ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสุนทรศีลสมาจาร (ผล คุตฺตจิตฺโต)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
บรรทัด 18:
'''พระสุนทรศีลสมาจาร''' อดีตเจ้าคณะจังหวัดธนบุรี ท่านเกิดเมื่อวันที่ [[13 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2437]] ในแผ่นดิน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|รัชกาลที่ 5]] ที่บ้านโคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง [[จังหวัดสมุทรสาคร]] เป็นบุตรนายแก้ว นางยิ้ม แก้วเพ็ชร เมื่อวัยเด็กท่านได้มาศึกษาอยู่ที่วัดหนัง ศึกษาหนังสือไทยในสำนักของพระครูสังวรยุตตินทรีย์ (คำ) เรียนภาษาบาลี กับนายมิ่ง รักชินวงศ์ อาจารย์สอนบาลีแห่งวัดหนัง พ.ศ. 2453 เลิกการศึกษากลับไปอยู่บ้านช่วยบิดามารดา ประกอบอาชีพ พ.ศ. 2455 สมัครเข้ารับราชการทหารเรือ
== อุปสมบท ==
หลวงพ่อท่านได้อุปสมบทเมื่อวันที่ [[27 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2458]] ณ พัทธสีมาวัดหนัง ตำบลคุ้งเผาถ่าน (บางค้อ) อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี พระภาวนาโกศลเถร (อี่ยม) วัดหนังเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการนิ่ม แห่งวัดโคกขาม พระปลัดแจ้งแห่งวัดหนัง เป็นคู่กรรมวาจาจารย์ และได้มาจำพรรษาที่วัดหนัง จนกระทั่งมรณภาพ จนกระทั่งในปี [[พ.ศ. 2478]] ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นผู้ช่วยเจ้าอาวาสชั้นโท <ref> [[พ.ศ. 2478]] เป็นพระครูสัญญาบัตรผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท(ฝ่ายวิปัสสนา) </ref></small> หลวงพ่อท่านไม่ใช่นักพูด แต่หลวงพ่อเป็นนักทำ คือทำตนของท่านให้ศิษยานุศิษย์ และสาธุชน ได้เห็นได้ศึกษา ในการประพฤติปฏิบัติของท่าน นับว่าเป็นผลดีของการปกครองในด้านการเผยแผ่ ก็เท่ากับเป็นการเผยแผ่ตัวอย่างที่ดีให้แก่ชนรุ่นหลังได้เห็นได้รู้เอาเป็นครูในการดำเนินรอยตาม งานบูรณะบูรณปฏิสังขรณ์ก่อสร้างเสนาสนะนั้น หลวงพ่อได้ทำมาก่อนที่ท่านจักได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จับงานมาแต่สมัยเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส ฉะนั้นงานก่อสร้างปฏิสังขรณ์พระอารามจึงไม่เป็นของแปลก และหนักใจของท่าน ท่านมิได้ถือว่างานก่อสร้างเป็นเรื่องของสมภารเจ้าวัด เอกลาภเป็นของลูกวัด ท่านถือเสียว่างานก่อสร้างทุกชิ้นที่เกิดขึ้นในวัดเป็นสมบัติของพระศาสนาเป็นของส่วนรวม เป็นส่วนกลาง เป็นที่บำเพ็ญกุศลของสาธุชนทั่วไป
== เป็นเจ้าอาวาส ==
หลวงพ่อท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนังรูปที่ 7เมื่อปี [[พ.ศ. 2503]] <ref> เป็นเจ้าอาวาสวัดหนังในปี พ.ศ. 2503 </ref></small> ตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส มีการบูรณะซ่อมแซมสิ่งที่ทรุดโทรมให้ดีขึ้นเสมอ ฉะนันในยุคสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ จึงได้ก่อสร้างปฏิสังขรณ์ ปรับปรุงเพิ่มเติม กุฏิคณะไต้ ได้บอกบุญปลูกศรัทธาให้นางชิต นุชเนตรคหปตานี นางขุนเทียน สร้างมณฑปเป็นที่ประดิษฐาน พระบาทจำลอง ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองหน้าวัด ด้านทิศเหนือ ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ เปลี่ยนเครื่องบนมุมกระเบื้อง ยกช่อฟ้าใหม่ ซ่อมศาลาพุทธบาท ศาลาราย บอกบุญสร้างเมรุ ศาลาทึม และปฏิสังขรณ์เสนาสนะไว้ เป็นจำนวนมาก ทำให้พระอาราม เป็นที่เจริญตาเจริญใจ ของสาธุชน ผู้เข้าไปในวัดให้เกิดศรัทธาปสาทะ น้อมใจเข้าสู่แนวทางปฏิบัติ ให้เกิดปัญญาเห็นชัดตามสภาพธรรมในขั้นต่อไป