ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักงานสถิติแห่งชาติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 97:
 
'''สำนักงานสถิติแห่งชาติ''' ({{lang-en|National Statistical Office Thailand}}) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย ระดับกรม สังกัด[[กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ประเทศไทย)|กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร]] มีภารกิจในฐานะเป็นหน่วยงานกลางของรัฐ ในการดำเนินการเกี่ยวกับสถิติตามหลักวิชาการ และจัดทำสถิติเพื่อติดตามประเมินผลและสนับสนุนการดำเนินการตามนโยบายและแผนงานของรัฐ
 
'''ประวัติสำนักงานสถิติแห่งชาติ
'''
ราชการสถิติของประเทศไทย ได้กำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๘ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้ง "กรมสถิติพยากรณ์" ขึ้นในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๑ วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๔๕๗ โดยมีพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดี ทำหน้าที่รวบรวมหัวข้อทะเบียน และรายงานของกระทรวง ทบวง กรม เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และพยากรณ์ภาวการณ์ล่วงหน้า โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเป็นที่ปรึกษา หลังจากนั้น กรมสถิติพยากรณ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ และสังกัดอีกหลายครั้ง แต่การปฏิบัติราชการสถิติก็มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยมิได้หยุดยั้ง เรื่องราวต่างๆ ได้ถูกลำดับตามช่วงเวลาและขั้นตอนที่สำคัญๆ ซึ่งควรแก่การจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ของหน่วยงานดังนี้คือ
 
เดือนกันยายน ๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริ เห็นสมควรขยายขอบเขตหน้าที่ การปฏิบัติงาน ของกรมสถิติพยากรณ์ไปทางด้านพาณิชย์ด้วย จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์" แต่ยังคงสังกัดอยู่ใน กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ โดยมีการขยายงานเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติสาขาต่างๆ และได้จัดพิมพ์หนังสือสถิติรายงาน ประจำปี พ.ศ. ๒๔๕๙ (Statistical Yearbook) ออกเผยแพร่ เป็นเล่มแรกของประเทศไทย ซึ่งจัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ
 
เดือนสิงหาคม ๒๔๖๓ ได้มีการยกฐานะ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ขึ้นเป็น "กระทรวงพาณิชย์" งานสถิติที่สังกัดอยู่ในกระทรวงนี้มีฐานะเป็นกรม และมีชื่อว่า "กรมสถิติ พยากรณ์สาธารณะ" ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ๒๔๖๔ ได้โอนกรมสถิติพยากรณ์สาธารณะ มาสังกัดกรมบัญชาการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีชาวต่างประเทศเป็นหัวหน้าหน่วยงาน โดยมีหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ และพิมพ์รายงานประจำปีออกเผยแพร่ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ หัวหน้าหน่วยงานซึ่งเป็นชาวต่างประเทศ ได้เดินทางกลับไป หม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี ทรงเข้ารับหน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วยงานแทน และเมื่อทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกรม ในเดือนพฤษภาคม ๒๔๗๖ ได้มีการโอน กรมสถิติพยากรณ์สาธารณะ ไปสังกัดอยู่กับกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ และลดฐานะเป็น "กองสถิติพยากรณ์" โดยมีหม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี ทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้ากอง และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กองประมวลสถิติพยากรณ์" เมื่อเดือนตุลาคม ๒๔๗๘ จากนั้น ได้ย้ายมาสังกัดกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยหม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี ทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองเช่นเดิม โดยทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลาง สำหรับการให้บริการข้อมูลสถิติ
 
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการสถิติ ออกใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก เรียกว่า "พระราชบัญญัติการสถิติพยากรณ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙" ซึ่งได้กำหนดหน้าที่ในการบริหารราชการสถิติของประเทศ และหน้าที่ของประชาชน ที่พึงปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๕ ได้โอนกองประมวลสถิติพยากรณ์ ไปสังกัดกรมการสนเทศ กระทรวงพาณิชย์ และในเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๖ ได้โอนกองประมวลสถิติพยากรณ์ กลับมาสังกัดกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรีตามเดิม ในระยะนี้มีผู้ต้องการใช้ข้อมูลสถิติเพิ่มขึ้น อีกทั้งมีความต้องการใช้สถิติใหม่ๆด้วย จึงมีการพิจารณาปรับปรุงจัดวางมาตรฐานในการบริหารงานสถิติ รวมทั้งมีการบัญญัติศัพท์สถิติขึ้นใช้เป็นครั้งแรก เพื่อให้ส่วนราชการที่มีงานสถิติใช้ร่วมกัน ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๙๓ มีการโอนกองประมวลสถิติพยากรณ์ ไปสังกัดสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งในขณะนั้นเป็นทบวงการเมืองอิสระ มีฐานะเทียบเท่ากรม กองประมวลสถิติพยากรณ์ภายใต้สังกัดใหม่ ได้ขยายงาน และ ได้จัดทำงานสถิติที่สำคัญร่วมกับกระทรวงเกษตราธิการ คือ จัดทำสำมะโนเกษตรทั่วราชอาณาจักรขึ้นเป็นครั้งแรก ในเดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๓
 
