ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทำลายป่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tanyarat Komol (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tanyarat Komol (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15:
== ผลของการตัดไม้ทำลายป่า ==
ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เมื่อไม่มีต้นไม้ปกคลุมทำให้แสงแดดส่องมายังพื้นโลกมากขึ้น ต้นไม้ยังช่วยขยายวัฏจักรของน้ำ ทำให้เกิดการหมุนกลับของไอน้ำเข้าสู่บรรยากาศ การทำลายป่าทำให้อุณภูมิของโลกสูงขึ้น อาจเป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์
== ปัญหาทางสิ่งแวดล้อม ==
'''ทางด้านชั้นบรรยากาศ'''
การตัดไม้ทำลายป่ามีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปรากฏการณ์เรือนกระจก การตัดไม้ทำลายป่าในเขตร้อนมีส่วนประมาณร้อยละ 20 ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบนโลก ตามที่กล่าวโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ([http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/climate-and-energy/governments/united-nations/ IPCC]) 1 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตร้อน ทว่าการคำนวณเมื่อไม่นานมานี้เสนอแนะว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า (ยกเว้นการปล่อยก๊าซในดินพรุ) มีส่วนร้อยละ 12 จากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ โดยมีขอบเขตอยู่ในร้อยละ 6-17
 
'''ทางด้านอุทกวิทยา'''
การตัดไม้ทำลายป่ามีผลต่อ[[วัฏจักรของน้ำ]] ต้มไม้สกัดน้ำบาดาลผ่านทางรากและปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ เมื่อใดที่พื้นที่ป่าบางส่วนถูกทำลาย ต้นไม้จะไม่คายน้ำอีกต่อไป มีผลทำให้สภาพอากาศแห้งมากขึ้น การตัดไม้ทำลายป่าลดปริมาณของน้ำในดินและน้ำบาดาล เช่นเดียวกับความชื้นในชั้นบรรยากาศ การตัดไม้ทำลายป่าลดการเกาะตัวของดิน ทำให้เกิดผลที่ตามมาคือหน้าดินพังทลาย น้ำท่วม และดินถล่ม ผืนป่าช่วยเพิ่มพูนการดูดซึมน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำในบางพื้นที่
พื้นที่ป่าที่มีขนาดเล็กลงมีความสามารถน้อยลงในการดักจับ ดูดซับ และปลดปล่อยปริมาณน้ำฝน แทนที่สกัดกั้นปริมาณน้ำฝนซึ่งจะซึมผ่านไปยังระบบน้ำบาดาล พื้นที่ป่าที่ถูกทำลายจะเป็นตัวการให้เกิดน้ำผิวดิน ซึ่งจะเคลื่อนที่ได้ไวกว่าการไหลของน้ำบาดาล การเคลื่อนที่ที่เร็วกว่าของน้ำผิวดินอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและเกิดน้ำท่วมเฉพาะพื้นที่รุนแรงกว่าที่เกิดกับพื้นที่ที่มีผืนป่าปกคลุม
การตัดไม้ทำลายป่ามีส่วนในการลดอัตราการระเหยและการคายน้ำ ซึ่งทำให้ความชื้นในชั้นบรรยากาศน้อยลง ในบางกรณีส่งผลกระทบต่อระดับปริมาณน้ำฝน ตามทิศทางของลมที่พัดมาจากพื้นที่ที่ป่าถูกทำลาย เนื่องจากป่าที่อยู่ตามทิศทางของลมไม่ได้นำน้ำกลับมาหมุนเวียนเพื่อใช้ใหม่ แต่น้ำได้กลายสภาพไปเป็นน้ำผิวดินและไหลกลับไปยังมหาสมุทรโดยตรง จากผลการศึกษาหนึ่งในขั้นต้นพบว่า ในพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายทางตอนเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยในแต่ละปีลดลง 1 ใน 3 ในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ 1980 ต้นไม้และพืชโดยทั่วไปส่งผลกระทบอย่างมากต่อวัฏจักรของน้ำ
 
'''ดิน'''
ป่าไม้ที่ยังไม่ถูกรุกราน มีอัตราการสูญเสียดินที่ต่ำ เพียงแค่ประมาณ 2 ตัน ต่อ ตารางกิโลเมตร โดยทั่วไปการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มอัตราการพังทลายของหน้าดิน โดยการเพิ่มประมาณของน้ำผิวดินและลดการป้องกันหน้าดินของเศษซากของต้นไม้
รากต้นไม้ยึดดินเข้าไว้ด้วยกัน และหากผืนดินอยู่ตื้นพอ ผืนดินจะยึดดินไว้ให้อยู่กับ[[หินดาน]]ที่อยู่ใต้ลึกลงไป การตัดไม้บนพื้นที่ลาดชัด ซึ่งที่ผืนดินอยู่ตื้น จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดดินถล่ม ซึ่งทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่โดยรอบตกอยู่ในอันตราย อย่างไรก็ตามการตัดไม้ทำลายป่าส่วนใหญ่มีผลกระทบแค่กับลำต้นของต้นไม้ หากยังปล่อยให้รากยึดติดอยู่กับดิน ก็แก้ไขปัญหาดินถล่มได้
 
'''ทางด้านนิเวศวิทยา'''
การตัดไม้ทำลายป่าส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพเสื่อมถอย การตัดและทำลายพื้นที่ที่ป่าไม้ปกคลุมทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ป่าไม้เกื้อหนุนความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า นอกเหนือจากนั้นป่าไม้ยังเป็นแหล่งที่เอื้อต่อการอนุรักษ์พืชจำพวกยารักษาโรค ด้วยเหตุผลที่เขตชีวชาติในป่าเป็นแหล่งที่หาสิ่งอื่นมาทดแทนไม่ได้ของตัวยาแบบใหม่ ๆ (เช่น แท็กซอล) การตัดไม้ทำลายป่าอาจเป็นการทำลายความหลากหลายทางพันธุกรรม (เช่น ภูมิต้านทานของพืชผล) โดยไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
== อ้างอิง ==
{{เริ่มอ้างอิง}}