ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การรับน้อง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
cleanup
บรรทัด 31:
การว๊ากน้องเริ่มจะกลายเป็นประเพนีนิยมในมหาวิทยาลัยในสหรัฐและแคนาดาตั้งแต่ปี พ.ศ.2390 ไม่ว่ามหาวิยาลัยจะมีระบบภารดรภาพหรือไม่ก็ตามในเวลาเดียวกันกับที่ระบบ Fagging ในอังกฤษที่เริ่มเข้าสู่จุดอิ่มตัว ในประมาณปี พ.ศ. 2420 ระบบว๊ากเริ่มแพร่ขยายไปตามชมรมกีฬาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ตามคณะต่างๆในมหาวิทยาลัยที่ไม่มีระบบภารดรภาพหรือมหาวิทยาลัยแห่งรัฐต่างๆที่ตั้งขึ้นภายหลังโดยใช้ระบบเยอรมัน ในช่วงนี้เริ่มมีคนหันมาต่อต้านระบบว๊ากกันมากขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยต่างๆทั้งในสหรัฐและแคนาดายังเพิกเฉยอยู่ระบบว๊ากจึงยังคงแพร่หลายต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งทั้งๆที่มีการถกเถียงเกี่ยวกับการรับน้องในระบบนี้ก็ตาม(http://www.kappasigma.org/ideabank/historyhazing.htm; ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์, 2548) ประเพณีการรับน้องระบบว้ากเริ่มทวีความรุนแรงหลังจากสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ.2457-2461 เมื่อทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้แก่สหรัฐ อังกฤษและฝรั่งเศสในแนวรบด้านตะวันตกได้พัฒนาระบบการปลูกฝังให้กับทหารใหม่ที่เข้าค่ายรับการฝึกใน Boot Camp ก่อนที่จะออกรบ โดยมีเทคนิคต่างๆเช่น การข่มขู่ การกลั่นแกล้งทหารใหม่ วิธีการรับน้องใหม่ การแบ่งสี หรือการล้อเล่นที่พิสดาร เป็นต้น ซึ่งเป็นเทคนิคที่เน้นว่า “รวมกันเราอยู่แยกกันเราตาย” หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง เหล่าทหารผ่านศึกชาวอเมริกันและชาวแคนาดาที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ในนามของอังกฤษที่ปลดประจำการจึงกลับเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยอีกครั้ง (ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ 2548; Agarwal, 2005; http://en.wikipedia.org/wiki/Hazing) และได้นำเทคนิคที่ได้รับการฝึกฝนจาก Boot Camp ไปแนะนำกับนักศึกษาคนอื่นๆที่ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์หรือวิธีการใช้เทคนิคเหล่านี้จนทำให้รับการน้องใหม่ไม่ว่าจะเป็นของ Fraternity, Sorority ชมรมกีฬาหรือการรับน้องเป็นชั้นปีในมหาวิทยาลัยต่างๆในสหรัฐ แคนาดาและฟิลิปปินส์ซึ่งขณะนั้นเป็นอาณานิคมของสหรัฐจึงทำให้การรับน้องมีความรุนแรง การดูหมิ่น กดดันเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันทหารผ่านศึกชาวอังกฤษและชาวอาณานิคมอื่นๆของอังกฤษก็นำเทคนิคเหล่านี้กลับเผยแพร่ในโรงเรียนทหารและโรงเรียนกินนอนของประเทศที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกาใต้เช่นเดียวกัน