ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซากาโมโตะ เรียวมะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "แคว้นโทะสะ" → "แคว้นโทะซะ" ด้วยสจห.
บรรทัด 8:
| caption =
| birth_date = [[3 มกราคม]] [[ค.ศ. 1836]]
| birth_place = [[โคจิ]], [[แคว้นโทะสะโทะซะ]], [[ญี่ปุ่น]]
| death_date = {{dda|mf=y|1867|12|10|1836|1|3}}
| death_cause = [[การลอบสังหาร|ถูกลอบสังหาร]]
บรรทัด 37:
| caption2 = [[ทะเกะชิ ซุยซัน]] ผู้นำกลุ่ม[[โทะสะคินโนโท]]
}}
ซะกะโมะโตะ เรียวมะเกิดในปี [[ค.ศ. 1836]] ตรงกับศักราชเทมโป ปีที่ 6 ณ เมืองโคจิ [[แคว้นโทะสะโทะซะ]] (ปัจจุบันแคว้นนี้ได้แก่พื้นที่[[จังหวัดโคจิ]] บน[[เกาะชิโกะกุ]]) เขาเป็นบุตรของครอบครัวตระกูล[[ซามูไร]]ชั้นโกชิ ซึ่งมีบรรพบุรุษเป็นชนชั้นพ่อค้าทำอาชีพกลั่น[[สาเก]]ขาย และได้เลื่อนขึ้นเป็นซามูไรโดยการซื้อตำแหน่ง (ซามูไรประเภทนี้นับเป็นซามูไรระดับต่ำที่สุดใน[[ระบบศักดินาญี่ปุ่น]]) ในวัยเด็กนั้นเรียวมะมักถูกรังแกเวลาอยู่ที่โรงเรียน พี่สาวคนหนึ่งของเรียวมะจึงย้ายให้เขาไปเรียนอยู่ในสำนักดาบแทน จนกระทั่งเมื่อเจริญวัยขึ้น เขาก็ได้เป็นครูดาบอยู่ในแคว้นโทะสะซะแห่งนั้น
 
ต่อมาในปี [[ค.ศ. 1853]] เรียวมะได้เดินทางไปที่นครเอะโดะเพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ของ[[จิบะ ซะดะคิจิ]] เจ้าสำนัก[[เค็นจุตซึ|ดาบ]]สาย[[โฮะคุชินอิตโตริว]] อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พลเรือจัตวา[[แมทธิว แคลเบรธ เพอร์รี]] แห่ง[[ประเทศสหรัฐอเมริกา]] ได้นำกองเรือรบมาเยือน[[ประเทศญี่ปุ่น]] เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศค้าขายกับชาวตะวันตกอีกครั้งหลังจากโดดเดี่ยวตนเองมานานหลายร้อยปี ในระยะดังกล่าวเรียวมะได้ถูกชักจูงให้เกิดความรู้สึกรักชาติจากสำนักเรียนของซามูไรซึ่งสนับสนุนแนวคิดทางการเมืองกลุ่ม[[ซนโนโจอิ]] หรือ "เทิดทูนจักรพรรดิ ขับคนป่าเถื่อน"
 
เมื่อเรียวมะสำเร็จวิชาดาบและเดินทางกลับมาที่โทะสะ เขาถูกชักชวนให้เข้าร่วมกลุ่ม[[โทะสะคินโนโท]] ซึ่งเป็นกลุ่มซามูไรระดับล่างหัวรุนแรงในแคว้นโทะสะซะภายใต้การนำของ[[ทะเกะชิ ซุยซัน]] (มีอีกชื่อหนึ่งว่า "ทะเกะจิ ฮัมเปตะ") ผู้ยึดมั่นในแนวคิดเทิดทูนพระจักรพรรดิและต่อต้าน[[รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ]] ทว่าเมื่อสถานการณ์บีบคั้นมากขึ้น เนื่องจากแนวทางการขับไล่ต่างชาติของซามูไรระดับล่างไม่ได้รับการตอบสนองจากชนชั้นปกครองในแคว้น ประกอบกับความขัดแย้งทางความคิดของเรียวมะซึ่งไม่เห็นด้วยกับแนวทางใช้ความรุนแรงของทะเกะจิ เขาจึงตัดสินใจหนีออกจากแคว้นโทะสะโทะซะ และใช้ชีวิตร่อนเร่ไปยังที่ต่างๆ ในฐานะ[[โรนิน]]หรือซามูไรไร้นาย<ref>Hongo, Jun, "[http://search.japantimes.co.jp/cgi-bin/nn20100427i1.html Sakamoto, the man and the myth]", ''[[Japan Times]]'', April 27, 2010, p. 3.</ref>
 
