภอเกาะสมุย ถึงอำเภอเมือง
-เรือเฟอร์รี่ ปัจจุบันมีการให้บริการรับส่งผู้โดยสาร และบรรทุกรถยนต์ข้ามฟาก มี 2 บริษัท คือ บริษัทราชาเฟอร์รี่ และบริษัท ซีทรานเฟอร์รี่ ไปกลับระหว่างอำเภอเกาะสมุย และอำเภอดอนสักทุก ๆ 1 ชั่วโมง
การคมนาคมทางอากาศ
1. โดยเครื่องบิน ของบริษัทบางกอกแอร์แวย์ มีเที่ยวบิน ดังนี้
- สมุย-กรุงเทพฯ ให้บริการทุกวัน
- สมุย-พัทยา - สมุย-สิงคโปร์
- สมุย-ภูเก็ต - สมุย-ลังกาวี
- สมุย- เชียงใหม่ - สมุย-เมดาน
- สมุย-กระบี่ - สมุย-กัวลาลัมเปอร์
- สมุย-ฮ่องกง
2. โดยเครื่องบินบริษัทการบินไทย เดินทางระหว่างเกาะสมุย-กรุงเทพ วันละ 2 เที่ยว
การคมนาคมทางบก เป็นเส้นทางคมนาคมภายในอำเภอเกาะสมุย
-ถนนทวีราษฎร์ภักดี หรือถนนทางหลวงหมายเลข 4169 เป็นถนนสายหลักหรือถนนรอบเกาะ สภาพเป็นคอนกรีตกว้าง 5 เมตร มีไหล่ทางข้างละ 1 เมตร ระยะทาง 52 กิโลเมตร
-ทางหลวงหมายเลข 4174 เป็นเส้นทางที่แยกจากถนนสายหลักบริเวณบ้านลิปะน้อยไปยังท่าเรือเฟอร์รี่ เป็นถนนคอนกรีตระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร
-ทางหลวงหมายเลข 4170 แยกจากถนนสายหลักบ้านสระเกศเลียบชายทะเลด้านตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านบริเวณบ้านตลิ่งงาม บ้านพังกา บ้านท้องกรูด บ้านบางเกา จดถนนสายหลักบริเวณบ้านหัวถนน เป็นถนนคอนกรีต ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร
-ทางหลวงหมายเลข 4173 เป็นถนนเชื่อมถนนสายหลักกับทางหลวงหมายเลข 4170 บริเวณบ้านทุเรียนไปยังบ้านบางเกา เป็นคอนกรีตระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร
-ทางหลวงหมายเลข 4171 แยกจากถนนสายหลักบริเวณบ้านบ่อผุด ผ่านสนามบิน พระใหญ่ อ่าวเชิงมนต์ เลียบชายฝั่งไปเชื่อมถนนสายหลักบริเวณหาดเฉวง เป็นถนนคอนกรีตระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร
-นอกจากนี้ยังมีถนนซอยแยกภายในหมู่บ้านผ่านพื้นที่ทำการเกษตรบนภูเขาจะมีทั้งถนนคอนกรีตและถนนลูกรัง
2.7 ข้อมูลกลุ่มชุดดิน การจำแนกดินของอำเภอเกาะสมุย โดยใช้ข้อมูลของกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งจำแนกชุดดินได้ ดังนี้
กลุ่มดินชุดที่ 12 ดินกลุ่มนี้มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง
กลุ่มดินชุดที่ 17 ดินกลุ่มนี้มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนเหนียวปนทรายถึงเป็นดินร่วนปนดินเหนียว
กลุ่มดินชุดที่ 17 P ดินชุดนี้มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนเหนียวปน
กลุ่มดินชุดที่ 22 ดินกลุ่มนี้มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนทราย
กลุ่มดินชุดที่ 34 B ดินกลุ่มนี้มีลักษณะและคุณสมบัติของดินตลอดการใช้ประโยชน์ที่ดินคล้ายคลึงกับหน่วยแผนที่ดินที่ 34
กลุ่มดินชุดที่ 39 ดินกลุ่มนี้มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนทราย
