ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ฉัตรา (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติปกครองสยามประเทศเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ นั้นยังไม่ได้ตั้งการ[[พระราชพิธีบรมราชาภิเษก]]อย่างถูกต้องตามตำรับโบราณราชประเพณี เพียงแต่ได้ทรงประกอบการ[[พระราชพิธีปราบดาภิเษก]]โดยสังเขปเท่านั้น ฉะนั้นเมื่อได้สร้างพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทสำเร็จโดยสมบูรณ์แล้ว จีงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามระบบโบราณขัตติยราชประเพณีอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ โดยใช้พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทเป็นพระราชพิธีมณฑล
 
ต่อมาในวันอาทิตย์ เดือนเจ็ด ขึ้นหนึ่งคำ ปีระกา เอกศก จุลศักราช ๑๑๕๑ (พ.ศ. ๒๓๓๒) อสนีบาตตกต้องหน้ามุขเด็จพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทแล้วเกิดเป็นเพลิงลุกลามไหม้เครื่องบนและหลังคา แล้วเลยลุกลามไหม้ทั้งองค์พระมหาปราสาท และพระปรัศว์ซ้ายลงหมดสิ้น พระบามบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน) สมุหนายก เป็นแม่กองรื้อซากพระมหาปราสาทที่ถูกไฟไหม้ออกแล้วสร้างพระมหาปราสาทขึ้นใหม่ แต่ไม่ได้สร้างเหมือนองค์เดิม ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ กล่าวถึงลักษณะที่ผิดแผกแตกต่างระหว่างพระมหาปราสาทองค์เก่าและองค์ใหม่ไว้ดังนี้
 
{{คำพูด|ปราสาทองค์ก่อนนั้นสูงใหญ่เท่าพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท กรุงเก่า มุขหน้ามุขหลังนั้นยาวกว่ามุขข้าง และมุขเบื้องหลังนั้นอยู่ที่ข้างใน ยาวไปจดถึงพระปรัศว์ซ้ายพระปรัศว์ขวา พระมหาปราสาทใหม่นี้ ยกออกมาตั้ง ณ ที่ข้างหน้าทั้งสิ้น มุขทั้ง ๔ นั้นก็เสมอกันทั้ง ๔ ทิศ ใหญ่สูงเท่า[[พระที่นั่งสุริยามรินทร์]] กรุงเก่ายกปะราลีเสียมิได้มีเหมือนองค์ก่อน แต่มุขเด็จยอดทั้ง ๔ มุมนั้นยกทวยเสีย ใช้รูปครุฑเข้าแทนแล้วให้ฐาปนาพระที่นั่งขึ้นใหม่ข้างใน ต่อมุขหลังเข้าไปอีกหลัง ๑ พอเสมอด้วยมุขปราสาทองค์เก่า พระราชทานนามว่า [[พระที่นั่งพิมานรัตยา]] แล้วทำพระปรัศว์ซ้ายขึ้นใหม่คงตามเดิม หลังคาปราสาทและมุข กับทั้งพระที่นั่งพิมานรัตยา พระปรัศว์ ดาดด้วยดีบุกเหมือนอย่างเก่าทั้งสิ้น ครั้นการพระมหาปราสาทลงรักปิดทองเสร็จแล้ว จึงพระราชทานนามปราสาทองค์ใหม่ว่า "[[พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท]]"}}