ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาปัตยกรรมบารอก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
บรรทัด 35:
[[ไฟล์:St Peter's Square, Vatican City - April 2007.jpg|thumb|250px|จัตุรัสหน้า[[มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์]]ที่กรุงโรม]]
[[ไฟล์:Borromini_Drawing_03.jpg|thumb|250px|ผังวัดซานคาร์โลอัลเลอควอโตรฟอนทาเน โดย บอโรมินิ]]
สถาปัตยกรรมบาโรกเริ่มมาจากสถาปัตยกรรมในอิตาลีเช่นบาซิลิกา สิ่งก่อสร้างชิ้นแรกที่แยกตัวมาจากลักษณะ[[แมนเนอริสม์]] คือวัดซานตาซูซานนาซึ่งออกแบบโดย คาร์โล มาเดอร์โน จังหวะการวางโครงสร้างของเสา โถงกลาง และ การตกแต่งภายในทำให้สิ่งก่อสร้างเพิ่มความซับซ้อนขึ้น และการริเริ่มความมีลูกเล่นภายในกฏของโครงสร้างแบบคลาสสิคคลาสสิก
 
สถาปัตยกรรมบาโรกจะเน้นความยืดหยุ่น ความต่อเนื่อง และ ความเป็นนาฏกรรมของสิ่งก่อสร้างซึ่งจะเห็นได้จากผลงานวัดซานลูคาและซานตามาร์ตินา (San Luca e Santa Martina) และวัดซานตามาเรียเดลลาพาเซ[http://commons.wikimedia.org/wiki/image:Santa_Maria_della_Pace_00091.JPG] (Santa Maria della Pace) โดย [[เปียโตร ดา คอร์โตนา]] (Pietro da Cortona) ที่สร้างเมื่อ ปี ค.ศ. 1656 โดยเฉพาะด้านหน้าวัดซานตามาเรียเดลลาปาเซซึ่งเป็นโค้งยื่นออกไปสู่จัตุรัสแคบๆหน้าวัด ทำให้เหมือนฉากโรงละคร การผสมผสานลักษณะศิลปะโรมันเข้าไปในสมัยนี้ทำให้มีสิ่งก่อสร้างมีลักษณะสง่าเป็นที่เห็นได้ชัดจาก[[ภูมิทัศน์เมือง]]รอบสิ่งก่อสร้าง
บรรทัด 47:
คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นศตวรรษที่เมืองหลวงของสถาปัตยกรรมแบบบาโรกย้ายจากโรมไป[[ปารีส]] สถาปัตยกรรมแบบ[[ศิลปะโรโคโค|โรโคโค]]ที่รุ่งเรืองที่โรมราวปี ค.ศ. 1720 เป็นต้นมาเป็นสถาปัตยกรรมที่มีอิทธิพลอย่างมากมาจากความคิดของบอโรมินิ สถาปนิกที่มีชื่อที่สุดในกรุงโรมสมัยนั้นก็มีฟรานเชสโก เดอ ซองตีส์ (Francesco de Sanctis) ผู้สร้าง[[บันไดสเปน]] เมื่อปี ค.ศ. 1723 และ ฟิลิปโป รากุซซินิ (Filippo Raguzzini) ผู้สร้างจัตุรัสเซ็นต์อิกนาซิโอ เมื่อ ค.ศ. 1727) สถาปนิกสองคนนี้มีอิทธิพลเฉพาะในอิตาลี ไม่เช่นสถาปนิกบาโรกซิซิลีรวมทั้งจิโอวานนี บัททิสตา วัคคารินิ (Giovanni Battista Vaccarini) อันเดรีย พาลมา (Andrea Palma) และจุยเซ็พพี เวนาซิโอ มาร์วูเกลีย (Giuseppe Venanzio Marvuglia) ที่มีอิทธิพลนอกเหนือจากอิตาลี
 