== ศิษย์ของคะสึ ไคชู ==
บรรทัด 86:
เรียวมะได้กลายเป็นตัวกลางในการเจรจาลับให้แคว้นซัตสึมะและ[[แคว้นโจชู]]ร่วมมือกันเป็น[[พันธมิตรซัตโจ|พันธมิตรต่อต้านรัฐบาลโชกุน]] ทั้งนี้เนื่องจากว่าทั้งสองแคว้นนั้นต่างเป็นศัตรูกันมาตลอดตั้งแต่อดีต ในขณะนั้นนับได้ว่าเรียวมะมีฐานะเป็นคนนอกที่เป็นกลางไม่เข้าข้างทั้งสองฝ่าย อันเป็นสิ่งจำเป็นในการทำลายช่องว่างทางความคิดและความรู้สึกของทั้งสองแคว้น นอกจากนี้เขายังได้ก่อตั้งกองเรือเอกชนและบริษัทการค้าชื่อ คะเมะยะมะชาจู ([[:ja:亀山社中|亀山社中]]) ที่เมือง[[นะงะซะกิ]]เพื่อบุกเบิกการค้าขายทางทะเลกับชาวต่างประเทศโดยมีคนญี่ปุ่นดำเนินการเอง โดยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากแคว้นซัตสึมะ (ต่อมาบริษัทนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น[[ไคเอ็นไต]]หรือกองหนุนทางทะเล) และส่งเสริมการเปิดประเทศด้วยการเรียนรู้ภาษา แนวคิด เทคโนโลยีใหม่ๆ จากต่างประเทศ มุ่งสร้างญี่ปุ่นให้เข้มแข็งด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจ แทนการจับดาบขับไล่ชาวต่างชาติดังเช่นที่ซามูไรยุคนั้นกระทำอยู่ บทบาทความเป็นนักปฏิรูปทางความคิดและการเมืองเช่นนี้ทำให้เรียวมะถูกจับตามองจากหลายฝ่าย รวมถึงถูกหมายหัวจากฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะซึ่งมีแนวคิดทางการเมืองที่สวนทางกัน เช่น กลุ่ม[[ชินเซ็งงุมิ]] กลุ่ม[[มิมะวะริงุมิ]] เป็นต้น
 
แคว้นโจชูได้ชัยชนะต่อรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะต่อเนื่องมาเป็นลำดับในปี [[ค.ศ. 1866]] การล่มสลายของระบอบโชกุนที่ใกล้เข้ามาได้ทำให้เรียวมะกลายเป็นบุคคลที่แคว้นโทะสะซะเริ่มจับตามองถึงบทบาทและความสำคัญของเขา เขาได้ถูกเรียกตัวให้กลับไปที่โทะสะอย่างมีเกียรติ เนื่องจากในเวลานั้นทางแคว้นโทะสะซะวิตกกังวลถึงผลสำเร็จของการเจรจาระหว่างรัฐบาลโชกุนกับราชสำนักของพระจักรพรรดิ ซึ่งขัดขวางการล้มล้างรัฐบาลโชกุนโดยการใช้กำลังของ[[พันธมิตรซัตโจ]] เรียวมะได้แสดงบทบาทอย่างสำคัญยิ่งในการเจรจาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นลำดับ โดยการหว่านล้อมผู้ใหญ่ในรัฐบาลให้เล็งเห็นถึงผลดีในการล้มเลิกการปกครองระบอบรัฐบาลทหารของโชกุน และจัดตั้งสภาบริหารการปกครองโดยให้ไดเมียวจากแคว้นต่างๆ มีส่วนร่วมในการปกครอง{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}} กระทั่งนำไปสู่การยอมสละตำแหน่งและถวายคืนพระราชอำนาจแก่พระจักรพรรดิของ[[โชกุน]][[โทะกุงะวะ โยะชิโนะบุ]] ในปี [[ค.ศ. 1867]] ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของ[[การปฏิรูปเมจิ]]ในระยะต่อมา
 
== มรณกรรม ==