ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก พ.ศ. 2551–2555''' เป็นการถดถอยทางเศรษฐกิจ...
 
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก พ.ศ. 2551–2555''' เป็นการถดถอยทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชัดเจนซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 และทรุดหนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกกระทบต่อเศรษฐกิจของทั้งโลก โดยบางประเทศเสียหายกว่าประเทศอื่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอยดังกล่าวมีลักษณะของความไม่สมดุลในระบบต่าง ๆ และเกิดขึ้นจาก[[วิกฤตการณ์การเงินทั่วโลก พ.ศ. 2550–2555]] ผลกระทบข้างเคียงทางเศรษฐกิจของ[[วิกฤตการณ์หนี้สาธารณะยุโรป]] ร่วมกับการเติบโตที่ช้าลงของ[[สหรัฐอเมริกา]]และ[[จีน]] ยังเป็นอุปสรรคขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก<ref>
[http://www.un.org/apps/news/story.asp?NewsID=40962&Cr=global+economy&Cr1 "Countries throughout the world will experience an economic slowdown this year as the sovereign debt crisis in Europe continues to unfold"]</ref> ร่วมกับการเติบโตที่ช้าลงของ[[สหรัฐอเมริกา]]<ref>[http://www.latimes.com/business/money/la-fi-mo-retail-sales-20120716,0,6550178.story "Retail sales fell in June for the third straight month, knocking down economic growth projections"]</ref>และ[[จีน]]<ref>[http://www.thefiscaltimes.com/Articles/2012/07/14/Chinas-Growth-Slows-Again-Is-the-Worst-Over.aspx#page1 Story by Reuters "China's growth rate slowed for a sixth successive quarter to its slackest pace in more than three years"]</ref> ยังเป็นอุปสรรคขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก
 
การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความเสี่ยงที่ยากจะประเมิน ถูกวางขายทั่วโลก เครดิตเฟื่องฟูซึ่งมีหลากหลายกว่ายิ่งป้อน[[ฟองสบู่เก็งกำไร]]ใน[[อสังหาริมทรัพย์]]และหุ้นของบริษัทจำกัด ซึ่งเสริมวิธีปฏิบัติสินเชื่อที่เสี่ยง<ref>{{Cite book|first=Fred E. |last=Foldvary |url=http://www.foldvary.net/works/dep08.pdf |format=PDF|title=The Depression of 2008 |publisher=The Gutenberg Press |isbn=0-9603872-0-X |date=September 18, 2007 |accessdate=2009-01-04}}</ref><ref>{{Cite news|url=http://www.forbes.com/2009/01/14/global-recession-2009-oped-cx_nr_0115roubini.html|title=A Global Breakdown Of The Recession In 2009|author=[[Nouriel Roubini]]|date=January 15, 2009|work=Forbes}}</ref> สถานการณ์ทางการเงินที่ไม่ปลอดภัยยิ่งยุ่งยากขึ้นไปอีกจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและราคาอาหาร การเกิดความเสียหายจาก[[สินเชื่อซับไพรม์]]ใน พ.ศ. 2550 เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์ และเผยให้เห็นสินเชื่อที่เสี่ยงอื่น ๆ และราคาสินทรัพย์ที่เฟ้อเกิน ความเสียหายจากสินเชื่อเพิ่มขึ้นและการล้มละลายของเลห์แมนบราเธอร์ส (Lehman Brothers) เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551 ทำให้เกิดความตื่นตระหนกใหญ่ในตลาดสินเชื่อระหว่างธนาคาร [[วาณิชธนกิจ]]และ[[ธนาคารพาณิชย์]]ขนาดใหญ่และมีฐานมั่นคงจำนวนมากในสหรัฐอเมริกาและยุโรปประสบการขาดทุนใหญ่หลวงและกระทั่งล้มละลาย ทำให้ต้องมีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินสาธารณะอย่างใหญ่หลวง
 