สถาปัตยกรรมบาโรกช่วงหลังในอิตาลีจะเห็นได้จากวังคาเซอร์ตา[http://commons.wikimedia.org/wiki/image:Caserta-reggia-15-4-05_112-ritoc.JPG] (Caserta Palace) โดยลุยจิ แวนวิเทลลิ (Luigi Vanvitelli) ซึ่งว่ากันว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นลักษณะที่มีอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมบาโรกของฝรั่งเศสและสเปน ตัวอาคารวางเข้ากันกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ลักษณะของสิ่งก่อสร้างของแวนวิเทลลิที่[[เนเปิลส์]]และคาเซอร์ตาเป็นแบบที่ค่อนข้างเรียบแต่ก็รักษาความสวยงามไว้ซึ่งเป็นลักษณะที่เอื้อต่อการวิวัฒนาการไปเป็น[[สถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิคคลาสสิก]]ในสมัยต่อมา
 
=== ประเทศอิตาลี - ภาคเหนือ ===
บรรทัด 64:
[[ไฟล์:Vaux-le-Vicomte Panorama.jpg|thumb|250px|โวเลอวิคองเทใกล้ปารีสโดยหลุยส์ เลอ โว และ อันเดร เลอ โนเตรอ เมื่อ ค.ศ.1661]]
[[ไฟล์:Invalides.jpg|thumb|150px|left|เลออินแวลีด (Les Invalides) ที่ปารีส โดยจุลส์ อาร์ดวง มองซาร์ ค.ศ. 1676]]
ศูนย์กลางของ[[สถาปัตยกรรมบาโรก]]สำหรับที่อยู่อาศัยก็เห็นจะต้องเป็น[[ประเทศฝรั่งเศส]] การออกแบบวังมักเป็นผังแบบสามปีกรูปเกือกม้าที่เริ่มทำกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่สิ่งก่อสร้างที่มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมบาโรกที่แท้จริงคือ วังลักเซมเบิร์กซึ่งออกแบบโดย [[ซาโลมง เดอ โบรส]]ที่เป็นลักษณะไปทางคลาสสิคคลาสสิกซึ่งเป็นลักษณะบาโรกของฝรั่งเศส หลักการจัดองค์ประกอบของสิ่งก่อสร้างก็จะให้ความสำคัญกับบริเวณหลักเช่นห้องรับรอง เป็น “[[เอกมณฑล]]” (Corps de logis) หรือบริเวณสำคัญที่สุด การจัดลักษณะนี้เริ่มทำกันเป็นครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส ขณะที่ห้องทางปีกที่ใกลออกไปจากห้องหลักจะค่อยลดความสำคัญลงไปตามลำดับ หอแบบ[[ยุคกลาง]]มาแทนที่ด้วยมุขที่ยื่นออกมาตรงกลางสิ่งก่อสร้างซึ่งอาจจะเป็นประตูมหึมาสามชั้นเป็นต้น
 
งานของเดอ โบรสเป็นงานผสมระหว่างลักษณะแบบฝรั่งเศส (สูงลอย หลังคาแมนซารด์[http://commons.wikimedia.org/wiki/image:Mansard.jpg] (Mansard) และหลังคาที่ซับซ้อน) กับลักษณะแบบอิตาลีที่คล้ายกับ[[วังพิตติ]][http://commons.wikimedia.org/wiki/image:Palazzo_Pitti_Gartenfassade_Florenz.jpg]ที่[[ฟลอเรนซ์]]ทำให้กลายมาเป็นลักษณะที่เรียกว่า “ลักษณะหลุยส์ที่ 13” ผู้ที่ใช้ลักษณะนี้ได้ดีที่สุดก็เห็นจะเป็น[[ฟรองซัว มองซาร์|ฟรองซัวส์ มองซาร์]]ผู้ที่ถือกันว่าเป็นผู้นำสถาปัตยกรรมบาโรกเข้ามาในฝรั่งเศส เมื่อออกแบบวังไมซองส์ (Château de Maisons) เมื่อปี ค.ศ. 1642 มองซาร์สามารถนำทฤษฎีการก่อสร้างทั่วไปและแบบบาโรกมาปรับให้เข้ากับลักษณะกอธิคที่ยังหลงเหลือภายในการก่อสร้างแบบฝรั่งเศสได้เป็นอย่างดี
บรรทัด 84:
 