กลุ่มดินชุดที่ 39 B ดินกลุ่มนี้มีลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ของดินตลอดจนการใช้ประโยชน์ของที่ดินคล้ายคลึงกับหน่วยแผนที่ดินที่ 39
กลุ่มดินชุดที่ 39 D ดินกลุ่มนี้มีลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ของดินตลอดจนการใช้ประโยชน์ของดินที่คล้ายคลึงกับหน่วยแผนที่ดินที่ 39
กลุ่มดินชุดที่ 43 ดินกลุ่มนี้มีเนื้อดินเป็นพวกดินทรายจัดตลอดทุกชั้นดิน และบางชั้นมีเปลือกหอยปะปน
กลุ่มดินชุดที่ 45 ดินกลุ่มนี้มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนเหนียวปนทรายหรือลูกรังมากถึงเป็นดินเหนียวปนลูกรังมาก
กลุ่มดินชุดที่ 51 B ดินกลุ่มนี้มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนเศษหิน
กลุ่มดินชุดที่ 59 ดินกลุ่มนี้เป็นหน่วยผสมของดินหลายชนิดที่เกิดจากตะกอนลำน้ำพัดพามาทับถมกัน
กลุ่มดินชุดที่ 59 B ดินกลุ่มนี้มีลักษณะและคุณสมบัติของดินคล้ายคลึงกับหน่วยแผนที่ดินที่ 59
กลุ่มดินชุดที่ 6 ดินกลุ่มนี้มีลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ คล้ายกับหน่วยแผนที่ดิน 5
กลุ่มดินชุดที่ 60 ดินกลุ่มนี้เป็นหน่วยผสมของดินหลายชนิดที่เกิดจากตะกอนลำน้ำพัดพามาทับถมกันบริเวณสันดอนริมน้ำหรือระหว่างร่องเขา
กลุ่มดินชุดที่ 60 B ดินกลุ่มนี้มีลักษณะและคุณสมบัติของคล้ายคลึงกับหน่วยแผนที่ดินที่ 60
กลุ่มดินชุดที่ 62 ดินกลุ่มนี้ประกอบด้วยพื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือเนินเขา
2.8 ข้อมูลสาธารณูปโภค (ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์)
ประปา
อำเภอเกาะสมุย การประปาส่วนภูมิภาค มีการจัดทำระบบประปาจากแหล่งน้ำต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในเรื่องของแหล่งน้ำในอำเภอเกาะสมุย การให้บริการแก่ประชาชนได้เพียงจำนวนน้อยซึ่งในขณะนี้การประปากำลังดำเนินการเพื่อให้บริการเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคในฤดูแล้ง ขณะนี้ประชาชนส่วนใหญ่ใช้น้ำเพื่ออุปโภค บริโภค จากบ่อน้ำตื้นและบ่อบาดาล
ไฟฟ้า
อำเภอเกาะสมุยได้รับบริการด้านกระแสไฟฟ้า ครอบคลุมทุกพื้นที่ทุกครอบครัวจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเกาะสมุย
โทรศัพท์
ประชาชนในอำเภอเกาะสมุยใช้ระบบสื่อสารทางโทรศัพท์จากองค์การโทรศัพท์อำเภอเกาะสมุยทั่วทุกพื้นที่ ประมาณร้อยละ 70 ของครัวเรือนทั้งหมด
2.9 ข้อมูลสิ่งก่อสร้างต่างๆ สิ่งก่อสร้างในอำเภอเกาะสมุย พอจะแบ่งได้ดังนี้
1.วัด จำนวน 23 แห่ง
2.สำนักสงฆ์ จำนวน 7 แห่ง
3.โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา (เอกชน) จำนวน 1 แห่ง
4.โรงเรียนระดับประถม จำนวน 24 แห่ง
5.โรงเรียนระดับอุดมศึกษา (เอกชน) จำนวน 1 แห่ง
6.โบสถ์คริสต์ จำนวน 2 แห่ง
7.มัสยิด จำนวน 1 แห่ง
8.สถานีอนามัย จำนวน 7 แห่ง