ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุคคามากูระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
===การรุกรานของมองโกล===
{{main|การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล}}
ในช่วงปลายศตวรรษที่สิบสาม[[จักรวรรดิมองโกล]]กำลังเรืองอำนาจทั่วเอเชีย ได้ขับไล่[[ราชวงศ์ซ่ง]]ลงทางใต้และเข้าปกครองจีนตอนเหนือ ในค.ศ. 1259 [[อาณาจักรโครยอ]] (Goryeo) ของเกาหลีตกเป็นประเทศราชของ[[ราชวงศ์หยวน]] (Yuan) ซึ่งมีฮ่องเต้คือ[[กุบไลข่าน]] (Kublai Khan) กุบไลข่านมีความทะเยอทะยานต้องการที่จะเข้ายึดญี่ปุ่นเป็นประเทศราช แต่ชาวมองโกลไม่มีความรู้ในด้านการรบทางทะเลต้องอาศัยความช่วยเหลือและทรัพยากรของอาณาจักรโครยอ ในค.ศ. 1268 กุบไลข่านได้ส่งคณะฑูตผ่าน[[พระเจ้าชุงยอลแห่งโครยอ]]มายังญี่ปุ่นโดยลงจอดที่[[เกาะคีวชู]]เพื่อเรียกร้องให้ญี่ปุ่นยอมสยบเป็นประเทศราชของจักรวรรดิมองโกลโดยสันติวิธี แต่ทาง''บะกุฟุ''นำโดย''ชิกเก็ง''[[โฮโจ โทะกิมุเนะ]] ({{nihongo2|北条時宗|Hōjō Tokimune}}) บุตรของ''ชิกเก็ง''โทะกิโยะริโทะกิโยะริ และ[[อะดะชิ ยะซุโมะริ]] ({{nihongo2|安達泰盛|Adachi Yasumori}}) ตัดสินใจที่จะเพิกเฉยต่อสาสน์ของกุบไลข่าน กุบไลข่านยังคงส่งฑูตผ่านทางเกาหลีมาอีกในค.ศ. 1271 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเช่นเคย เมื่อถูกคุกคามจากจักรวรรดิมองโกล ในค.ศ. 1272 ญี่ปุ่นภายใต้การนำของ''ชิกเก็ง''โทะกิมุเนะจึงมีการปรับโครงสร้างการปกครองใหม่และกวาดล้างผู้ที่ต่อต้านอำนาจของโทะกิมุเนะนำโดย นะโงะเอะ โทะกิอะกิ ({{nihongo2|名越時章|Nagoe Tokiaki}}) ในเหตุการณ์ที่เรียกว่า นิงะสึ-โซโด ({{nihongo2|二月騒動|Nigatsu-sōdō}})
 
 
ในค.ศ. 1274 หลังจากที่พิชิตราชวงศ์ซ่งใต้ได้แล้ว กุบไลข่านจึงตระเตียมกำลังพลผสมระหว่างมองโกลและเกาหลีเพื่อเข้ารุกรานญี่ปุ่น นำโดยฮินตู (Hintu) ขุนพลฝ่ายมองโกล ฮงดากู (Hong Dagu) ขุนพลชาวเกาหลี และหลิวฟุเหิง (Liu Fuheng, 劉復亨) ขุนพลชาวจีน ยกทัพเรือข้ามทะเลมาเทียบท่าที่อ่าวฮะกะตะ ({{nihongo2|博多|Hakata}}) บนเกาะคีวชู เรียกว่า การรุกรานปีบุนเอ ({{nihongo2|文永の役|Bunei no eki}}) ฝ่ายญี่ปุ่นมี[[โชนิ ซุเกะโยะชิ]] ({{nihongo2|少弐資能|Shōni Sukeyoshi}}) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น''ชินเซ บุเงียว'' ({{nihongo2|少弐資能|Chinzei Bugyō}}) หรือผู้ปกครองเกาะคีวชู นำทัพญี่ปุ่นเข้าห้ำหั่นแต่ไม่สามารถทัดทานทัพผสมมองโกล-เกาหลีได้ จนกระทั่งมีลมพายุพัดเข้าอ่านฮะกะตะทำลายเรือของทัพมองโกลลงไปมาก ทำให้ฝ่ายมองโกลต้องถอยหนีกลับไป ชาวญี่ปุ่นจึงยกย่องลมนี้ว่าเป็น คะมิกะเซะ ({{nihongo2|神風|Kamikaze}}) หรือลมที่เทพเจ้าส่งมาเพื่อปกป้องญี่ปุ่นจากผู้รุกราน
 
== เหตุการณ์ที่สำคัญ ==