ต่อมาได้มีการจัดตั้ง "สำนักงานสถิติกลาง (Central Statistical Office)" ขึ้นใน สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ เมื่อเดือนธันวาคม ๒๔๙๓ โดยมีหม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี เป็นผู้อำนวยการสำนักงานสถิติกลางคนแรก ในช่วงนี้ได้พัฒนาและขยายงานสถิติออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าเดิมและได้นำเครื่องจักรกล มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลสถิติ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ เพื่อใช้ในการประมวลผลข้อมูลงานสำมะโนเกษตร หลังจากนั้นมีการประกาศใช้ "พระราชบัญญัติสถิติ ๒๔๙๕" ซึ่งทำให้สำนักงานสถิติกลาง มีอำนาจหน้าที่อย่างสมบูรณ์ ทั้งในด้านการบริหารกิจการสถิติของรัฐ การส่งเสริม และประสานงานสถิติ การทำสำมะโน สำรวจ การศึกษาอบรมวิชาสถิติ ตลอดจนการวิจัยในด้านวิชาการสถิติ
 
เมื่อรัฐบาล ได้จัดตั้งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้นใน สำนักนายกรัฐมนตรี ในเดือนกันยายน ๒๕๐๒ เป็นผลให้สำนักงานสถิติกลางได้รับการปรับปรุง และขยายงานเพิ่มขึ้น ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ สำนักงานสถิติกลาง ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติหลายโครงการ ที่สำคัญๆ คือ โครงการสำมะโนประชากร พ.ศ. ๒๕๐๓ (เป็นสำมะโนประชากรครั้งที่ ๖ ของประเทศไทย และเป็นสำมะโนประชากรครั้งแรกของสำนักงานสถิติกลาง) และโครงการสำรวจการใช้จ่ายของครอบครัว
 
สำนักงานสถิติกลาง ได้แยกส่วนราชการออกจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ และได้ยกฐานะเป็น "สำนักงานสถิติแห่งชาติ" มีฐานะเป็นกรม สังกัดอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๐๖ ซึ่งถือว่าเป็นวันก่อตั้งสำนักงาน โดยมีนายบัณฑิต กันตะบุตร เป็นเลขาธิการสถิติแห่งชาติคนแรก ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๕๐ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๐๖ และเป็นหน่วยราชการแห่งแรกของประเทศไทย ที่ได้มีการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ประมวลผลงานสำมะโนและสำรวจ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๖ นอกจากนี้มีการขยายงานสถิติไปยังส่วนภูมิภาค โดยได้จัดตั้งสำนักงานสถิติจังหวัดขึ้นทุกจังหวัด ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ แต่ยังเป็นราชการบริหารส่วนกลาง
 
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้มีการพัฒนางานสถิติมาตามลำดับ โดยดำเนินงานโครงการสถิติที่สำคัญๆ หลายโครงการ และมีบทบาทในการประสานงานสถิติของรัฐ ซึ่งเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การจัดทำผังรวมงานสถิติของประเทศ ในเดือนสิงหาคม ๒๕๐๘ ได้ประกาศใช้ "พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๐๘" แทนพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๔๙๕ โดยปรับปรุงในบางมาตรา และกำหนดอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานสถิติของประเทศให้สมบูรณ์มากขึ้น
 
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยแบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็น ๙ กอง ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๙๑ ลงวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๕
 
ต่อมาในปี ๒๕๓๖ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้มีการปรับปรุงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติอีกครั้ง โดยกำหนดให้มีสำนักงานสถิติจังหวัด เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๓๖
 
จากการปฏิรูประบบราชการ ในปี ๒๕๔๕ ตาม พรบ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม มีผลให้สำนักงานสถิติแห่งชาติเข้ามาอยู่ในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น ๓ สำนัก ๑ ศูนย์ ๓ กอง ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๙ ตอนที่ ๑๐ ก. ลงวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๕
 
ในปี ๒๕๕๐ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ.๒๕๕๐” แทนพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ.๒๕๐๘ ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๔ ตอนที่ ๕๓ ก. ลงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๐ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ หลังมีความชัดเจนในการดำเนินการในฐานะหน่วยงานกลางด้านงานสถิติของรัฐ ตลอดจนมีความคล่องตัวในการผลิตสถิติให้ทันสถานการณ์เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในการบริหารงานของรัฐมากขึ้น นอกจากนี้ ตามพรบ.สถิติ พ.ศ.๒๕๕๐ ไม่กำหนดให้มีคณะกรรมการสถิติแห่งชาติ ทำให้สำนักงานสถิติแห่งชาติไม่มีสถานะเป็นหน่วยงานเลขานุการ ของคณะกรรมการสถิติแห่งชาติต่อไป ดังนั้น ชื่อตำแหน่ง หัวหน้าหน่วยงาน จึงได้เปลี่ยนจากเดิม “เลขาธิการสถิติแห่งชาติ” เป็น “ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ” โดยมีสถานะและระดับตำแหน่งเท่าเดิม
 
จากกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๕ ตอนที่ ๑๑๔ ก. ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ สำนักงานสถิติแห่งชาติจึงได้แบ่งส่วนราชการออกเป็นราชการบริหารส่วนกลางมี ๖ สำนัก ๒ ศูนย์ ส่วนสำนักงานสถิติจังหวัดเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค
 
 
 
==ตราสัญลักษณ์==