ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หยัด ช้างทอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
บรรทัด 9:
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:Yadchangthong&wifeDSC.jpg|200px|right]]
นายหยัด ช้างทอง เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน [[พ.ศ. ๒๔๖๒]] ที่บ้านริมคลองประปา [[แขวงจรเข้จระเข้น้อย]] [[เขตลาดกระบัง]] [[กรุงเทพมหานคร]] เป็นบุตรของนายยอด และนางถนอม ช้างทอง สมรสกับนางสาวผิว ทองอยู่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ มีบุตร ธิดา ๒ คน คือ นางพเยาว์ พุกบุญมี และ นายยงยุทธ ช้างทอง
 
นายหยัดเข้ารับการศึกษาที่[[โรงเรียนวัดรัชดาธิษฐาน]] จนจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ มีจิตใจชอบการแสดงโขนจึงไม่คิดที่จะศึกษาต่อทางด้านวิชาสามัญ นายหยัดจึงสมัครเข้าเป็นศิษย์นายพานัส โรหิตาจล ศิลปินโขนผู้มีชื่อเสียงและเป็นศิษย์เอกของพระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) นาฏศิลปินโขนยักษ์ ตัวเอกในรัชกาลที่ ๖ บุตรนายทองอยู่ พี่ชายต่างมารดา ของ พระยานัฏกานุรักษ์ ( ทองดี สุวรรณภารต ) อดีตเจ้ากรมโขนหลวง นายหยัด ได้ฝึกหัดโขนเป็นตัวยักษ์อยู่กับนายพานัส โรหิตาจล จนมีความชำนาญในการแสดงโขน สามารถออกโรงแสดงได้ โดยเริ่มตั้งแต่ยักษ์ต่างเมือง เช่น สัทธาสูร มูลพลัม มังกรกัณฐ์ แสงอาทิตย์ จนกระทั่งแสดงเป็นยักษ์ใหญ่ คือเป็นทศกัณฐ์ได้เป็นอย่างดี เป็นที่พอใจของนายพานัส โรหิตาจล ผู้เป็นครูเป็นอย่างมาก
บรรทัด 21:
เนื่องจากนายหยัด ช้างทอง เป็นผู้ที่สนใจใฝ่หาวิชาความรู้ทางด้านนาฏศิลป์อยู่เสมอ จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงวิลาศวงงาม (หร่ำ อินทรนัฏ) ศิลปินอาวุโสซึ่งท่านเป็นผู้แสดงโขนในสมัยรัชกาลที่ ๖ และนอกจากหลวงวิลาศวงงามแล้ว นายอร่าม อินทรนัฏ บุตรชายของหลวงวิลาศวงงาม ทศกัณฐ์ผู้มีฝีมือเป็นเอกของกรมศิลปากรก็ได้แนะนำสั่งสอนวิชาการทางด้านนาฏศิลป์ให้แก่นายหยัดเพิ่มเติมอีกด้วย
 
เมื่อ[[ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี]] <ref>[http://art.culture.go.th/index.php?case=artistDetail&art_id=23&pic_id=&side=dnc_art_th]</ref> ได้เข้ามารับราชการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยของกรมศิลปากร นายหยัด ช้างทอง ก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี และได้รับการถ่ายทอดวิชาการด้านนาฏศิลป์โขน ละคร และชุดเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จนนายหยัดสามารถแสดงละครเป็นตัวเอกได้หลายเรื่อง เช่นท้าวพันธุมสุริยวงศ์ ในละครเรื่องพระร่วง ชาละวัน ตัวจรเข้จระเข้ และท้าวรำไพ ในละครเรื่องไกรทอง พระพันวษา และขุนแผน ในละครเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นต้น
== เกียรติประวัติ ==
[[ไฟล์:47-PhraPhirapChart-DL.jpg|thumb|150px|right|แผนผังระยะเวลาการถ่ายทอดท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ]]