=== เนเธอร์แลนด์ ===
ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 สถาปัตยกรรมแบบบาโรกเกือบไม่มีอิทธิพลใน[[ประเทศเนเธอร์แลนด์]] สถาปัตยกรรมของสาธารณะรัฐทางตอนเหนือของยุโรปเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงคุณค่าของประชาธิปไตยของประชาชนมิใช่เพื่อเป็นการแสดงอำนาจของเจ้าของผู้สร้าง สถาปัตยกรรมก็จะสร้างเลียนแบบ[[สถาปัตยกรรมคลาสสิคคลาสสิก]] ซึ่งคล้ายกับการวิวัฒนาการในอังกฤษสถาปัตยกรรมแบบพาเลเดียนของเนเธอร์แลนด์จะดูทะมึนและรัดตัว สถาปนิกที่สำคัญสองคน เจคอป แวน แค็มเพ็น (Jacob van Campen) และ เปียร์เตอร์ โพสต์ (Pieter Post) ใช้การผสมผสานของเสาใหญ่ หน้าจั่วแหลม การตกแต่ง[[หน้าบัน]] และยอดแหลมในสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเป็นลักษณะที่มีลักษณะแบบเดียวกับของ[[คริสโตเฟอร์ เร็น]]สถาปนิกอังกฤษ
 
งานที่ใหญ่ๆ ในสมัยนั้นก็ได้แก่ตึกเทศบาลเมืองอัมสเตอร์ดัม ออกแบบเมื่อ ค.ศ. 1646 โดยแค็มเพ็นและ มาสตริชท์ (Maastricht) สร้างเมื่อค.ศ. 1658 วังต่างๆ ของราชวงศ์ออเร็นจ์ (House of Orange) จะละม้ายคฤหาสน์ของผู้มีอันจะกินมากกว่าจะเป็นวัง เช่นวัง Huis ten Bosch และ Mauritshuis เป็นทรงบล็อกสมดุลประกอบด้วยหน้าต่างใหญ่ ไม่มีการตกแต่งหรูหราแบบบาโรก ความขึงขังแบบเรขาคณิตนี้ก็ใช้ที่วังฤดูร้อน Het Loo
บรรทัด 100:
ในขณะที่สถาปัตยกรรมแบบบาโรกที่มีบทบาทอย่างกว้างขวางในฝรั่งเศสระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในอังกฤษเกือบจะไม่มีอิทธิพลใดๆ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะในระหว่างสมัยการปกครองของ[[ออลิเวอร์ ครอมเวลล์]] และ สมัย “[[ยุคฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ|ฟื้นฟูราชวงศ์]] สิบปีระหว่างการเสียชีวิตของสถาปนิกภูมิทัศน์[[อินิโก โจนส์]]เมื่อปี ค.ศ. 1652 กับเมื่อ[[คริสโตเฟอร์ เร็น]]ไปเยี่ยมปารีสเมื่อปี ค.ศ. 1665 อังกฤษไม่มีสถาปนิกคนใดที่สำคัญพอที่จะกล่าวถึงได้ ฉะนั้นความสนใจในสถาปัตยกรรมยุโรปที่จะเข้ามาในอังกฤษจึงมีน้อย
 
