ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mixvasuvadh (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mixvasuvadh (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
|พระมเหสี =
|พระราชสวามี = [[พระเจ้าสุทโธทนะศากยราชา]]
|พระราชโอรส/ธิดา = - [[พระนันทเถรศากยะ|เจ้าชายนันทศากยกุมาร]] <br /> - [[พระนันทาเถรี|เจ้าหญิงรูปนันทาศากยกุมารี]]
|ราชวงศ์ = [[ราชสกุลโกลิยวงศ์]]
|ทรงราชย์ =
บรรทัด 21:
}}
 
'''พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี''' หรือพระนามเดิม "'''พระนางมหาปชาบดีโคตมี"''' เป็นพระราชธิดาใน [[พระเจ้าอัญชนาธิปราช]]แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ และเป็นพระขนิษฐภคินี (น้องสาว) ของ[[พระนางสิริมหามายา]] ผู้เป็นพระพุทธมารดา ดังนั้นพระนางมหาปชาบดีโคตมี จึงเป็นพระมาตุจฉาของ[[พระโคตมสมณโคดมพุทธเจ้า]] ทรงเป็น[[ภิกษุณี]]รูปแรกใน[[พระพุทธศาสนา]] และทรงได้เรียนกรรมฐานและทรงปฏิบัติอย่างจริงจัง จนได้บรรลุพระเป็น[[พระอรหันต์]] พระพุทธจ้าทรงยกย่องท่านว่าเป็น[[เอตทัคคะ]] คือ เลิศกว่าผู้อื่นในทางรัตตัญญู (คือ ผู้มีประสบการณ์มากรู้ราตรีนาน)
 
พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นพระมาตุจฉาของพระพุทธเจ้า และเมื่อพระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์แล้ว หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ 7 วัน ในกาลต่อมา [[พระเจ้าสุทโธทนะ]]ได้ทรงตั้งพระนางมหาปชาบดีโคตมีไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี ซึ่งพระนางได้ทรงเลี้ยงดูถวายการอภิบาลเจ้าชายสิทธัตถะ เสมือนเป็นพระราชโอรสของพระนางเอง พระนางมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งพระนามว่า [[พระนันทเถรศากยะ|เจ้าชายนันทะ]] และมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่งพระนามว่า [[พระนันทาเถรี|เจ้าหญิงรูปนันทา]]
 
พระนางได้ทรงแสดงความประสงค์จะบวชต่อพระพุทธเจ้าในคราวที่พระองค์เสด็จไปโปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ ณ [[กรุงกบิลพัสดุ์]] แต่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงอนุญาตให้พระนางอุปสมบท เนื่องจากยังไม่เคยทรงอนุญาตให้สตรีอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมือง[[เวสาลี]]และประทับอยู่ที่ กูฏาคารศาลา[[ป่ามหาวัน]] พระนางปชาบดีโคตมีพร้อมด้วยนางสากิยานีจำนวนมาก จึงได้ปลงพระเกศา ห่มผ้ากาสายะ เป็นการแสดงเจตนาที่จะบวชอย่างแรงกล้า โดยเสด็จไปยังกูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เมืองเวสาลี เพื่อทรงทูลขออุปสมบท โดยพระนางได้ทรงแจ้งพระประสงค์ต่อ[[พระอานนท์]]ให้นำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า ขอให้พระนางพร้อมทั้งเหล่านางสากิยานีได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระอานนท์ใช้ความพยายามอยู่หลายหน พระพุทธเจ้าจึงทรงออกหลัก ปฏิบัติเป็นพิเศษสำหรับสตรีผู้ที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา คือ[[ครุธรรม 8]] ซึ่งพระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงยินดีปฏิบัติตามครุธรรม ทั้ง 8 ประการ จึงได้รับการอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเหล่านางสากิยานี