โดยทำให้ระยะเวลาการเป็น Fag ของน้องใหม่สั้นลงและเรียกเทคนิคการกลั่นแกล้งกดดันน้องใหม่ว่า Ragging ในประเทศอาณานิคมเหล่านั้น (Agarwal, 2005; http://en.wikipedia.org/wiki/Ragging) คำว่า Ragging นั้นคนอังกฤษในปัจจุบันเองอาจจะไม่รู้จักเพราะถ้าดูในพจนานุกรมของอ๊อกซ์ฟอร์ด ลองแมนหรือเคมบริดจ์ ก็จะแปลว่า การแกล้งล้อเล่นสนุกๆและถูกตีตราว่าเป็นคำสมัยเก่าเลิกใช้ในอังกฤษไปแล้ว แต่ถ้าถามคนที่มาจากอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน มาเลเซีย สิงค์โปร์ หรือแอฟริกาใต้จะรู้ดีว่าหมายถึงการรับน้องในระบบว๊ากนั่นเอง
 
ในสหรัฐและแคนาดาหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ระบบว๊ากพัฒนาไปตามสภาพความเปลี่ยนแปลงของสังคมและประสบการณ์ทวีความรุนแรง และวิตถารมากขึ้นๆตามลำดับ ประมาณช่วงปี พ.ศ. 2470 การว๊ากน้องในหน่วยทหารกลายมาเป็นพาดหัวข่าวตามหนังสือพิมพ์ในสหรัฐ ตามมาด้วยการว๊ากน้องแบบชั้นปีและชมรมกีฬา ซึ่งข่าวก็จะลงเรื่องการตาย บาดเจ็บ พิการ หรือสูญเสียสภาพจิตใจกันทุกปีมากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่ ซึ่งน้องใหม่ในยุคนี้เริ่มเชื่อว่าประเพณีการว๊ากมาจากบรรดาผู้ก่อตั้งทั้งหลายของมหาวิทยาลัย ชมรมหรือกลุ่มภราดรภาพที่ตนเองสังกัดอยู่ ในช่วงนี้เริ่มมีกฎเกณฑ์เข้ามาควบคุมการรับน้องในบางรัฐของสหรัฐ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มมีน้องใหม่กบฎกบฏต่อระบบว๊ากในบางมหาวิทยาลัยและประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงวิธีการหรือ ประเพณีการรับน้องเสียใหม่ ระบบการว๊ากน้องตามคณะหรือสาขาวิชาที่คล้ายกับของไทยหรืออินเดียเริ่มที่จะเลือนหายไปในช่วงนี้ แต่ระบบว๊ากที่ยังคงอยู่ในกลุ่มภราดรภาพ กลุ่มชมรมตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น ชมรมเชียร์ ชมรมกีฬา ก็ยังคงเบ่งบานในสหรัฐและแคนาดาและเป็นกลุ่มที่ผู้เข้าร่วมเข้าร่วมโดยสมัครใจ (ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์, 2548 ; Agarwal, 2005; http://www.kappasigma.org/ideabank/historyhazing.htm) ดังนั้นจึงเป็นที่รับรู้กันหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่าระบบว๊ากเป็นประเพณีประจำของกลุ่มภราดรภาพเหล่านี้ไป หลายๆรัฐเริ่มทยอยกันร่างกฏหมายต่อต้านระบบว๊ากออกมาบังคับใช้ตามกันมาจนถึงเรื่อยๆ (ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์, 2548; http://www.kappasigma.org/ideabank/historyhazing.htm) เนื่องจากสถิติคร่าวๆนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2513-2548 