คริสโตเฟอร์ เร็นกลายมาเป็นเจ้าตำรับของสถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษ ซึ่งมึลักษณะต่างกับสถาปัตยกรรมบาโรกแบบยุโรปทางการออกแบบและการแสดงออกซึ่งจะไม่มีลูกเล่นเช่นแบบเยอรมนี หรืออิตาลี และลักษณะของเร็นออกจะไปทางสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคคลาสสิกมากกว่า หลังจากที่เกิด[[เพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในลอนดอน ค.ศ. 1666]] เร็นก็ได้รับสัญญาการก่อสร้างวัด 53 วัดในลอนดอน ซึ่งเร็นใช้สถาปัตยกรรมแบบบาโรกเป็นฐาน งานชิ้นใหญ่ที่สุดก็เห็นจะเป็น[[มหาวิหารเซนต์พอล]] ซึ่งเปรียบได้กับสึ่งก่อสร้างแบบ[[โดม]]อื่นๆ เช่นในประเทศอิตาลีและฝรั่งเศส ลักษณะใหม่นี้เป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบพาเลเดียนของอินิโก โจนส์กับสถาปัตยกรรมแบบบาโรกจากแผ่นดินใหญ่ยุโรปได้อย่างเหมาะเจาะ
 
นอกจากวัดแล้วคริสโตเฟอร์ เร็นก็ยังเป็นสถาปนิกในการสร้างสิ่งก่อสร้างสำหรับที่อยู่อาศัยด้วย คฤหาสน์ชนบท[http://commons.wikimedia.org/wiki/image:Longleat_outbuilding.jpg] (English country house)แบบบาโรกแห่งแรกที่สร้างๆ ตามแบบของสถาปนิกวิลเลียม ทาลมัน (William Talman) คือบ้านแช็ทเวิร์ธ[http://commons.wikimedia.org/wiki/image:View_of_Chatsworth_House%2C_England.jpg] (Chatsworth House) ซึ่งเริ่มสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1687 ลักษณะแบบบาโรกมาเริ่มใช้โดยสถาปนิก[[จอห์น แวนบรูห์]] (John Vanbrugh) และนิโคลัส ฮอคสมอร์ (Nicholas Hawksmoor) ถึงแม้ว่าทั้งสองคนจะมีความสามารถในการแสดงออกทางแบบบาโรกแต่มักจะไม่ทำงานพร้อมกันเช่นงานที่วังโฮวาร์ด[http://commons.wikimedia.org/wiki/image:CastleHoward01.jpg] (Castle Howard) เมื่อ ค.ศ. 1699 และวังเบล็นไฮม์[http://commons.wikimedia.org/wiki/image:Blenheim_Palace_Terrace.jpg] (Blenheim Palace) เมื่อ ค.ศ. 1705
บรรทัด 125:
ลักษณะสถาปัตยกรรมบาโรกทางไต้ของเยอรมนีจะแยกจากทางเหนือเช่นเดียวกับการแยกบาโรกแบบโรมันคาทอลิกจากบาโรกแบบโปรเตสแตนต์ ทางบริเวณโรมันคาทอลิกทางใต้วัด[[ลัทธิเยซูอิด|เยซูอิด]]เซนต์ไมเคิลที่[[มิวนิค]]เป็นวัดแรกที่นำลักษณะบาโรกแบบอิตาลีเข้ามาในเยอรมนี แต่การวิวัฒนาการจากลักษณะที่นำเข้ามาหรือการแพร่หลายของลักษณะสถาปัตยกรรมที่ว่าก็มิได้มีมากนัก ที่แพร่หลายมากกว่าคือลักษณะที่ปรับปรุงของวัดเยซูอิดเช่นกันที่ดิลลิงเง็น (Dillingen) ที่เป็น “วัดผนัง-เสา” (wall-pillar church) ซึ่งเพดานเป็นเพดานประทุนเหนือทางเดินกลางรายด้วยคูหาสวดมนต์ต์ต์ต์แยกจากกันด้วยผนังและเสา ซึ่งต่างกับวัดเซนต์ไมเคิลที่มิวนิคที่คูหาสวดมนต์ต์ต์ต์ของวัดแบบ “วัดผนัง-เสา” จะสูงพอๆ กับทางเดินกลางและเพดานก็จะยื่นมาจากเพดานของทางเดินกลางในระดับเดียวกัน ภายในคูหาสวดมนต์ต์ต์ต์จะสว่างจากแสงที่ส่องเข้ามาจากทางเข้าของวัด เสาอิงประกอบคูหาแท่นบูชารองทำให้มีวัดมีลักษณะเป็นนาฏกรรมเช่นฉากละคร
 
