ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามดอกกุหลาบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
cleanup
บรรทัด 37:
[[ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 16 แห่งวอริก|เอิร์ลแห่งวอริก]]พยายามโค่นราชบัลลังก์โดยการร่วมมือกับ[[จอร์จ แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 1 แห่งแคลเรนซ์]] พระราชอนุชาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด เมื่อสำเร็จก็ยก[[พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเฮนรีที่ 6]] กลับมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินได้เป็นระยะเวลาสองปีก่อนที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจะทรงยึดราชบัลลังก์คืนได้ในปี [[ค.ศ. 1471]] เอิร์ลแห่งวอริกและ[[เอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์]]เสียชีวิตในสนามรบ ส่วนพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ก็ทรงถูกปลงพระชนม์ทันทีหลังจากนั้น
 
หลังจากนั้นบ้านเมืองก็อยู่ในความสงบอยู่ระยะหนึ่ง จนเมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตอย่างกระทันหันกะทันหันในปี [[ค.ศ. 1483]] พระอนุชา[[พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ|ริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์]]พยายามยับยั้งตระกูลวูดวิลล์และ[[เอลิซาเบธ วูดวิลล์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ|พระนางเอลิซาเบธ วูดวิลล์]]ในการมีอำนาจในการปกครองแทนพระราชโอรสของพระเชษฐา[[พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5]] ผู้ขณะนั้นยังทรงพระเยาว์ โดยการยึดราชบัลลังก์เป็นของตนเองและขึ้นครองราชย์เป็น[[พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าริชาร์ดที่ 3]] โดยอ้างว่าการสมรสของเอลิซาเบธ วูดวิลล์กับพระเชษฐาเป็นการเสกสมรสที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งทำให้พระราชนัดดาของพระองค์ไม่มีสิทธิในราชบัลลังก์ การยึดอำนาจและความสงสัยว่าพระองค์ทรงมีส่วนในการฆาตกรรมพระนัดดาทั้งสองคือ[[พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5]]และ[[ริชาร์ดแห่งชรูว์สบรี ดยุกที่ 1 แห่งยอร์ก]] พระราชอนุชา ([[เจ้าชายในหอคอย]]) ทำให้เกิดการก่อความไม่สงบขึ้นหลายแห่งในอังกฤษ
 
ในที่สุด[[พระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ|เฮนรี ทิวดอร์]]ผู้เป็นพระญาติห่าง ๆ ทางสายแลงแคสเตอร์ก็ทรงยกทัพกลับมาจากการลี้ภัยในบริตตานีมาอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ เฮนรี ทิวดอร์ได้รับชัยชนะต่อพระเจ้าริชาร์ดและสังหารพระองค์ได้ใน[[ยุทธการที่บอสเวิร์ธฟิลด์]] ในปี [[ค.ศ. 1485]] เฮนรี ทิวดอร์จึงขึ้นครองราชย์เป็น[[พระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเฮนรีที่ 7]] พระเจ้าเฮนรีทรงเสกสมรสกับ[[เอลิซาเบธแห่งยอร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ|เอลิซาเบธแห่งยอร์ก]] และก่อตั้งราชวงศ์ใหม่เป็น[[ราชวงศ์ทิวดอร์]]ที่เป็นราชวงศ์ที่รวม[[ราชวงศ์แลงแคสเตอร์]]และ[[ราชวงศ์ยอร์ก]]เข้าด้วยกัน
บรรทัด 89:
[[ไฟล์:HenryVIofEngland.JPG|upright|thumb|200px|พระเจ้าเฮนรีที่ 6]]
[[ไฟล์:Margaret_of_Anjou.jpg|upright|thumb|200px|พระนางมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู]]
เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 5 เสด็จสวรรคตอย่างกระทันหันกะทันหันในปี [[ค.ศ. 1422]] [[ พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ]]พระราชโอรสผู้ขึ้นครองราชย์ต่อมายังคงมีพระชนมายุได้เพียง 9 เดือน หลังจากการเสียชีวิตของ[[จอห์นแห่งแลงแคสเตอร์ ดยุกที่ 1 แห่งเบดฟอร์ด]] พระปิตุลา ในปี ค.ศ. 1435 แล้วพระองค์ก็ทรงมีแต่ผู้สำเร็จราชการและที่ปรึกษาประจำพระองค์ที่ไม่เป็นที่นิยม นอกจากพระปิตุลาทางพระราชบิดา[[ฮัมฟรีย์ ดยุกแห่งกลอสเตอร์]] (Humphrey, Duke of Gloucester) แล้วบุคคลอื่นที่มีชื่อเสียงก็ได้แก่[[เอ็ดมันด์ โบฟอร์ต ดยุกที่ 1 แห่งซัมเมอร์เซ็ท]] และ[[วิลเลียม เดอ ลา โพล ดยุกที่ 1 แห่งซัฟโฟล์ก]] ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าไม่มีสมรรถภาพในการบริหารรัฐบาล และในการบริหารการทำ[[สงครามร้อยปี]]กับฝรั่งเศส ภายใต้การปกครองของพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ดินแดนเกือบทั้งหมดของอังกฤษในฝรั่งเศสรวมทั้งดินแดนที่ได้มาจากการได้รับชัยชนะในการสงครามของพระราชบิดาก็สูญเสียกลับไปให้กับ[[ฝรั่งเศส]]
 