ในสหรัฐจะต้องมีคนตายจากการรับน้องอย่างน้อย 1 คนในแต่ละปี (Nuwen, 1999; Delaney, 2005). จึงมีแรงบีบต่อกลุ่มภราดรภาพจนมีสมาชิกลดน้อยถอยลงทำให้ระบบนี้อ่อนกำลังลงไปอีกเพราะในระยะยี่สิบกว่าปีหลังมานี้สังคมไม่ยอมรับคนรุ่นใหม่ๆก็ไม่ยอมรับ กระนั้นก็ตามปัญหาความรุนแรงในรูปแบบต่างๆจากกระบวนการรับน้องเหล่านี้ก็ยังไม่หมดไปในที่สุดก็มีความเคลื่อนไหวจากจุดเล็กจุดน้อยในการต่อต้านระบบว๊ากโดยมีผู้นำอย่าง แฮงค์ นูเวน (Hank Nuwen) และเว็ปไซด์ www.stophazing.com เป็นต้น
 
ในอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน มาเลเซีย สิงค์โปร์ หรือแอฟริกาใต้การนำระบบว๊าก (Ragging) มาใช้ผ่านทหารบกและระบบโรงเรียนกินนอนที่นำเข้ามาจากอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคม ซึ่งในอินเดียช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นระบบว๊ากเป็นเพียงการล้อเล่นรุ่นน้องที่สนุกสนานของรุ่นพี่เท่านั้น จนกระทั่งล่วงมาถึงปี พ.ศ.2510 เมื่อมหาวิทยาลัยในอินเดียเริ่มรับนักศึกษาจากวรรณะต่ำและศาสนาอื่นๆที่ไม่ใช่ฮินดูเข้ามาเรียนมากขึ้นระบบว๊ากอย่างอ่อนๆที่เคยใช้กับนักศึกษาเฉพาะในวรรณะสูงอย่างในอดีตก็ถูกปรับให้เข้มขึ้นเพื่อลดปัญหาความเกลียดชังระหว่างวรรณะ ศาสนาและถิ่นฐานลง ด้วยอิทธิพลของสื่อในช่วง พ.ศ.2520 ทำให้การรับน้องเริ่มมีความโหดร้ายและรุนแรงมากขึ้น โดยการว๊ากกลายเป็นการทดสอบความกล้าบ้าบิ่นของนักศึกษารุ่นพี่ นักศึกษารุ่นพี่หลายคนที่ไม่เต็มใจว๊ากน้องก็ต้านแรงกดดันจากเพื่อนร่วมรุ่นไม่ไหวต้องร่วม ว๊ากน้องด้วย ในช่วงปี พ.ศ.2535 เริ่มมีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และแพทย์ศาสตร์ของเอกชนเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดก็เริ่มเอาระบบว๊ากเข้าไปใช้และเริ่มมีการสถิติการฆ่าตัวตายของน้องใหม่เพิ่มขึ้น ในที่สุดรัฐทมิฬนาดูซึ่งมีสถิติการตายจากการรับน้องสูงสุดจึงต้องออกกฎหมายต่อต้านการรับน้อง (Anti-Ragging Law) ออกใช้ในปี พ.ศ.2540 เป็นรัฐแรกในอินเดีย และในปี พ.ศ. 2544 ศาลฎีกาของอินเดียวินิจฉัยตัดสินให้การรับน้องระบบว๊ากเป็นสิ่งผิดกฎหมายทั่วอินเดีย ทำให้การว๊ากน้องในช่วงกลางวันหายไป และได้ลงใต้ดินในช่วงกลางคืนตามหอพักต่างๆ (Agarwal, 2005; http://en.wikipedia.org/wiki/Ragging) ในฟิลิปปินส์ซึ่งไทยรับเอาแบบอย่างการรับน้องระบบว๊ากเข้ามา มีการรับน้องเป็นครั้งแรกในองค์กรลับในปี พ.ศ. 2435 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเคลื่อนไหวต่อต้านสเปนที่ปกครองฟิลิปปินส์อยู่ (Llaneta, 2009) หลังจากสงครามสเปน-อเมริกัน ฟิลิปปินส์ก็ตกเป็นอาณานิคมของสหรัฐตั้งแต่ปี พ.ศ. 2441 หลังจากนั้นสิบปี ในปีพ.