ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
cleanup
บรรทัด 27:
ในศตวรรษที่ 19 นายแพทย์ H. R. Silvester ได้อธิบายวิธีการจำลองการหายใจในผู้ป่วยที่ไม่หายใจโดยให้นอนหงาย ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะเพื่อให้เกิดการหายใจเข้า ร่วมกับการกดหน้าอกเพื่อใหเกิดการหายใจออก โดยให้ทำต่อเนื่อง 16 ครั้งต่อนาที วิธีการนี้เรียกว่า The Silvester Method พบได้ในภาพยนตร์บางเรื่องช่วงต้นศตวรรษที่ 20
 
เทคนิคที่ 2 เรียกว่า Holger Neilson technique ซึ่งมีการอธิบายไว้ในคู่มือลูกเสือ (Boy Scout Handbook) ของสหรัฐอเมริกา ฉบับที่ 1 ปี ค.ศ. 1911 เสนอการช่วยหายใจโดยให้นอนคว่ำทับฝ่ามือ ตะแคงหน้า ให้ผู้ช่วยเหลือดึงข้อศอกขึ้นเพื่อกางแขนพร้อมกับกดหลังทำให้อากาศไหลเข้าปอด คล้ายกับการทำ Silvester Method แต่ทำในท่านอนคว่ำ วิธีการนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงทศวรรษ 1950 (ปรากฎปรากฏในภาพยนตร์ ''[[Lassie]]'') รวมถึงปรากฎปรากฏในภาพยนตร์การ์ตูนหลายเรื่อง และบ่อยครั้งเป็นไปเพื่อความขบขัน (ภาพยนตร์การ์ตูน ''Tom and Jerry'' ตอน The Cat and the Mermouse) และยังคงลงอธิบายอยู่ในหนังสือคู่มือลูกเสือควบคู่กับวิธีซีพีอาร์แบบสมัยใหม่จนถึงฉบับที่ 9 ใน ค.ศ. 1979 ก่อนที่จะถูกห้ามให้ลงในคู่มือกู้ชีพในสหราชอาณาจักร
 
ในกลางศตวรรษที่ 20 สังคมการแพทย์เริ่มรับรู้และแนะนำให้คนทั่วไปใช้การช่วยการหายใจร่วมกับการกดหน้าอกเป็นการกู้ชีพหลังเกิดภาวะหัวใจหยุด โดยมีการใช้ครั้งแรกในวิดีโอฝึกสอนปี 1962 ชื่อ "The Pulse of Life" โดย James Dude, Guy Knickerbocker และ Peter Safar โดย Jude และ Knickerbocker ร่วมกับ William Kouwenhoven และ Joseph S. Redding ได้ค้นพบวิธีการนวดหัวใจจากภายนอก ในขณะที่ Safar ได้ทำงานร่วมกับ Redding และ James Elam เพื่อพิสูจน์ประสิทธิผลของการช่วยหายใจ ส่วนเทคนิกการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพนั้นพัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัย Johns Hopkins ความพยายามแรกในการนำเทคนิกนี้มาใช้เป็นการทำกับสุนัขโดย Redding, Safar และ JW Perason หลังจากนั้นไม่นานก็มีการนำมาใช้ช่วยชีวิตเด็ก ผลการค้นพบที่ทำร่วมกันนี้ได้รับการนำเสนอที่งานประชุม Maryland Medical Society ประจำปีเมื่อวันที่ 16 กันยายน 1960 ในเมือง Ocean หลังจากนั้นจึงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและรวดเร็วในช่วงทศวรรษต่อมา ด้วยความช่วยเหลือจากวิดีทัศน์และงานบรรยายที่พวกเขาได้ไปบรรยาย Peter Safar ได้เขียนหนังสือ ''ABC of resuscitation'' ไว้ในปี 1957 และได้รับการสนับสนุนให้มีการเผยแพร่แก่สาธารณชนให้เกิดการเรียนรู้ในช่วงทศวรรษปี 1970