ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความคลั่งทิวลิป"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต แก้ไข: vi:Hội chứng hoa tulip
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
บรรทัด 5:
'''คลั่งทิวลิป''' ({{lang-en|Tulip mania, Tulipomania}}; {{lang-nl|Tulpenmanie, Tulpomanie, Tulpenwoede, Tulpengekte, Bollengekte}}) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง[[ยุคทองของเนเธอร์แลนด์]] เมื่อเกิดการตั้งราคาสัญญาการค้าขายหัว[[ทิวลิป]]สายพันธุ์ใหม่กันอย่างสูงผิดปกติจนถึงจุดสูงสุดก่อนที่ราคาจะตกฮวบลงมาอย่างฉับพลัน<ref name="MD2001">"Tulipomania: The Story of the World's Most Coveted Flower & the Extraordinary Passions It Aroused." Mike Dash (2001). </ref> ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 ในระหว่างที่ความคลั่งทิวลิปกำลังอยู่ที่จุดสูงสุด ราคาสัญญาการซื้อขายดอกทิวลิปต่อหัวสูงเกินสิบเท่าของรายได้ต่อปีของช่างฝีมือในช่วงระยะเวลาเดียวกัน เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นเหตุการณ์แรกของ[[ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่|ภาวะฟองสบู่จากเก็งกำไร]]<ref>{{Harvnb|Shiller|2005|p=85}} More extensive discussion of status as the earliest bubble on pp. 247–48.</ref> คำว่า "ความคลั่งทิวลิป" กลายมาเป็นคำที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอุปมาเมื่อกล่าวถึงภาวะฟองสบู่ขนาดใหญ่<ref>{{Harvnb|French|2006|p=3}}</ref>
 
เหตุการณ์เกี่ยวกับความคลั่งทิวลิปมาเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายโดยนักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษชื่อ [[ชาร์ลส์ แม็คเคย์]] ในหนังสือชื่อ ''Extraordinary Popular Delusions and the Madness of Crowds (ความเพ้อฝันอันวิปริตและความบ้าคลั่งของมหาชน) '' ที่เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1841 แม็คเคย์กล่าวว่าในจุดหนึ่งของการขายถึงกับมีผู้เสนอแลกที่ดิน 12 เอเคอร์เพื่อแลกกับหัวทิวลิปสายพันธุ์ "''Semper Augustus''" เพียงหัวเดียว<ref name=Chap3>"The Tulipomania", Chapter 3, in {{Harvnb|Mackay|1841}}.</ref> แม็คเคย์อ้างว่ามีผู้ลงทุนในการซื้อสัญญาซื้อขายหัวทิวลิปจนหมดตัวเป็นจำนวนมากเมื่อราคาทรุดฮวบลง และผลสะท้อนของตลาดที่ล่มก็ใหญ่พอที่จะสั่นคลอนสภาวะทางเศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์ แม้ว่าหนังสือที่แม็คเคย์เขียนจะกลายเป็นหนังสือคลาสสิคคลาสสิกที่ยังคงตีพิมพ์กันอยู่แม้แต่ในปัจจุบันนี้ แต่ความถูกต้องของข้อมูลและข้อสมมติฐานที่กล่าวในหนังสือก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ นักวิชาการสมัยใหม่เชื่อว่าความคลั่งดอกทิวลิปมิได้เป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงตามที่แม็คเคย์กล่าว และบ้างก็เสนอว่าเหตุการณ์นี้มิได้ทำให้เกิดความแปรปรวนของเศรษฐกิจขนานใหญ่ขึ้นแต่อย่างใด<ref>{{Harvnb|Thompson|2007|p=100}}</ref>
 
การค้นคว้าเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความคลั่งทิวลิปเป็นไปได้ยากเพราะข้อมูลจากคริสต์ทศวรรษ 1630 มีเพียงจำกัด—นอกจากนั้นข้อมูลส่วนใหญ่ที่มีอยู่ก็ยังขาดความเป็นกลาง และมาจากแหล่งข้อมูลที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเก็งกำไร<ref name=Kuper/><ref> [http://library.wur.nl/speccol/pamphlet.html A pamphlet about the Dutch tulipomania] Wageningen Digital Library, July 14, 2006. Retrieved on August 13, 2008.</ref> แทนที่จะใช้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่าเป็นความคลั่งของการเก็งกำไรอันไม่มีเหตุผล นักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่พยายามให้คำอธิบายอย่างมีเหตุผลถึงสาเหตุของการตั้งราคาอันสูงผิดปกติ แต่คำอธิบายเหล่านี้ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับแนวโน้มของความผันผวนของราคาดอกไม้ชนิดอื่น เช่น [[ดอกไฮยาซินธ์]] ซึ่งก็มีการตั้งราคาที่สูงเกินประมาณเมื่อมีการนำสายพันธุ์เข้าใหม่เข้ามา และราคาก็มาตกฮวบต่อมาเมื่อหมดความนิยมลงเช่นเดียวกับทิวลิป อีกสาเหตุหนึ่งที่อาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดทิวลิปล่มอาจจะมาจากการเปลี่ยนแปลงระบบการทำสัญญาการซื้อขายโดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ในช่วงนั้น ที่มีจุดประสงค์ในการลดความเสี่ยงในตลาดการลงทุนของผู้ซื้ออนาคต โดยการอนุญาตให้ผู้ซื้อสามารถยุบเลิกสัญญาการซื้อขายได้โดยเสียค่าปรับเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าของสัญญาทั้งหมด แต่บทบังคับนี้กลับได้ผลตรงกันข้ามและทำให้ราคาทิวลิปยิ่งถีบตัวสูงหนักขึ้นไปอีกจนเป็นผลให้ตลาดทิวลิปล่มสลายในที่สุด