ศ. 2451 มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ (University of The Philippines) (http://www.up.deu.ph) ก็ได้มีการนำระบบ Fraternity เข้ามาใช้ด้วย ในระยะแรกก็ไม่มีปัญหาอะไรมาก หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 บรรดาอาจารย์ที่จบจากมหาวิทยาลัยต่างๆในสหรัฐอเมริกาก็เริ่มนำเทคนิคจาก Boot Camp เข้ามาใช้ในระบบภราดรภาพเช่นกัน ซึ่งจะจัดตั้งกลุ่มภราดรดรภาพตามสาขาที่เรียน ความเข้มข้นของการว๊ากน้องก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละคณะ กลุ่มภราดรดรภาพคณะนิติศาสตร์ ก็จะมีแค่พาไปก่อกวนโรงละครแล้ววิ่งหนียาม หรือแอบปีนหน้าต่างโรงพยาบาล เป็นต้น กลุ่มภราดรดรภาพคณะเกษตรก็มีการคลุกโคลนปีนเสา กลุ่มภราดรดรภาพคณะแพทย์ศาสตร์นั้นเป็นที่รู้กันว่าโหดที่สุด เนื่องจากระยะการรับน้องที่นานที่สุด น้องใหม่หลายคนทนไม่ได้จนต้องออกไป ระบบภราดรภาพในฟิลิปปินส์ในช่วงแรกๆจะต่างจากในสหรัฐและแคนาดาตรงที่นักศึกษาเกือบทุกคนจะเป็นสมาชิกของกลุ่มภราดรภาพไม่กลุ่มใดก็กลุ่มหนึ่งเนื่องจากใครที่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มจะรู้สึกว่ามีหน้ามีตา ในช่วงก่อนการประกาศกฎอัยการศึกของรัฐบาลมาร์คอสในปี พ.ศ. 2514 มีสถิติการตายจากการรับน้องน้อยมากในฟิลิปปินส์ หลังจากประกาศกฎอัยการศึกที่ห้ามการชุมนุมของบุคคลตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปจึงทำให้กลุ่มภราดรภาพเหล่านี้แทบจะผูกขาดอำนาจในองค์กรนักศึกษาต่างๆในฟิลิปปินส์ เนื่องจากขาดเสรีภาพทางการเมืองกลุ่มภราดรภาพเหล่านี้จึงหันมาแข่งขันกันว่าใครดีกว่า สมาชิกกลุ่มเหล่านี้บางคนเริ่มก่ออาชญากรรมเช่น สมาชิกกลุ่มภราดรภาพบางแห่งในมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์จับคนไปเรียกค่าไถ่และฆ่าเหยื่อตายหรือข่มขืนผู้หญิงและฆ่าเพื่อนชายของเหยื่อตาย นอกจากนี้ยังมีการยกพวกตีกันระหว่างกลุ่มภราดรภาพต่างๆจนมีการบาดเจ็บล้มตายเกิดขึ้น แต่หลังจากการปฏิวัติขับไล่มาร์คอสในปี พ.ศ.2529 บรรยากาศทางการเมืองในฟิลิปปินส์เริ่มมีเสรีภาพ สื่อมวลชนจึงเริ่มหันมาสนใจประเด็นเรื่องการบาดเจ็บล้มตายจากการรับน้อง การยกพวกตีกันระหว่างกลุ่มภราดรภาพต่างๆ สังคมฟิลิปปินส์เริ่มมองกลุ่มภราดรภาพในแง่ลบโดยเฉพาะในเรื่องการรับน้องที่อันตรายและการทะเลาะวิวาทกันเองระหว่างกลุ่มภราดรภาพเหล่านี้ ในปี พ.ศ. 2538 ประธานาธิบดีฟิเดล รามอส จึงลงนามประกาศใช้กฎหมายต่อต้านการรับน้องขึ้น แต่การตายจากการรับน้องยังคงมีอยู่จนกระทั่งในปัจจุบันนักการเมืองหลายท่านซึ่งในอดีตเคยเป็นสมาชิกของกลุ่มภราดรภาพเรียกร้องให้มีการยกเลิกกลุ่มภราดรภาพทั่วทั้งฟิลิปปินส์ (Uy, 2007; Llaneta, 2009)