ในที่สุดดยุกแห่งซัฟโฟล์กก็สามารถกำจัดฮัมฟรีย์ ดยุกแห่งกลอสเตอร์สำเร็จโดยการจับในข้อหากบฏ ฮัมฟรีย์เสียชีวิตในปี [[ค.ศ. 1447]] ขณะที่รอการพิจารณาคดีในศาล แต่เมื่อสถานะการณ์ในฝรั่งเศสผันผวนไปดยุกแห่งซัฟโฟล์คก็ถูกปลดจากตำแหน่งและถูกฆาตกรรมระหว่างที่พยายามหนีไปหลบภัย ดยุกแห่งซัมเมอร์เซตขึ้นมามีอำนาจแทนในฐานะผู้นำผู้พยายามหาความสันติกับฝรั่งเศส แต่ดยุกแห่งยอร์กผู้ได้รับหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาทหารแห่งฝรั่งเศส (Lieutenant in France) ต่อจากดยุกแห่งเบดฟอร์ดผู้เป็นผู้นำฝ่ายที่ต้องการทำสงครามกับฝรั่งเศสต่อไปวิพากษ์วิจารณ์ราชสำนักและโดยเฉพาะดยุกแห่งซัมเมอร์เซ็ทว่าจำกัดเงินทุนและกำลังคนระหว่างที่พยายามต่อสู้อยู่ในฝรั่งเศส
บรรทัด 185:
การฟื้นฟูพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ในปี ค.ศ. 1471 บางก็กันเห็นว่าเป็นการสิ้นสุดของสงครามดอกกุหลาบหลัก บ้านเมืองกลับมามีความสงบสุขขึ้นอีกครั้งจนตลอดรัชสมัยของพระองค์ [[พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ|ริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์]]พระอนุชาองค์สุดท้องผู้ใกล้ชิดและสนับสนุนพระองค์มาตลอดพระชนม์ชีพ และ[[วิลเลียม เฮสติงส บารอนเฮสติงสที่ 1|วิลเลียม เฮสติงส]] ต่างก็ได้รับพระราชทานรางวัลในความจงรักภักดี และได้รับตำแหน่งเป็นข้าหลวงแห่งภาคเหนือ และ ข้าหลวงแห่งมิดแลนด์ตามลำดับ<ref>Baldwin, p.56</ref> ดยุกแห่งแคลเรนซ์พระอนุชา ผู้ทรงเป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์เพิ่มขึ้นทุกขณะก็ถูกประหารชีวิตในที่สุดในปี [[ค.ศ. 1478]] ในการมีส่วนพัวพันกับผู้ทรยศต่อแผ่นดินผู้ถูกลงโทษไปแล้ว
 
แต่เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมาเสด็จสวรรคตอย่างกระทันหันกะทันหันในปี [[ค.ศ. 1483]] ความระส่ำระสายทางการเมืองก็อุบัติขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ขุนนางต่างก็ชิงชังกับอิทธิพลของพระญาติพระวงศ์ตระกูลวูดวิลล์ของ[[เอลิซาเบธ วูดวิลล์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ|พระนางเอลิซาเบธ]] ([[แอนโทนี วูดวิลล์ เอิร์ลแห่งริเวอร์สที่ 2]] พระเชษฐาและพระโอรสจากการสมรสครั้งแรก[[ทอมัส เกรย์ มาร์ควิสที่ 1 แห่งดอร์เซต]]) และมองเห็นว่าเป็นขุนนางใหม๋ผู้ทะเยอทะยานและกระหายอำนาจ เมื่อสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตพระราชโอรสผู้สืบราชบัลลังก์ต่อมา[[พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5]] ก็เพิ่งมีพระชนมายุเพียง 12 พรรษาผู้ที่ทรงได้รับการเลี้ยงดูภายใต้การนำของเอิร์ลแห่งริเวอร์สอยู่ที่[[ลัดโลว์]]
 
บนพระแท่นที่ประชวรพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงแต่งตั้งให้พระอนุชาริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์เป็น “[[เจ้าผู้อารักขา|ผู้อารักขาอังกฤษ]]” (Protector of England) ขณะนั้นริชาร์ดยังอยู่ทางตอนเหนือของอังกฤษเมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคต [[วิลเลียม เฮสติงส์ บารอนเฮสติงส์ที่ 1]] ก็รีบส่งข่าวไปให้ริชาร์ดลงมายังลอนดอนพร้อมกับกองทัพเพื่อที่จะมาปราบปรามฝ่ายวูดวิลล์ที่อาจจะลุกขึ้นมาต่อต้าน<ref>Rowse, p.186</ref> [[เฮนรี สแตฟฟอร์ด ดยุกที่ 2 แห่งบักกิงแฮม]] ก็หันไปสนับสนุนริชาร์ด