ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บาคคัสไม่สบาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
บรรทัด 15:
ภาพ “บัคคัสไม่สบาย” เป็นภาพที่เขียนในปีแรกที่คาราวัจโจมาถึงกรุงโรมจากมิลานในราวกลางปี ค.ศ. 1592 และเชื่อกันว่าในช่วงนี้คาราวัจโจล้มเจ็บหนักเป็นเวลาราวหกเดือนในโรงพยาบาลซานตามาเรียเดลลาคอนโซลาซิโอเน และยังมีเรื่องเล่าว่าคาราวัจโจเขียนภาพหลายภาพให้แก่โรงพยาบาลเพื่อเป็นการตอบแทนในการที่ได้ช่วยชีวิตแต่ไม่มีภาพที่ว่าหลงเหลืออยู่ให้เห็น แต่ภาพนี้เขียนราวในช่วงระยะเวลานั้น และตกไปเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมของ[[จุยเซ็ปปิ เซซาริ]]นายจ้างคนแรก แต่ต่อมาถูกยึดจากเซซาริโดยนักสะสมศิลปะคาร์ดินัล[[สคิปิโอเน บอร์เกเซ]] ในปี ค.ศ. 1607 พร้อมกับภาพ “[[เด็กชายปอกผลไม้ (คาราวัจโจ)|เด็กชายปอกผลไม้]]” และ “[[เด็กชายกับตะกร้าผลไม้ (คาราวัจโจ)|เด็กชายกับตะกร้าผลไม้]]”
 
นอกจากจะเป็นภาพเหมือนตนเองแล้วภาพเขียนนี้อาจจะเป็นภาพที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่งานเขียนของตนเอง เพื่อแสดงให้เห็นความสามารถในการเขียนภาพประเภทต่างๆ เช่น[[จิตรกรรมภาพนิ่ง]] หรือ[[ภาพเหมือน]] และเป็นนัยยะว่าสามารถเขียนภาพของบุคคลจากสมัยคลาสสิคคลาสสิกได้ การวางหน้าสามส่วนในภาพเหมือนเป็นที่นิยมกันในปลายสมัยเรอเนสซองซ์ แต่ที่น่าสนใจคือใบหน้าที่หมองและเอียงคอเล็กน้อยที่ทำให้ดูเหมือนไม่สบายจริงๆ
 
ภาพนิ่งในภาพนี้อาจจะเปรียบได้กับภาพ “[[เด็กชายกับตะกร้าผลไม้ (คาราวัจโจ)|เด็กชายกับตะกร้าผลไม้]]” ที่เขียนต่อมาที่ผลไม้อยู่ในสภาพที่ดีกว่ามากที่สะท้อนให้เห็นว่าคุณภาพของงานดีขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ และภาพหลังที่เขียนหลังจากนั้นในภาพ “[[เด็กถูกจิ้งเหลนกัด (คาราวัจโจ)|เด็กถูกจิ้งเหลนกัด]]” ภาพเขียนนี้ยังแสดงให้เห็นอิทธิพลของครู[[ซิโมเน เพเทอร์ซาโน]]ตรงการเน้นการเขียนกล้ามเนื้อที่ตึงแน่นและการเขียนแบบที่ออกไปทางแข็งของตระกูลการเขียนแบบลอมบาร์ดและเน้นรายละเอียดของความเป็นจริง แต่สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของคาราวัจโจเองคือการใช้แสงเย็นที่ส่องลงมาบนตัวแบบที่ทำให้ตัวแบบแยกเด่นออกมาจากฉากหลังอย่างโดดเดี่ยว ซึ่งเป็นการสร้างบรรยากาศที่เป็นของคาราวัจโจเองโดยเฉพาะ