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกนี้ได้ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศลดลงอย่างสาหัส อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นและราคาโภคภัณฑ์ถีบตัวสูงขึ้น ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 สำนักวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ (NBER) ประกาศว่า สหรัฐอเมริกาอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2551<ref>{{Cite news|url=http://money.cnn.com/2008/12/01/news/economy/recession/index.htm?postversion=2008120112|title=It's official: Recession since Dec '07 |last=Isidore |first=Chris |date=2008-12-01 |publisher=CNN Money|accessdate=2009-04-10}}</ref> นักเศรษฐศาสตร์หลายคนทำนายว่า การฟื้นฟูอาจเกิดขึ้นหลัง พ.ศ. 2554 และภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้อาจเป็นครั้งร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่[[ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่]]ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930<ref>[http://www.mcclatchydc.com/251/story/60822.html Congressional Budget Office compares downturn to Great Depression]. By David Lightman. ''McClatchy Washington Bureau.'' January 27, 2009.</ref><ref>{{Cite news|url=http://www.guardian.co.uk/business/2009/jan/26/road-ruin-recession-individuals-economy|title=Twenty-five people at the heart of the meltdown ... |last=Finch |first=Julia |date=2009-01-26 |publisher=The Guardian|accessdate=2009-04-10 | location=London}}</ref> สภาพที่นำสู่วิกฤตการณ์ ซึ่งแสดงลักษณะการเพิ่มขึ้นในราคาสินทรัพย์สูงเกินไป และการเฟื่องฟูที่สัมพันธ์กันในความต้องการทางเศรษฐกิจ ถูกมองว่าเป็นผลของการขยายเวลาของเครดิตที่หาได้ง่าย<ref>{{Cite news|url=http://www.guardian.co.uk/business/2008/jun/03/commodities|title=Oil prices: George Soros warns that speculators could trigger stock market crash|last=Wearden|first=Graeme|date=2008-06-03|publisher=The Guardian|accessdate=2009-04-10 | location=London}}</ref> และข้อบังคับและการควบคุมดูแลที่ไม่เพียงพอ<ref>{{Cite news|url=http://www.nytimes.com/2008/10/24/business/economy/24panel.html?_r=1&partner=permalink&exprod=permalink|title=Greenspan Concedes Error on Regulation|publisher=New York Times|accessdate=2009-04-18 | first=Edmund L. | last=Andrews | date=2008-10-24}}</ref>
 
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้ได้นำแนวคิดเศรษฐกิจแบบเคนส์ว่าด้วยการรับมือกับสภาพเศรษฐกิจถดถอยกลับมาอีกครั้ง นโยบายการเงินและการคลังถูกทำให้ผ่อนคลายลงอย่างมากเพื่อสกัดภาวะเศรษฐกิจถดถอยและความเสี่ยงทางการเงิน นักเศรษฐศาสตร์แนะว่า ควรถอนการกระตุ้นทันทีที่เศรษฐกิจฟื้นตัวเพื่อ "ขีดเส้นทางสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน"<ref>{{cite web|url=http://www.imf.org/external/pubs/ft/weo/2009/01/pdf/c1.pdf |title=IMF World Economic Outlook, April 2009: "Exit strategies will be needed to transition fiscal and monetary policies from extraordinary short-term support to sustainable medium-term frameworks." (p.38) |format=PDF |date= |accessdate=2010-01-21}}</ref><ref>{{Cite news|url=http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=newsarchive&sid=aMK3Z_HHbYM8 |title=Olivier Blanchard, the chief economist of the International Monetary Fund, "is advising officials around the world to keep economic stimulus programs in place no longer than necessary to chart a path to sustainable growth." |publisher=Bloomberg.com |date=2005-05-30 |accessdate=2010-01-21}}</ref><ref>{{Cite news|url=http://www.reuters.com/article/newsOne/idUKTRE57K5IV20090821?virtualBrandChannel=11611 |title=U.S deficit poses potential systemic risk: Taylor |publisher=Reuters.com |date=2009-08-21 |accessdate=2010-01-21 | first=Kristin | last=Cooke}}</ref>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
[[en:2008–2012 global recession]]