ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
บรรทัด 18:
'''ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน''' ถือกำเนิดมาจาก[[กรมชลประทาน]] [[กระทรวงเกษตรและสหกรณ์]]ได้จัดบริการด้าน[[การแพทย์]][[การสาธารณสุข]]เอง ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2457]] โดยจัดตั้งเป็น[[สถานพยาบาล]]ชั่วคราว ดูแลรักษาผู้ป่วยในที่ทำการก่อสร้าง[[เขื่อนพระราม 6]] [[ตำบลท่าหลวง]] [[อำเภอท่าเรือ]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] จนกระทั่งปี [[พ.ศ. 2487]] จึงได้จัดหน่วยแพทย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในสำนักงานเลขานุการกรม ในปี [[พ.ศ. 2489]] ได้ขยายหน่วยงานแพทย์เป็นแผนกแพทย์ และในปี [[พ.ศ. 2493]] ได้จัดตั้งกองแพทย์ โดยสร้างอาคารสถานพยาบาลขึ้นในบริเวณกรมชลประทาน[[เขตสามเสน]] [[กรุงเทพมหานคร]] และที่ทำการก่อสร้างกรมชลประทาน [[อำเภอปากเกร็ด]] [[จังหวัดนนทบุรี]] เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น รับผู้ป่วยได้ 20 เตียงและขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 90 เตียง เมื่อปี [[พ.ศ. 2498]] รับผู้ป่วยที่เป็น[[ข้าราชการ]] ลูกจ้างและครอบครัวทั้งจากส่วนกลางและจากท้องถิ่น ของกรมชลประทาน รวมทั้งผู้รับบริการจาก[[จังหวัดนนทบุรี]] [[ปทุมธานี]] และส่วนรอบนอกด้านทิศเหนือของ[[กรุงเทพมหานคร]] ด้วยเหตุนี้เองจึงมีผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น มาขอรับบริการเป็นเหตุที่ต้องขยายโรงพยาบาลและปรับปรุงให้มีขีดความสามารถในการรักษาโรคเฉพาะทางได้โดยไม่ต้องส่งต่อ ดังนั้น ในปี [[พ.ศ. 2510]] จึงมีโครงการขยายโรงพยาบาลตามขั้นตอน และปรับสภาพเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 320 เตียง
 
เมื่อวันที่ [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2539]] โรงพยาบาลชลประทานได้จัดแบ่งรูปงานใหม่เพื่อเตรียมความพร้อมให้สอดคล้องกับโครงสร้างใหม่ของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2541 โดยปรับรูปแบบการดำเนินการเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 300 เตียง มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกสาขาวิชาทางการแพทย์ที่จำเป็น ให้บริการแก่เจ้าหน้าที่กรมชลประทาน ครอบครัวและประชาชนทั่วไป รวมทั้งให้บริการงานผู้ป่วยนอกสามเสน กรมชลประทาน กรุงเทพมหานคร ตามพระราชกฤษฏีการาชกฤษฎีกา โอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ให้โอนย้ายไปสังกัด[[สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข]] [[กระทรวงสาธารณสุข]] เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2545
 
ปัจจุบัน ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน เป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิระดับสูง ขนาด 305 เตียง สังกัด[[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]] [[กระทรวงศึกษาธิการ]] ตั้งอยู่เลขที่ 222 หมู่ 1 [[ถนนติวานนท์]] [[ตำบลบางตลาด]] [[อำเภอปากเกร็ด]] [[จังหวัดนนทบุรี]] '''โรงพยาบาลชลประทาน''' ได้เปลี่ยนชื่อเป็น '''ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ''' ซึ่งชื่อดังกล่าวได้แจ้งต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ [[12 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2550]] และกราบเรียน[[หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ]] และขออนุญาตใช้นามของท่านเป็นชื่อโรงพยาบาลไว้แล้ว เมื่อวันที่ [[27 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2550]] และโรงพยาบาลชลประทานได้มาสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ [[7 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2550]] มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้จัดตั้งกองทุนหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เพื่อสืบทอดความตั้งใจของท่าน เพื่อนำกองทุนดังกล่าวมาพัฒนาโรงพยาบาลชลประทาน ให้เป็นโรงพยาบาลที่ดีที่สุดโรงพยาบาลหนึ่ง