ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่น้ำแยงซี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: ilo:Karayan Yangtze
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
บรรทัด 48:
แม่น้ำแยงซีที่ไหลเข้าสู่ทะเลจีนตะวันออกนั้นมีขนาดกว้างและลึกพอสำหรับการสัญจรของเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่เป็นระยะทางหลายพันไมล์จากปากทางเข้า แม้ว่า[[เขื่อนสามผา]] (อักษรจีน: 三峽大壩; พินอิน: Sānxiá Dàbà) จะยังไม่ได้สร้างก็ตาม ต่อมาในปี2003 เดือนมิถุนายน เขื่อนสามผา ถูกสร้างขึ้นเพื่อควบคุมปริมาณน้ำจากแม่น้ำแยงซีที่ไหลท่วมเขตการปกครอง[[เฟิ้งเจี๋ย]] (อักษรจีน: 奉节县; พินอิน: Fèngjié Xiàn) จึงทำให้เขตการปกครองเฟิ้งเจี๋ยเป็นเมืองแรกที่ได้รับการคุ้มครองจาก[[อุทกภัย]]และได้รับผลประโยชน์จากโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนสามผา
 
เขื่อนสามผา เป็นโครงการ[[ชลประทาน]]แบบครอบคลุมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีผลกระทบต่อภาค[[เกษตรกรรม]]ของประเทศจีนเป็นอย่างมาก ฝ่ายผู้สนับสนุนโครงการชี้แจงว่า เขื่อนสามผา สามารถให้ผู้คนอาศัยตามริมฝั่งแม่น้ำแยงซีโดยไม่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยอย่างที่เกิดขึ้นบ่อยๆในอดีต พร้อมทั้งยังจำหน่ายไฟฟ้าและลำเลียงเส้นทางน้ำให้ แม้ว่า เขื่อนสามผา จะถูกสร้างขึ้นทับเมืองต่างๆ (รวมถึงโบราณสถานหลายแห่ง) และส่งผลกระทบถึงการเปลี่ยนแปลง[[ระบบนิเวศน์นิเวศ]]ในชุมชนขนาดใหญ่
 
ฝ่านผู้คัดค้านโครงการชี้แจงว่าอุทกภัยที่เกิดขึ้นบริเวณแม่น้ำแยงซีแบ่งได้เป็น 3 ชนิด กล่าวคือ อุทกภัยบนที่สูง อุทกภัยบนที่ต่ำ และอุทกภัยตามเส้นทางลำน้ำ ฝ่ายผู้คัดค้านกล่าวโต้แย้งว่าที่จริงแล้ว เขื่อนสามผา ทำให้อุทกภัยบนที่สูงร้ายแรงกว่าเดิม แต่บรรเทาอุทกภัยบนที่ต่ำจนแทบไม่ได้รับผลกระทบ เส้นขีดวัดแนวน้ำตื้นของแม่น้ำแยงซีที่บันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์จีนตลอด 1200 ปีที่แล้ว ปัจจุบันน้ำได้ขึ้นท่วมทับเส้นวัดระดับนี้