“วัดผนัง-เสา” ต่อมาก็พัฒนาโดยสถาปัตยกรรมตระกูลโวราร์เบิร์ก (Vorarlberg) และช่างหินจาก[[บาวาเรีย]] นอกจากนั้นลักษณะของ “วัดผนัง-เสา” ยังผสมผสานได้ดีกับกับ “[[วัดโถง]]” (Hall church) ที่ใช้กันในสมัยปลายกอธิค วัดลักษณะนี้ยังสร้างกันต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนอาจจะเรียกได้ว่ามาถึง[[สมัยฟื้นฟูคลาสสิคคลาสสิก]]เช่นที่เห็นได้จากวัดที่แอบบีโรทอันเดอโรท (Rot an der Rot Abbey) นอกจากนั้น “วัดผนัง-เสา” ยังเป็นโครงสร้างที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ง่ายโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเดิมมากเช่นจะเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงที่วัดดิลลิงเง็น
 
นอกจากนั้นวัดแบบบาโรกแบบโรมันคาทอลิกยังได้รับอิทธิพลจากสิ่งอื่นเช่นที่เรียกกันว่า “บาโรกปฏิวัติ” (radical Baroque) ของโบฮีเมีย “บาโรกปฏิวัติ” ของ[[คริสตอฟ ดินเซนฮอฟเฟอร์]] และลูกชาย [[คริสตอฟ ดินเซนฮอฟเฟอร์]] ซึ่งขณะนั้นอาศัยอยู่ที่ปรากก็ได้รับอิทธิพลจากทางเหนือของอิตาลีโดยเฉพาะจากงานของ [[กัวริโน กัวรินี]] ซี่งจะเป็นลักษณะที่ใช้ผนังโค้งและการใช้ช่องว่างภายในเป็นรูปใข่ตัดกัน ในขณะเดียวกันเราก็จะเห็นอิทธิพลของโบฮีเมียในงานของสถาปนิกคนสำคัญคือ[[โยฮันน์ ไมเคิล ฟิชเชอร์]] (Johann Michael Fischer) ที่ใช้ระเบียงโค้งใน “วัดผนัง-เสา” แรกๆ ที่สร้าง หรืองานของ [[โยฮันน์ บาลทาซาร์ น็อยมัน]] ซึ่งถือว่าเป็นงานที่สุดท้ายที่แสดงลักษณะโบฮีเมียผสมเยอรมนี
บรรทัด 131:
สถาปัตยกรรมบาโรกเกือบจะไม่มีอิทธิพลใดๆ กับ[[คริสต์ศาสนสถาน]]ของนิกายโปรเตสแตนต์ และเกือบไม่มีผลงานที่เด่นๆที่ควรจะกล่าวถึงนอกจากที่วัดพระแม่มารี (Frauenkirche) ที่[[เดรสเด็น]] การเขียนเกี่ยวกับทฤษฏีสถาปัตยกรรมเป็นที่นิยมกันทางเหนือมากกว่าทางใต้ เช่นงานบรรณาธิการของเล็นนาร์ด คริสตอฟ สเติร์ม (Leonhard Christoph Sturm) ของนิโคลอส โกลด์มัน (Nikolaus Goldmann) แต่ทฤษฏีของสเติร์มเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมศาสนสถานก็มิได้นำมาปฏิบัติ ทางภาคใต้จะเน้นการปฏิบัติมากกว่าการเขียนเรื่องทฤษฏีสถาปัตยกรรม การใช้ทฤษฏีก็จะเป็นพียงการใช้ตัวสิ่งก่อสร้างเองและองค์ประกอบจากหนังสือประกอบรูป และรูปสลักบนโลหะเป็นตัวอย่าง
 
