ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่น้ำชี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
บรรทัด 7:
[[ไฟล์:Https://lh4.googleusercontent.com/-cbtl2T2j6go/UEV3dTXCvFI/AAAAAAAAE4w/5YRXyj1gGio/s529/%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%8C%E0%B8%AF+1.jpg|thumbnail]]
ตำนานของแม่น้ำชี ยังมีปรากฏอีกแห่ง ซึ่งอยู่ในตำนานอุรังคธาตุ(ตำนานพระธาตุพนม)ซึ่งต้นฉบับดั้งเดิมจารึกไว้เป็นตัวอักษรธรรมอีสานบนแผ่นใบลาน คาดว่าถูกคัดลอกต่อกันมาไม่ต่ำกว่า ๔๐๐ ปี ซึ่งกรมศิลปากร ได้ปริวรรตเป็นตัวอักษรไทยสยามไว้ตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓ บรรยายความเกี่ยวกับกำเนินแม่น้ำสายต่างๆลุ่มน้ำโขงว่า แต่เดิมมีหนองน้ำแห่งหนึ่งชื่อว่า หนองแส (คาดว่าปัจจุบันคือ ทะเลสาปทะเลสาบเอ๋อไห่ เมืองต้าหลี่ มณฑลยูนนาน ประเทศจีน) หนองแสแห่งนี้ มีนาคอาศัยอยู่ด้วยกัน ๘ ตัว คือ พินทะโยนกวตินาค เป็นใหญ่ทางหัวหนอง, ธนะมูนนาค เป็นใหญ่ทางท้ายหนอง, ชีวายะนาค, หัตถีศรีสัตตนาค , สุกขรนาค, ปัพพารนาค,สุวรรณนาค และพุทโธปาปะนาค โดย พินทะโยนกวตินาคและธนะมูนนาค ได้ให้คำสัตย์ต่อกันว่า หาอาหารได้เท่าไร จะต้องแบ่งครึ่งเท่าๆกัน
อยู่มาวันหนึ่ง พินทะโยกวตินาค จับเม่นได้เป็นอาหาร และแบ่งครึ่งตามสัญญา ปรากฏว่าธนะมูนนาค กินไม่พออิ่ม เนื่องจากคลางแคลงใจที่ ขนเม่นยาวเป็นศอก จะได้เนื้อมีนิดเดียวได้อย่างไร จึงเกิดเรื่องวิวาทกันระหว่างนาคทั้ง ๒ ฝ่าย ทำให้น้ำในหนองแสขุ่นมัว และสร้างความเดือดร้อนแก่สัตว์อื่นๆที่อยู่ร่วมกัน เรื่องจึงเดือดร้อนถึงสวรรค์ พระอินทร์จึงสั่งให้พระวิสุกรรมเทวบุตร ลงมาปราบนาคทั้ง ๒ ฝ่าย นาคทั้งหลายในหนองแส จึงถูกขับไล่และเหวี่ยงโยนออกจากหนองแส และบางตัวได้เลื้อยแถกแผ่นดิน จนกลายเป็นสถานที่ต่างดังนี้