ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าโคจงแห่งโครยอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
cleanup
บรรทัด 9:
ต้นศตวรรษที่ 13 เป็นช่วงเวลาแห่งการขยายอำนาจของ[[มองโกล]] ในค.ศ. 1225 [[วอเคอไตข่าน]] (Ögedei Khan) ส่งฑูตมาเรียกร้องบรรณาการจากโครยอ แต่ฑูตมองโกลถูกลอบสังหารอย่างปริศนา<ref>Jae-un Kang, Jae-eun Kang, Suzanne Lee. ''The land of scholars: two thousand years of Korean Confucianism''.</ref> วอเคอไตข่านจึงแก้แค้นเกาหลีโดยการส่งแม่ทัพซาร์ไต (Sartai) ยกทัพมองโกลมาบุกเกาหลีในค.ศ. 1231 รุกข้ามแม่น้ำยาลูมาอย่างรวดเร็วชเวอูระดมพลเกาหลีไปป้องกันได้ที่เมืองคูซอง (구성, 龜城) แต่ทัพมองโกลนั้นมีความรวดเร็วสามารถยึดเมือง[[แคซอง]]ได้ในค.ศ. 1232 ด้วยความช่วยเหลือของฮงบกวอน (홍복원, 洪福源) ขุนนางเกาหลีที่ไปเข้ากับมองโกล ราชสำนักเกาหลีต้องยอมเสียเงินทองผ้าไหม รวมทั้งม้าและทาสให้กับมองโกลเป็นค่าชดเชย และวอเคอไตข่านยังให้ผู้ตรวจการ (darugachi) จำนวน 72 คนอยู่ควบคุมสถานการณ์ในโครยอ
 
แต่ชเวอูก็ได้สั่งให้นำผู้ตรวจการทั้ง 72 คนไปสังหารเสีย แล้วย้ายราชสำนักไปที่เกาะคังฮวา สร้างป้อมปราการแข็งแรงล้อมรอบ ซึ่งแผนการย้ายราชสำนักนี้เป็นที่ต่อต้านของพระเจ้าโคจงและขุนนางฝ่ายพลเรือนทั้งหลาย ที่เห็นว่าไม่ควรจะไปสู้รบกับมองโกลเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โครยอ ราชสำนักที่เกาะคังฮวานั้นเป็นวังของชเวอูมากกว่าที่จะเป็นพระราชวังของพระเจ้าโคจง<ref>http://www.koreanhistoryproject.org/Ket/C06/E0602.htm</ref> ออเกอเดย์ข่านเห็นว่าการย้ายเมืองหลวงของเกาหลีเป็นการเตรียมรบกับมองโกล จึงส่งทัพมาบุกอีกนำโดยฮงบกวอน ขุนนางเกาหลีที่ไปเข้าพวกมองโกล ปรากฎปรากฏว่าแม่ทัพซาร์ไตถูกลอบสังหารโดยพระภิกษุชื่อว่าคิมยุนฮู
 
ทัพมองโกลยังคงอยู่ในเกาหลีต่อมา ในค.ศ. 1236 พระเจ้าโคจงมีพระราชโองการให้จัดพิมพ์[[พระไตรปิฏกภาษาเกาหลี]] (팔만대장경, 八萬大藏經, Tripitaka Koreana) เก็บไว้ที่วัดแฮอิน (해인사, 海印寺) ขึ้นมาเพื่อทดแทนของเดิมที่ถูกมองโกลทำลายและทรงเชื่อว่าการทำเช่นนี้จะทำให้ได้บุญและโครยอจะรอดพ้นจากการรุกรานของมองโกล เมื่อวอเคอไตข่านเสียชีวิตในค.ศ. 1241 การรุกรานของมองโกลจึงหยุดไป