สถาปัตยกรรมการสร้างวังมีความสำคัญพอๆ กันทั้งโรมันคาทอลิกทางใต้ และโปรเตสแตนต์ทางเหนือ หลังจากการสร้างตามแบบอิตาลีและอิทธิพลจากเวียนนาและรัชตัทในระยะแรก อิทธิพลจากฝรั่งเศสก็เพื่มความนิยมมากขึ้นจากต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ลักษณะแบบฝรั่งเศสจะเห็นได้จากผังแบบเกือกม้ารอบคอร์ทยาร์ด ซึ่งต่างจากผังแบบอิตาลีที่จะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม การสร้างก็มักจะเป็นความร่วมมือของสถาปนิกหลายคนทำให้มีการผสมลักษณะระหว่างออสเตรียแบบอิตาลี และฝรั่งเศส ซึ่งจะเห็นได้จากการสร้างวังเวิร์ทซเบิร์ก ซึ่งผังโดยทั่วไปเป็นลักษณะแบบเกือกม้าแต่คอร์ทยาร์ดอยู่ภายในตัวตึกมิได้เปิดออกด้านนอกอย่างแบบฝรั่งเศส ด้านฟาซาร์ดเป็นผลงานของโยฮันน์ ลูคัส ฟอน ฮิลเดอบรันดท์ผู้นิยมการตกแต่งแบบคลาสสิคคลาสสิกแบบฝรั่งเศส ซึ่งมีลักษณะเด่นๆ อยู่สองอย่างๆ หนึ่งคือภายในเป็นบันไดมหึมาแบบออสเตรีย แต่ก็มีห้องแบบฝรั่งเศสทางด้านสวนซึ่งมีอิทธิพลมาจากการวางห้องภายในปราสาทหรือวังในฝรั่งเศส
 
===สหพันธ์โปแลนด์-ลิธูเอเนีย===
บรรทัด 146:
วัดแบบบาโรกวัดแรกใน[[ประเทศฮังการี|ราชอาณาจักรฮังการี]]คือวัดเยซูอิด “Nagyszombat” ที่สร้างโดยเปียโตร สป็อซโซ (Pietro Spozzo) ระหว่างปี ค.ศ. 1629 ถึงปี ค.ศ. 1637 ตามแบบวัดเยซูที่โรมในประเทศอิตาลี พระเยซูอิดมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่การก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานแบบใหม่นี้หลายแห่งเช่นที่ “Győr” (ค.ศ. 1634-ค.ศ. 1641), “Kassa” (ค.ศ. 1671-ค.ศ. 1684), “Eger” (ค.ศ. 1731-ค.ศ. 1733) และ “Székesfehérvár” (ค.ศ. 1745-ค.ศ. 1751) ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 หลังจากบ้านเมืองและถูกทำลายอย่างย่อยยับหลังจากการรุกรานของ[[จักรวรรดิอ็อตโตมาน]]ก็ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ตามลักษณะสถาปัตยกรรมแบบบาโรก ผังเมืองที่ยังเป็นแบบบาโรกเต็มตัวก็ยังคงเหลืออยู่บ้างเช่นที่ “Győr”, “Eger”, “Székesfehérvár”, “Veszprém”, “Esztergom” และบริเวณปราสาทของบูดา ปราสาทที่สำคัญที่สุดของฮังการีคือปราสาทบูดา, ปราสาท Grassalkovich และ ปราสาท Esterházy ที่ Fertőd นอกจากนั้นก็ยังมีปราสาทย่อมๆ ของเจ้านายอยู่ทั่วไป
 
