ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
cleanup
บรรทัด 12:
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเหตุให้ [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช]] อดีตเสนาบดี[[กระทรวงกลาโหม]] เกิดความขุ่นข้องหมองพระทัย และได้ก่อเหตุการณ์กบฏบวรเดชขึ้น ในเดือน[[ตุลาคม]] ปีเดียวกันนั้น โดยพระยาศรีสิทธิสงครามเข้าร่วมด้วย มีฐานะเป็น[[แม่ทัพ]] รับหน้าที่เป็นกองระวังหลัง จนเมื่อทางฝ่ายกบฏเพลี่ยงพล้ำต่อรัฐบาล ในเวลา[[สนธยา|พลบค่ำ]]ของวันที่ [[23 ตุลาคม]] ปีเดียวกัน พระยาศรีสิทธิสงครามได้เป็นผู้เดินไปเจรจากับทหารฝ่ายรัฐบาล เพื่อขอให้หยุดยิง แต่ปรากฏว่า พระยาศรีสิทธิสงครามได้ถูกยิง[[เสียชีวิต]] ที่[[สถานีรถไฟหินลับ]] [[จังหวัดสระบุรี]] โดย ร้อยโท ตุ๊ จารุเสถียร ([[ประภาส จารุเสถียร]]) จากนั้น ร่างของพระยาศรีสิทธิสงครามได้ถูกส่งกลับ[[กรุงเทพมหานคร]] โดยทำการฌาปนกิจอย่างเร่งด่วนที่ [[วัดอภัยทายาราม]] หรือวัดมะกอก โดยที่ทางครอบครัวไม่ได้รับรู้มาก่อนเลย และกว่าจะได้อัฐิกลับคืนก็เป็นเวลาล่วงไป 3-4 ปีแล้ว อีกทั้งยังถูกคุกคามต่าง ๆ นานา ตลอดสมัยรัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งสิ้นสุด[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]
 
ชีวิตครอบครัวของพระยาศรีสิทธิสงคราม [[สมรส]]กับ คุณหญิงศรีสิทธิสงคราม (ตลับ ท่าราบ-นามสกุลเดิม อ่ำสำราญ) มีบุตรธิดาทั้งหมด 4 คน ได้แก่ นางอัมโภช จุลานนท์ (มารดาของพลเอก [[สุรยุทธ์ จุลานนท์]]), แพทย์หญิง[[โชติศรี ท่าราบ]], นางอารีพันธ์ ประยูรโภคราช และนายชัยสิทธิ์ ท่าราบ<ref>[http://www.postbooksonline.com/media/pdf_files/post_book_44.pdf ‘เขา’ ชื่อ ‘พระยาศรี’]</ref> <ref>[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1285923146&grpid=&catid= 90ปี "โชติศรี ท่าราบ" จาก "หมอจิ๋ว" ลูกกบฎกบฏ สู่ "หมอเพลง บรรเลงภาษา" ผู้เลอค่าในแวดวงวรรณกรรม จาก[[มติชน]]]</ref>
 
==อ้างอิง==