ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธรรมนูญแคลเร็นดอน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
มักแปล procedure กันว่า กระบวนการ นะ
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
บรรทัด 5:
จุดประสงค์หลักของธรรมนูญก็เพื่อการหาวิธีการตัดสินเกี่ยวกับกรณีนักบวชที่ทำผิดทางอาญาและรอดพ้นจากการถูกลงโทษโดยระบบ[[ecclesiastical courts|ศาสนศาล]]ตามข้อ "[[Benefit of clergy|ผลประโยชน์ของนักบวช]]" (Benefit of clergy) ศาสนศาลไม่เหมือนกับศาลของพระมหากษัตริย์ที่มักจะเข้าข้างผลประโยชน์ของนักบวช การฆาตกรรมที่นักบวชมีส่วนเกี่ยวข้องมักจะลงเองโดยการศึกพระที่ถูกล่าวหา แต่ในศาลของพระมหากษัตริย์ฆาตกรมักจะถูกลงโทษโดยการถูกสับเป็นชิ้นๆ หรือถูกประหารชีวิต
 
ธรรมนูญแคลเร็นดอนเป็นความพยายามของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยอ้างว่าเมื่อศาสนศาลลงโทษผู้ถูกกล่าวหาโดยการสึกแล้ว ทางสถาบันศาสนาก็ไม่มีสิทธิที่จะพิทักษ์ผู้นั้นอีกต่อไป ฉนั้นฉะนั้นผู้นั้นก็ควรจะต้องถูกพิจารณาและลงโทษได้โดยศาลของพระมหากษัตริย์
 
[[ทอมัส เบ็คเค็ท]]<ref>[http://www.newadvent.org/cathen/14676a.htm Catholic Encyclopedia: St. Thomas Becket]</ref>ผู้ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็น[[อัครสังฆราชแห่งแคนเตอร์บรี]] (ค.ศ. 1162&ndash;ค.ศ. 1170) ต่อต้านธรรมนูญฉบับนี้ของสมเด็จพระเจ้าเฮนรี โดยเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับ "นักบวชที่เป็นอาชญากร" (criminous clerks) ทอมัส เบ็คเค็ทอ้างว่าไม่มีผู้ใดที่ควรจะถูก[[double jeopardy|พิจารณาคดีซ้ำสอง]] (double jeopardy) การต่อต้านเป็นผลให้เบ็คเค็ทมีความขัดแย้งโดยตรงต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นผลให้สมเด็จพระเจ้าเฮนรีทรงเนรเทศเบ็คเค็ทและครอบครัวออกจากอังกฤษ และในที่สุดเบ็คเค็ทเองก็ถูกลอบสังหารในปี ค.ศ. 1170