บาโรกแบบฮังการีได้รับอิทธิพลจากออสเตรียและอิตาลีเพราะมีสถาปนิกเยอรมนีและอิตาลีมาทำงานอยู่ที่นั่นมาก ลักษณะความนิยมท้องถิ่นคือความเรียบง่าย, ไม่มีการตกแต่งอย่างเกินเลยและผสมลักษณะการตกแต่งแบบท้องถิ่นเข้าไปด้วยโดยเฉพาะงานที่ทำโดยสถาปนิกท้องถิ่น สถาปนิกคนสำคัญๆ ของสมัยบาโรกในฮังการีก็ได้แก่อันดราส เมเยอร์ฮอฟเฟอร์ (András Mayerhoffer), อิกแน็ค โอราเช็ค (Ignác Oraschek) และมาร์ทอน วิทเวอร์ (Márton Wittwer) ฟรันซ์ อันทอน พิลแกรม (Franz Anton Pilgram) ก็มีผลงานในราชอาณาจักรฮังการีเช่นที่สำนักสงฆ์ลัทธิพรีมอนสเตรเทนเชียน “Jászó” พอถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 สถาปัตยกรรมแบบฟื้นฟูคลาสสิคคลาสสิกก็เข้ามาแทนที่ สถาปนิกคนสำคัญๆ ของสมัยนี้ก็ได้แก่เมนีเฮอรท เฮเฟเล (Menyhért Hefele) และยาคัป เฟลล์เนอร์ (Jakab Fellner)
 
สิ่งก่อสร้างสำคัญสองแห่งใน[[ประเทศโรมาเนีย|โรมาเนีย]]ที่เป็นแบบบาโรกก็ได้แก่วังบรุคเค็นทาลที่เมื่องซิบิยู (Brukenthal Palace, Sibiu) และวังบาทหลวงเดิมที่โอเรเดีย (Oradea) ซึ่งปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์
บรรทัด 170:
[[ไฟล์:Louvainmichel.jpg|thumb|220px|วัดเซนต์ไมเคิลที่ลูแวง (ค.ศ. 1650), ประเทศเบลเยียม]]
 
สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอิตาลีเข้ามาแทนที่สถาปัตยกรรมของฮวน เดอ เฮอร์เรรา (Juan de Herrera) สถาปนิกสเปนที่มีลักษณะเรียบและไปทางคลาสสิคคลาสสิกที่ใช้กันมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1667 การออกแบบด้านหน้าของ[[มหาวิหารกรานาดา]] โดยอลองโซ คาโน (Alonso Cano) และมหาวิหาร Jaen โดย ยูฟราซิโอ โลเปซ เดอ โรฮาส (Eufrasio López de Rojas) ก็เริ่มจะแสดงให้เห็นการที่สถาปนิกใช้ลวดลายการตกแต่งอย่างมหาวิหารของสเปนแต่มีอิทธิพลบาโรกเข้ามาผสม
 
ลักษณะบาโรกของสเปนแตกต่างจากลักษณะบาโรกของทางเหนือของยุโรปตรงที่เป็นสถาปัตยกรรมของการแสดงออกทางอารมณ์แทนที่จะเป็นสถาปัตยกรรมที่ทำเพื่อสร้างความพอใจให้แก่ผู้มีการศึกษาหรือเพื่อโอ้อวดผู้เป็นเจ้าของแต่เพียงอย่างเดียว ตระกูลเชอร์ริงกูรา (Churriguera) ผู้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบแท่นบูชาและฉากแท่นบูชาวิวัฒนาการการออกแบบจากที่เป็นคลาสสิคคลาสสิกเรียบๆ มาเป็นการออกแบบผนังสิ่งก่อสร้างที่เต็มไปด้วยรายละเอียดและมีชีวิตจิตใจที่เรียกกันว่า “ลักษณะเชอร์ริงกูรา” ซึ่งกลายมาเป็นลักษณะที่มีอิทธิพลต่อการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างทั้งในสเปนเองและประเทศในอาณานิคม
 
ภายในห้าสิบปีตระกูลเชอร์ริงกูราก็เปลี่ยน[[ภูมิทัศน์]]ของเมืองซาลามาชา (Salamanca) จนกลายมาเป็น “เมืองแบบเชอร์ริงกูรา” ลักษณะที่เด่นๆ ของบาโรกของสเปนก็ได้แก่การวางองค์ประกอบของช่องว่างและแสงภายในสิ่งก่อสร้างเช่นที่[[หอประชุมสงฆ์]]กรานาดาในคริสต์ศตวรรษที่ 18 หรือการออกแบบสิ่งตกแต่งเช่นรูปปั้นให้เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมเช่นงานของนาร์ซิสโค โทเม (Narciso Tomé) ผู้ใช้ความตัดกันของแสงเงาอย่างนาฏกรรม (chiaroscuro effect) ในงาน “Transparente” ที่ [[มหาวิหารโทเลโด]]
 
สถาปัตยกรรมบาโรกในสเปนวิวัฒนาการเป็นสามขั้นระหว่างปี ค.ศ. 1680 ถึงปี ค.ศ. 1720 เชอร์ริงกูราริเริ่มเผยแพร่การใช้ลักษณะคอลัมน์โซโลมอน[http://en.wikipedia.org/wiki/Solomonic_column]ของ[[กัวริโน กัวรินี|กัวรินี]]และการจัดแบบผสมที่เรียกว่า “Supreme order” ขั้นที่สองระหว่างปี ค.ศ. 1720 ถึงปี ค.ศ. 1760 ก็เริ่มมีการใช้คอลัมน์แบบเชอร์ริงกูราเป็นทรงโคนแบบโอบิลิสค์แต่คว่ำซึ่งใช้เป็นศูนย์กลางของการตกแต่ง และขั้นสุดท้ายระหว่างปี ค.ศ. 1760 ถึงปี ค.ศ. 1780 ซึ่งเป็นการตกแต่งแบบเกลียวม้วนหรือก้นหอยและการตกแต่งอย่างอลังการก็เริ่มจะลดความนิยมลงมาเป็น[[สถาปัตยกรรมแบบฟื้นฟูคลาสสิคคลาสสิก|สถาปัตยกรรมแบบฟื้นฟูคลาสสิคคลาสสิก]]ที่เรียบง่ายกว่า
 
งานสถาปัตยกรรมบาโรกแบบสเปนที่เด่นที่สุดสองชิ้นก็ได้แก่ด้านหน้ามหาวิทยาลัยวาลลาโดลิด ([University of Valladolid) โดยดิเอโก โทเมที่สร้างในปี ค.ศ. 1719 และโรงพยาบาลซานเฟอร์นานโด (Hospicio de San Fernando) ที่[[มาดริด]]โดยเปโดร เดอ ริเบอรา (Pedro de Ribera) ในปี ค.ศ. 1722 การตกแต่งอย่างหรูหรามามีอิทธิพลต่อ [[อันโตนิโอ กอดี]] (Antonio Gaudi) และศิลปะนูโว (Art Nouveau) ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในกรณีนี้และเช่นกับกรณีอื่น ๆ ศิลปินจะใช้สิ่งตกแต่งที่พรางโครงร่างของสถาปัตยกรรม (tectonic) ภายใต้ โดยไม่คำนึงถึงโครงสร้างหลักของตัวสถาปัตยกรรมและประโยชน์ทางการใช้สอยของสิ่งก่อสร้าง การตกแต่งจะเน้นด้วยการสลักไม้ดอกไม้ใบอย่างหรูหรารอบประตูหลัก ถ้าลอกเอาสิ่งตกแต่งเช่นบัวคอร์นิช หรือช่อระย้าเหล่านี้ออกหมดก็จะไม่มีผลใดใดทั้งสิ้นต่อตัวโครงสร้างหลักของสถาปัตยกรรม